การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นประเด็นขัดแย้งสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) มาช้านาน โดยในประเทศมาเลเซียนั้น มีรายงานว่าธุรกิจขนาดเล็กต้องเผชิญปัญหาทางการเงินบางประการ เช่น การขอหลักประกันที่สูงขึ้นจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม (58.8%) และความล่าช้าในการอนุมัติสินเชื่อหรือการเบิกจ่าย (23.5%) [1] ขณะที่อินโดนีเซียเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากธุรกิจ 51% เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน (unbanked) และ 26% เข้าถึงบริการได้เพียงบางอย่าง (underbanked) [2]  ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นถึงช่องว่างขนาดใหญ่ของบรรดาธุรกิจขนาดเล็กที่ด้อยโอกาสทางการเงินและไม่สามารถใช้บริการทางการเงินตามระบบปกติได้ ซึ่งหากแก้ไขปัญหานี้ก็อาจช่วยเพิ่ม GDP ให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นของประเทศได้ถึงกว่า 30%[3] และนี่เองคือจุดที่ฟินเทคเข้ามาเพื่ออุดช่องว่างทางการเงินโดยทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงโซลูชันทางการเงินได้  หนึ่งในบริษัทฟินเทคจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นผู้นำการผสานรวมบริการทางการเงินคือ บูสต์ (Boost) ธุรกิจฟินเทคครบวงจรระดับภูมิภาคของเอเซียต้า (Axiata) ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพิ่งเป็นข่าวใหญ่จากการที่บูสต์และพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง อาร์เอชบี (RHB) กลายเป็นหนึ่งในห้าหน่วยงานที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารดิจิทัลจากธนาคารกลางมาเลเซีย

จากกรณีศึกษาอุตสาหกรรมธนาคารดิจิทัลทั่วโลก[4] พบว่า ธนาคารดิจิทัลที่กำลังจะเปิดตัวของบูสต์นั้นถือเป็นผู้นำระดับแนวหน้า เนื่องจากข้อได้เปรียบที่โดดเด่นในฐานะธุรกิจฟินเทคที่มีระบบนิเวศที่ครอบคลุม และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถปรับขนาดการดำเนินงานได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ตรงตามหลักเกณฑ์ของธนาคารดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ  บูสต์มีผลงานเป็นที่ยอมรับว่าช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ใช้และผู้ค้าหลายล้านรายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2560 ด้วยระบบนิเวศฟินเทคแบบองค์รวม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่แอปฟินเทคแบบครบในหนึ่งเดียว โซลูชันสำหรับผู้ค้า ไปจนถึงธุรกิจสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ที่ใช้ AI และแพลตฟอร์มการชำระเงินข้ามพรมแดน นับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงช่วงต้นปี 2566 ธุรกิจสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ที่ใช้ AI ของบูสต์ จัดหาเงินทุนให้แก่ MSME ทั่วมาเลเซียและอินโดนีเซีย รวมแล้วเป็นมูลค่ากว่า 2.8 พันล้านริงกิต แม้ว่าผลการศึกษาก่อนหน้านี้จะประเมินว่า เกือบครึ่งหนึ่งของลูกค้าของบูสต์ไม่เคยขอสินเชื่อมาก่อน แต่บูสต์ยังคงสามารถรักษาอัตราสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้อยู่ในระดับตัวเลขหลักเดียว และมีอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำสำหรับการจัดหาเงินทุนระยะสั้นที่ประมาณ 90% ในทั้งสองประเทศ

ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นได้ด้วยระบบนิเวศและเทคโนโลยีฟินเทคแบบองค์รวมของบูสต์ ซึ่งรวมโซลูชันการเงินดิจิทัลไว้ภายในเส้นทางการทำธุรกรรมและวงจรการซื้อของธุรกิจต่าง ๆ ด้วยโซลูชันไมโครไฟแนนซ์แบบดิจิทัลของบูสต์ เหล่า MSME จึงสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านแอปพลิเคชันดิจิทัลง่าย ๆ เพียง 5 นาที พร้อมการเบิกจ่ายเงินภายใน 48 ชั่วโมงหลังได้รับอนุมัติ ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมานี้จึงไม่น่าแปลกใจที่บูสต์ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารดิจิทัลในมาเลเซีย และบัดนี้ทุกสายตาต่างจับจ้องไปที่บูสต์ ซึ่งกำลังจะเปิดตัวธนาคารดิจิทัลที่ผู้ค้าและผู้ใช้ต่างตั้งตารอคอยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

[1] https://smecorp.gov.my/images/pdf/2021/LTPKS/BI/Economic%20Report/4.%20Economic%20Performance%20&%20Outlook%202019_20%20-%20Box%20Article.pdf

[2] https://theasianbanker.com/finance-indonesia-2022/

[3] https://www.adb.org/sites/default/files/publication/222061/financial-inclusion-se-asia.pdf
[4] https://www.bcg.com/publications/2021/digital-banking-asia-pacific