ประสบความสำเร็จในการปลูกฝังให้เยาวชนไทยรักการอ่านมาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้ โครงการจินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช ปีที่ 13 ชวนเหล่าจิตรกรรุ่นใหม่ร่วมปลดปล่อยจินตนาการผ่านการ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยการซึมซับแรงบันดาลใจที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไทยที่สอดแทรกวิถีชีวิต ที่ผูกพันกับ “บ้าน วัด โรงเรียน” หรือเลือกอ่านได้จาก 50 ตัวอย่างวรรณกรรมชวนอ่าน อาทิ แก้วจอมซน (สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี) , อยู่กับก๋ง (หยกบูรพา) , กลิ่นสีและกาวแป้ง (พิษณุ ศุภนิมิตร) , ความสุขของกะทิ (งามพรรณ เวชชาชีวะ) , เด็กชายมะลิวัลย์ (ประภัสสร เสวิกุล) เป็นต้น โดยเป็นวรรณกรรมที่ร้อยเรียงเรื่องราวให้อ่านสนุก เปี่ยมอรรถรสและงดงาม ด้วยวรรณศิลป์ สอดแทรกขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่ผูกพันกับ “บ้าน วัด โรงเรียน” ตั้งแต่แรกเกิดจนวันสุดท้ายของชีวิต
บ้าน วัด โรงเรียน รวมเรียกสั้น ๆ ว่า “บวร” เปรียบเสมือน 3 เสาหลักที่เชื่อมโยงผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่อดีต บวรเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะ สอดแทรกอยู่ในวรรณกรรมหลายเล่ม ทั้งยังปรากฎในศิลปะการแสดงทุกแขนง อินทัชจึงได้นำบวรมาเป็นโจทย์ของการสร้างสรรค์งานศิลปะในปีนี้ ด้วยมุ่งหวังปลูกจิตสำนึกรักการอ่านให้เยาวชนไทย ควบคู่กับการอนุรักษ์ภาษาและวรรณกรรมไทย ผ่านการถ่ายทอดจินตนาการที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมนำมาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะที่สื่อความหมายเชิงบวก บ่งบอกถึงความสุข ความสวยงาม และสะท้อนความเป็น “บวร” ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทย ได้อย่างแจ่มชัด ผ่านเทคนิคลายเส้นหรือการใช้สีที่ถนัด (ยกเว้นการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก)
“เพราะศิลปะทุกแขนงบนโลกเชื่อมโยงกันด้วยอารมณ์ความรู้สึกจะเห็นได้จากศิลปินระดับโลกที่สร้างสรรค์ผลงานชิ้นเอกจากการอ่านหนังสือ โดยไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมดในนั้น แต่อาจจะเป็นการหยิบยก เรื่องราวบางช่วงตอนที่กระทบใจหรือสร้างแรงบันดาลใจจนเราอยากถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ ให้เป็นผลงานศิลปะ เพราะศิลปะที่มีคุณค่าต้องประกอบด้วยองค์รวม 3 ประการ นั่นคือความรู้สึก จินตนาการ และปัญญา” อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) พุทธศักราช 2536 และหนึ่งในกรรมการตัดสินโครงการ จินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช กล่าว
เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากการอ่านวรรณกรรมเคยสร้างชื่อเสียงให้ศิลปินระดับโลกมาแล้ว ดังจะเห็นได้จากผลงานชื่อ “Ophelie” ของเซอร์ จอห์น เอเวอเรตต์ มิลเลส (Sir John Everett Millais) จิตรกรเอกของอังกฤษแห่งศตวรรษที่ 19 ที่ได้แรงบันดาลใจจากโศกนาฏกรรมของโอฟิลเลียในนวนิยาย “Hamlet” ของวิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) เช่นเดียวกับผลงานของซัลบาโด ดาลี (Salvador Dali) อย่าง “Mad Tea Party” ที่ได้แรงบันดาลใจจากการอ่านนิยายสุดคลาสสิค “Alice in Wonderland” ในเรื่องนี้อาจารย์เนาวรัตน์ ยังกล่าวด้วยว่า
“โครงการที่ให้ความสำคัญและปลูกฝังให้เยาวชนไทยรักการอ่านมีน้อยมาก ทั้งที่เมืองไทยมีวรรณกรรมดี ๆ ชวนอ่านเยอะ การอ่านหนังสือดี ๆ สักเล่มจะเป็นองค์รวมของปัญญา ยิ่งถ้าเรามีความสามารถในการ สร้างสรรค์งานศิลปะด้วยแล้ว ยิ่งส่งเสริมจินตนาการให้แจ่มชัดขึ้น เป็นการบูรณาการด้านปัญญาและจิตใจ ไปพร้อมกัน โครงการนี้จึงเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้เยาวชนไทยที่ดีมาก ผมจึงอยากสนับสนุนให้เยาวชน ส่งผลงานเข้ามาประกวดกันมาก ๆ เพราะมันสะท้อนว่า พวกเขาอ่านหนังสือมากขึ้นและทำให้เติบโตอย่าง ลึกซึ้งผ่านการอ่านหนังสือ นำมาถ่ายทอดเป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของจิตใจและเป็นเสน่ห์ อย่างหนึ่งที่อยู่ในผลงานศิลปะของเยาวชน”
ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา โครงการ ฯ ประสบความสำเร็จในการปลูกจิตสำนึกรักการอ่านให้เยาวชนไทย 16,580 คน พร้อมส่งเสริมด้านความคิดสร้างสรรค์ ในการนำเสนอผลงานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจการอ่านวรรณกรรม พื้นบ้าน วรรณกรรมในชั้นเรียน วรรณกรรมร่วมสมัย และวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลกว่า 2,000 เรื่อง มอบทุน การศึกษาให้กับเยาวชนและสถาบันการศึกษาถึง 15,140,000 บาท รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายภาพ การกุศลสมทบทุนมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาให้เยาวชนที่เรียนดีแต่ ขาดแคลนทุนทรัพย์ 7,500,000 บาท
“เยาวชนได้รางวัล สถาบันก็ได้ด้วย” นอกจากน้องๆ จะได้รับรางวัลแห่งความภูมิใจแล้ว โครงการฯ ยังมีเงินสนับสนุนให้กับสถาบันการศึกษาของน้องๆ ที่ได้รับรางวัลเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน หรือจัดกิจกรรมด้านศิลปะด้วยเช่นกัน โดยรางวัลแบ่งออกเป็น
·ถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2 รางวัล สำหรับรางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษา
·เงินรางวัลรวม 1,415,000 บาท แบ่งเป็นเงินรางวัลพร้อมประกาศนียบัตรสำหรับผู้ชนะ จำนวน 44 รางวัล มูลค่า 975,000 บาท และรางวัลสำหรับสถาบันการศึกษา จำนวน 44 รางวัล มูลค่า 440,000 บาท
ส่งผลงานร่วมประกวดได้ทาง (ระบุชื่อโครงการ “จินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช ปีที่ 13)
1. ไปรษณีย์ : จ่าหน้าซองถึง ตู้ ปณ. 1118 ปณฝ. เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร 10311
2.นำส่งด้วยตนเอง : บริษัท โอเวชั่น สตูดิโอ จำกัด อาคารทัศนียา ชั้น 1 เลขที่ 625 ซ.รามคำแหง 39 ถ.ประชาอุทิศ แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 (เว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
น้อง ๆ คนไหนที่ฝันอยากเป็นศิลปินรุ่นใหม่และมีใจรักในการอ่านวรรณกรรม รีบส่งผลงานมาร่วม ประกวด ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2562 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-796-1670-1 , 02-934-6767 หรือ 02-118-6953 และติดตามความเคลื่อนไหวหรือค้นหา 50ตัวอย่างวรรณกรรม ชวนอ่านที่ www.intouchcompany.com ,FB : intouchstation หรือ Line ID : Jintanakarn.intouch
Post Views: 686