6 กรกฎาคม 2564 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ลงพื้นที่พร้อมเจ้าหน้าที่ เพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ และสารอันตรายในพื้นที่ที่เกิดเหตุและพื้นที่ใกล้เคียงจากเหตุระเบิดและเพลิงไหม้ภายในโรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด เลขที่ 87 หมู่ 15 ซอย 21 ถนนกิ่งแก้ว ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

นายอรรถพล กล่าวว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน ให้ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง คพ. ได้ส่งเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ และสารอันตรายในพื้นที่ที่เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้ภายในโรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัดและพื้นที่รอบนอก โดยในรัศมี 1 กิโลเมตรแรกจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ซึ่งสารเคมีที่ต้องระวัง คือ โซเว้นท์ ที่ติดไฟได้ง่าย และสารสไตรีนโมโนเมอร์ ใช้เป็นองค์ประกอบทำเม็ดพลาสติก เมื่อเกิดลุกไหม้ไฟจะปลดปล่อยสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สามารถติดตามและตรวจสอบคุณภาพอากาศที่ได้ http://air4thai.pcd.go.th/

อธิบดี คพ. ตรวจพื้นที่เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัดจากการตรวจคุณภาพอากาศในพื้นที่พบว่ากลับสู่สภาวะปกติ กำลังพิจารณาเรื่องลดพื้นที่เพื่อให้ประชาชนกลับมายังที่อยู่อาศัยได้ และคพ. จะต้องเฝ้าติดตามด้านมลพิษอย่างต่อเนื่อง 3 วัน ขณะนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ หากมีกรณีฝนตกลงมา อาจจะชะสารเคมีลงใต้ดิน แหล่งน้ำ หรือท่อระบายน้ำ ซึ่งจะยากต่อการควบคุม ซึ่งอาจต้องเข้าไปบำบัดเพื่อแก้ปัญหาต่อไป นายอรรถพล กล่าว

ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ จากกรณีไฟไหม้โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกของบริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ที่ ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 03.00 น. โดยประมาณ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณใกล้เคียง กรมควบคุมมลพิษ ได้ตรวจวัดคุณภาพอากาศในบริเวณใกล้เคียง โดยใช้หน่วยตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ติดตั้ง ณ บริเวณเขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งตรวจวัดมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด คือ 1) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครอน (PM10) 2) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมโครอน (PM2.5) 3) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 4) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) 5) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ 6)โอโซน (O3) โดยจุดติดตั้ง Mobile ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศตั้งแต่เวลา 23.00 น. ของวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นมาพบค่าสารมลพิษที่ตรวจวัดได้ ดังนี้ 1) PM10 ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงตรวจวัดได้ระหว่าง 10 – 24 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 2) PM2.5 ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงตรวจวัดได้ระหว่าง 5 – 16 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 3) CO ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงตรวจวัดได้ระหว่าง 0.01 – 0.09 ส่วนในล้านส่วน (ppm) 4) NO2 ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงตรวจวัดได้ระหว่าง 2 – 14 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) 5) SO2 ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงตรวจวัดได้ระหว่าง 0 – 2 ppb และ 6) O3 ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงตรวจวัดได้ระหว่าง 3 – 11 ppb

อธิบดี คพ. ตรวจพื้นที่เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัดส่วนผลค่าตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายรวม (Total VOCS) ด้วยเครื่องมือแบบเคลื่อนที่ (Portable) พบว่า
1) บริเวณในรั้วโรงงาน 0 เมตร มีค่า 7 ppm 2) บริเวณด้านหน้าโรงงานห่างออกมา 5 เมตร มีค่า 0.5 ppm และ
3) บริเวณห่างรั้วโรงงานออกไป 50 เมตร มีค่า 0.1 ppm

อีกทั้ง สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ 5 สถานี ได้แก่ 1) ต.ทรงคะนอง
อ.พระประแดง 2) ต.บางโปรง อ.เมือง 3) ต.ตลาด อ.พระประแดง 4) ต.ปากน้ำ อ.เมือง และ 5) ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง ผลการตรวจวัด พบว่า คุณภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และกรุงเทพมหานครพื้นที่ใกล้เคียง อยู่ในเกณฑ์ดีมากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาจเป็นผลกระทบจากเหตุการณ์ไฟไหม้ โรงงานสารเคมีที่เกิดขึ้น ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ สรุปได้ดังนี้ 1) PM2.5 เฉลี่ย 24 ชม. ตรวจวัดได้อยู่ในช่วง 6 – 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 2) PM10 เฉลี่ย 24 ชม. ตรวจวัดได้ในช่วง 12 – 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 3) O3 เฉลี่ย 8 ชั่วโมง ตรวจวัดได้ในช่วง 7 – 18 ppb 4) CO เฉลี่ย 8 ชม. ตรวจวัดได้ในช่วง 0 – 0.54 ppm 5) NO2 เฉลี่ย 1 ชม. ตรวจวัดได้ในช่วง 8 – 11 ppb และ 6) SO2 เฉลี่ย 1 ชม. ตรวจวัดได้ในช่วง 1 – 4 ppb

อธิบดี คพ. ตรวจพื้นที่เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัดซึ่งในวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 จะดำเนินการติดตั้งหน่วยตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่เพิ่มเติมที่โรงเรียนกิ่งแก้ว พร้อมทั้งนำเครื่องตรวจวัดฝุ่นละออง PM2.5 แบบอัตโนมัติสำหรับตรวจวัดภายนอกอาคาร (Outdoor) ไปติดตั้งเพิ่มเติมตามชุมชนหรือหมู่บ้านที่มีความเสี่ยง 2 ถึง 3 จุด เพื่อติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองและผลกระทบที่ชุมชนจะได้รับจากเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดผ่านทางเว็บไซต์ Air4Thai.com และแอปพลิเคชัน Air4Thai