โครงการลงทุนใหม่ของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติเรียกร้องให้ภาคเอกชนใช้งานซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายและมีความปลอดภัยทางไซเบอร์ในการออกแบบ พร้อมยุติพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายที่มีมานานหลายทศวรรษ ด้วยโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้งบประมาณหลายพันล้านสหรัฐฯ วันนี้ บีเอสเอ พันธมิตรซอฟต์แวร์จึงเปิดตัวแคมเปญรณรงค์ให้องค์กรด้านวิศวกรรมและการออกแบบใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ในการพัฒนาถนน สะพาน ท่าเรือ และโครงข่ายด้านการสื่อสารที่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าหลายปี เพื่อเสริมกลยุทธ์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับชาติ

โครงการรณรงค์นี้เป็นการต่อยอดจากโครงการ Legalize and Protect ซึ่งบีเอสเอริเริ่มขึ้นและประสบความสำเร็จอย่างมากในระดับภูมิภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 โดยแคมเปญนี้ได้ช่วยธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการติดตั้งซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายและมีความปลอดภัยทางไซเบอร์แก่คอมพิวเตอร์กว่า 1 ล้านเครื่อง

บีเอสเอเดินหน้าโครงการรณรงค์กระตุ้นองค์กรธุรกิจใช้ซอฟต์แวร์“ก้าวใหม่ของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้เต็มรูปแบบ มีประสิทธิผลสูงสุด ปลอดภัย และถูกกฎหมาย ถือเป็นสัญญาณที่น่าเกรงขามของความแข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ I พันธมิตรซอฟต์แวร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กล่าว “บีเอสเอต้องการช่วยให้องค์กรด้านวิศวกรรมและการออกแบบชั้นนำในภูมิภาคเปลี่ยนจากการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีความเสี่ยงและไม่ถูกกฎหมาย สู่การใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ซึ่งสามารถปลดล็อกศักยภาพของเหล่าผู้ออกแบบชั้นนำของภูมิภาคได้อย่างแท้จริง”

ในการทำงานร่วมกับบริษัทซอฟต์แวร์อย่างออโตเดสก์ (Autodesk, Inc.) บีเอสเอตั้งเป้าที่จะเข้าถึงบริษัทด้านวิศวกรรมและการออกแบบกว่า 20,000 แห่งทั่วภูมิภาค แบ่งเป็น ในประเทศไทย 5,000 บริษัท อินโดนีเซีย 5,000 บริษัท ฟิลิปปินส์ 5,000 บริษัท และมาเลเซีย 5,000 บริษัท ทั้งนี้นอกจากบริษัทด้านวิศวกรรมและการออกแบบ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักแล้ว กลุ่มเป้าหมายในแคมเปญนี้ยังรวมถึงบริษัทการผลิตและสตูดิโอแอนิเมชันด้วย

กิจกรรมของบีเอสเอยังรวมถึงการบริการให้คำปรึกษาแบบไม่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีสำหรับองค์กรภาคเอกชนที่กำลังต้องการคำแนะนำถึงขั้นตอนการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผ่านการติดต่อโดยตรงกับบริษัทเป้าหมายทั้ง 20,000 แห่ง และสำหรับองค์กรที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) บีเอสเอสนับสนุนให้กลุ่มผู้นำองค์กรได้ทำการตรวจสอบบัญชีภายในเพื่อระบุช่องว่างของลิขสิทธิ์ที่อาจเกิดขึ้นภายในบริษัท

ภายใต้แคมเปญนี้ บีเอสเอยังวางแผนที่จะร่วมงานกับหน่วยงานภาครัฐทั่วภูมิภาคเพื่อสนับสนุนแคมเปญและกระตุ้นให้ภาคเอกชนหันมาใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ซึ่งประกอบด้วย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในประเทศไทย กระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Ministry of Communication and Informatics) ในประเทศอินโดนีเซีย ออปติคอล มีเดีย บอร์ด (Optical Media Board) ในประเทศฟิลิปปินส์ และกระทรวงการค้าภายในและกิจการผู้บริโภค (Ministry of Domestic Trade and Consumer Affairs) ในประเทศมาเลเซีย

พ.ต.อ.เกรียงศักดิ์ จิตต์สอาด ผู้กำกับการ (สอบสวน) กองบังคับการปราบปราม กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.)“กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจต้องการให้บริษัทต่างๆ ในประเทศไทยใช้งานซอฟต์แวร์ที่ถูกลิขสิทธิ์ เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ เพราะซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์เป็นด่านแรกในการป้องกันการถูกโจมตี โดยเราเล็งเห็นถึงความตั้งใจของบีเอสเอ และพร้อมให้การสนับสนุน ตลอดจนช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายระดับประเทศอย่างเต็มที่ ด้วยความมุ่งมั่นนี้ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ในประเทศของเรามายิ่งขึ้น” พ.ต.อ.เกรียงศักดิ์ จิตต์สอาด ผู้กำกับการ (สอบสวน) กองบังคับการปราบปราม กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กล่าว

บีเอสเอคาดว่ามีบริษัทด้านวิศวกรรมและการออกแบบกว่า 100,000 แห่งทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังใช้งานซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ในปัจจุบัน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคเอกชนที่ดำเนินกิจการด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และการออกแบบถูกปรับหรือได้รับโทษจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) เกือบทุกสัปดาห์ ดังนั้น แคมเปญนี้จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้นำองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) และประโยชน์ของการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) อย่างถูกต้องครบถ้วน

“เป็นที่ชัดเจนว่า องค์กรวิศวกรรมและการออกแบบชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความต้องการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) เพื่อประสิทธิภาพที่มากขึ้นในการปฏิบัติงานและป้องกันคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์” นายดรุณ ซอว์เนย์ กล่าว “แต่ความท้าทายที่เกิดขึ้นคือมีผู้บริหารธุรกิจจำนวนไม่มากที่พร้อมลงทุนในความจำเป็นนี้”