27 ธันวาคม 2564 : ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย และนายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือเชื่อมต่อระบบแสดงประวัติการรับวัคซีน COVID-19 จากศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มทั่วประเทศรวมกว่า 7 ล้านราย เข้ากับมาตรฐานแพลตฟอร์ม Digital Health Pass ระดับโลก ช่วยให้ข้อมูลประวัติการรับวัคซีนในรูปแบบเอกสารดิจิทัลของประชาชนกลุ่มดังกล่าวเชื่อมโยงกับระบบการเดินทาง การทำงาน และบริการในหลายประเทศ รวมถึงหลายร้อยระบบและบริการจากหน่วยงานชั้นนำของโลก โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านทางโมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด ร่วมมือเชื่อมต่อระบบแสดงประวัติการรับวัคซีน COVID-19 จากศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มทั่วประเทศรวมกว่า 7 ล้านราย เข้ากับมาตรฐานแพลตฟอร์ม Digital Health Pass ระดับโลก ช่วยให้ข้อมูลประวัติการรับวัคซีนในรูปแบบเอกสารดิจิทัลของประชาชนกลุ่มดังกล่าวเชื่อมโยงกับระบบการเดินทาง การทำงาน และบริการในหลายประเทศ รวมถึงหลายร้อยระบบและบริการจากหน่วยงานชั้นนำของโลก โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านทางโมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารกรุงเทพ
         ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า “ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หนึ่งใน 5 หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าวัคซีน COVID-19 ตามประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยตลอดปี 2564 ได้ร่วมสนับสนุนภารกิจสำคัญในการสนับสนุนการเร่งกระจายวัคซีน COVID-19 ให้เป็นไปอย่างทั่วถึง เพื่อช่วยให้ประชาชนได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันได้เร็วที่สุด ควบคู่ไปกับการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพแก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นหนึ่งหน่วยงานที่เป็นกำลังสำคัญในการให้บริการฉีดวัคซีนหลักของประเทศ รวมทั้งได้กระจายวัคซีนตัวเลือกซิโนฟาร์มสู่ประชาชนภาคองค์กรธุรกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานพยาบาลเพื่อกระจายฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมถึงกลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาสทั่วทุกภูมิภาค โดยมีฐานข้อมูลประชาชนผู้รับวัคซีนในกลุ่มดังกล่าวรวมแล้วกว่า 7 ล้านรายที่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลตามมาตรฐานสากล โดยฐานข้อมูลประวัติการรับวัคซีน รวมถึงข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับ COVID-19 คือ สิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชนในยุคปัจจุบัน การพัฒนาระบบบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สนองต่อการใช้ชีวิตของประชาชนภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ ซึ่งกลายเป็นวิถีชีวิตในปัจจุบัน หรือ Now Normal ที่ผู้คนต่างต้องปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์การให้บริการทางการแพทย์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในรูปแบบเอกสารดิจิทัลให้กับประชาชนที่เข้ารับวัคซีนจากศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มทั้งประเทศ โดย ณ ปัจจุบันผู้รับวัคซีนในกลุ่มดังกล่าวสามารถออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ได้ผ่านทางเมนู “บริการโควิด-19” บนแพลตฟอร์ม LINE Official โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และก้าวต่อไปเพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์การขับเคลื่อนองค์กรเพื่อร่วมพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล จึงได้ทำความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับไอบีเอ็ม และธนาคารกรุงเทพในการเชื่อมข้อมูลการฉีดวัคซีน COVID-19 ของประชาชนไทยในกลุ่มดังกล่าวกว่า 7 ล้านรายกับมาตรฐานแพลตฟอร์มระดับโลก IBM Digital Health Pass”
  ปัจจุบัน IBM Digital Health Pass ถูกนำไปใช้แล้วในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ เยอรมัน ออสเตรเลีย ฯลฯ อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับระบบของผู้ให้บริการระดับโลกหลายร้อยราย ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการในกลุ่มเฮลธ์แคร์ ผู้ให้บริการตรวจ COVID-19 บริษัทประกัน หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล ธุรกิจสันทนาการ บริษัทนายจ้างต่างๆ บริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์และการบริหารจัดการอาคาร แพลตฟอร์มการเดินทาง และสายการบินกว่า 450 แห่ง โดยความร่วมมือในครั้งนี้ คือการเชื่อมต่อระบบแสดงประวัติการรับวัคซีนของประชาชนไทยที่เข้ารับวัคซีนจากศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มที่ได้รับการจัดสรรจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทั่วประเทศซึ่งมีอยู่ประมาณ 7 ล้านราย เข้ากับมาตรฐานแพลตฟอร์ม IBM Digital Health Pass โดยผู้รับวัคซีนในกลุ่มดังกล่าวจะสามารถเปิดดูข้อมูลบนแพลตฟอร์ม IBM Digital Health Pass ของตนได้ ผ่านทางโมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารกรุงเทพ และมีแผนจะขยายไปยังธนาคารอีกหลายแห่งในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อใช้รับรองในการเดินทาง ตลอดจนการเข้ารับบริการในสถานที่สาธารณะต่างๆทั่วโลกที่ผู้ให้บริการ เชื่อมต่อเข้าร่วมแพลตฟอร์มดังกล่าว
สำหรับ IBM Digital Health Pass ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบข้อมูลการฉีดวัคซีนและข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวกับ COVID-19 ในรูปแบบต่างๆ ของพนักงาน ผู้รับบริการ และผู้ที่เดินทางได้ โดยบุคคลสามารถแสดงข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบแล้วนี้ เมื่อต้องเข้าไปยังพื้นที่สาธารณะต่างๆ อาทิเช่น สนามกีฬา สนามบิน มหาวิทยาลัย สถานที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร เป็นต้น ซึ่งโซลูชันดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยี IBM Blockchain ที่มีความปลอดภัยสูง และสามารถใช้งานร่วมกับข้อมูลหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ประวัติการตรวจหาเชื้อและภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส COVID-19 ประวัติการรับวัคซีน COVID-19 เป็นต้น โดยในการออกแบบโซลูชันดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล IBM Digital Health Pass ช่วยให้บุคคลสามารถควบคุมการแชร์ข้อมูลได้อย่างปลอดภัย สามารถจัดเก็บ บริหารจัดการ และอนุญาตให้แชร์ข้อมูลสุขภาพของตนแก่เฉพาะผู้ที่ต้องการแชร์ ผ่านแอปพลิเคชันทางโทรศัพท์มือถือ โดยไม่มีการเปิดเผยให้เห็นถึงข้อมูลที่อยู่เบื้องหลังพาสนั้นๆ ประชาชนสามารถควบคุมข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล และเลือกได้ว่าจะแชร์อะไร ให้กับใคร และเพื่อจุดประสงค์ใด หรือแม้แต่เลือกที่จะเลิกใช้ได้ โดยปัจจุบันยังได้เพิ่มตัวเลือกในการพิมพ์ใบรับรองจากเครื่องหรือโทรศัพท์เครื่องอื่นได้เพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือ มีโทรศัพท์มือถือที่ไม่รองรับระบบ หรืออาจลืมโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน สามารถเข้าถึงข้อมูลตนได้อย่างปลอดภัย Digital Health Pass จะช่วยให้ประชาชนที่จะต้องเดินทางข้ามประเทศหรือเข้าใช้พื้นที่สาธารณะในต่างประเทศมั่นใจได้ว่าคนที่อยู่ภายในพื้นที่นั้นมีคุณสมบัติแบบเดียวกับตน ซึ่งสิ่งนี้เป็นหนึ่งในความวิตกกังวลหลักเมื่อคนเริ่มมองถึงโอกาสในการกลับไปยังสถานที่หรือกลับไปทำกิจกรรมที่ตนชื่นชอบ
ปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า “ในวันนี้ที่ประเทศต่างๆ เริ่มเปิดพรมแดน และเราต่างก็กำลังระมัดระวังกับการกลับมาใช้ชีวิตและทำงานแบบเดิมในแนวทางปกติใหม่ เราจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยและปกป้องความเป็นส่วนตัว ที่จะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถตรวจสอบเอกสารรับรองสุขภาพที่เกี่ยวกับ COVID-19 ที่ปัจจุบันมีมากมายหลายรูปแบบ ตามมาตรการเฉพาะของธุรกิจนั้นๆ ได้ วันนี้ ไอบีเอ็มมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ช่วยเชื่อมต่อประชาชนที่ฉีดวัคซีน COVID-19 จากศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม รวมกว่าเจ็ดล้านรายทั่วประเทศ เข้ากับมาตรฐานแพลตฟอร์มบล็อกเชนระดับโลก IBM Digital Health Pass ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถติดตามและเลือกแชร์สถานะการรับวัคซีนของตนได้ เมื่อต้องเดินทางหรือไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของตนจะได้รับการปกป้อง”