กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ., พ.ต.อ.ทัศน์ภูมิ จารุปรัชญ์, พ.ต.อ.พัฒนา ฉายาวัฒน์ รอง ผบก.ปอศ. และ ว่าที่ พ.ต.อ.วีระพงษ์ คล้ายทอง ผกก.4 บก.ปอศ., พ.ต.ท.อุดมศักดิ์ สุวรรณแสง, พ.ต.ท.ภาณุพงษ์ กะระกล, พ.ต.ท.วีระศักดิ์ ติระพัฒน์, พ.ต.ท.ปุณณวิช อรรคนันท์ รอง ผกก.4 บก.ปอศ.  พร้อมด้วย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) นำโดย นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และคณะ   เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย ว่าที่ พ.ต.ท.สาธิต หาวงษ์ชัย, พ.ต.ต.รุตินันท์ สัตยาชัย, พ.ต.ต.ชณิตพงศ์ ศิริเวช, พ.ต.ต.หญิง สุจิตรา ทองสกุล สว.กก.4 บก.ปอศ. พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปอศ.

สอบสวนกลาง โดย ปอศ. ร่วม คปภ. จับกุมเครือข่ายโกงประกันโควิดร่วมกันจับกุม ผู้ต้องหาจำนวนรวม 14 ราย
– ผู้ต้องหาจำนวน ๑๑ ราย ถูกจับกุมในฐานความผิด “ปลอมและใช้เอกสารปลอม, เรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์โดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการเรียกร้อง” ตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และ ประมวลกฎหมายอาญา
– ผู้ต้องหาจำนวน ๓ ราย ถูกจับกุมในฐานความผิด “โดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้อื่นนั้นทำหรือรักษาสถานะสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท แต่ไม่ดำเนินการให้มีการทำสัญญาเกิดขึ้น หรือไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาสถานะสัญญาประกันชีวิตเดิมและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม” ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535   พฤติการณ์ จากสถานการณ์การระบาดของโควิด–19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ถึงปัจจุบัน ได้นำความเสียหายมาสู่ประเทศไทย ทั้งสุขภาพของประชาชนและระบบเศรษฐกิจ โดยในช่วงการระบาดดังกล่าวได้มีกลุ่มคนที่ทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยต่างๆ ในประเทศไทย ฉวยโอกาสในช่องว่างของขั้นตอนการรับเงินประกัน นำผลตรวจโรคโควิด–19 ปลอม มายื่นเพื่อขอรับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบประกันภัยที่ต้องสูญเสียเงินไปกับกลุ่มคนเหล่านี้จำนวนมาก ทั้งยังทำให้ผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 จริง ได้รับค่าสินไหมล่าช้า หรือไม่ได้รับค่าสินไหม เนื่องจากบริษัทประกัน ขาดสภาพคล่อง

สอบสวนกลาง โดย ปอศ. ร่วม คปภ. จับกุมเครือข่ายโกงประกันโควิดนอกจากนั้นยังมีกลุ่มตัวแทนบริษัทประกันชีวิตบางราย หลอกลวงเก็บเบี้ยประกันไว้ ไม่นำเงินส่งบริษัท โดยที่ผู้เอาประกันภัยไม่ทราบเรื่อง ซึ่งทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับการคุ้มครองตามกรมธรรม์ และเป็นการซ้ำเติมประชาชนในช่วงการแพร่ระบาด   สอบสวนกลาง และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จึงได้ร่วมประชุมหารือเพื่อดำเนินการป้องปรามกรณีดังกล่าว โดย คปภ. ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับกลุ่มคนที่ปลอมเอกสารผลการตรวจโรคโควิด-19 เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์จากการทำประกันดังกล่าวโดยทุจริต และกลุ่มคนที่หลอกลวงให้คนทั่วไปเข้าทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันภัยเกิดขึ้น หรือไม่ดำเนินการรักษาสถานของสัญญาประกันชีวิตดังกล่าว รวมจำนวนทั้งสิ้น 21 ราย โดยเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ๒๕65 พนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปอศ. ได้ดำเนินการขออนุมัติหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 21 ราย ต่อศาลอาญา  ต่อมาในระหว่างวันที่ 4-15 สิงหาคม ๒๕65 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปอศ. ได้ร่วมกันติดตามจับกุมกลุ่มผู้ต้องหาที่ปลอมเอกสารผลการตรวจโรคโควิด-19 และนำไปเรียกร้องผลประโยชน์จากการทำประกันดังกล่าวโดยทุจริต จำนวน 11 ราย และจับกุมกลุ่มคนที่หลอกลวงให้คนทั่วไปเข้าทำสัญญาประกันชีวิต แต่ภายหลังกลับไม่ได้ดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นหรือไม่ดำเนินการรักษาสถานของสัญญาประกันชีวิตดังกล่าว จำนวน 3 ราย รวมจำนวนทั้งหมด ๑๔ ราย นำส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปอศ. ดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งทางคดีอยู่ระหว่างการสืบสวนขยายผลหาตัวผู้ร่วมขบวนการต่อไป

สอบสวนกลาง ฝากเตือนถึงพี่น้องประชาชนว่าการนำเอกสารปลอมหรือเอกสารอันเป็นเท็จไปเบิกจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยทุจริต นอกจากจะเป็นความผิดอาญาแล้ว ยังทำให้ประชาชนผู้เจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 จริง เสียประโยชน์จากความล่าช้าในการเบิกค่าสินไหมทดแทน ทั้งยังทำให้รัฐต้องเสียหายจากการนำเงินงบประมาณเเผ่นดินมาช่วยสนับสนุนบริษัทประกันที่ต้องสูญเสียรายได้ไปจากการกระทำดังกล่าวของกลุ่มคนดังกล่าวด้วย นอกจากนี้สำหรับกลุ่มคนที่หลอกลวงให้คนทั่วไปเข้าทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นหรือไม่ดำเนินการรักษาสถานของสัญญาประกันชีวิตดังกล่าว ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายและเป็นการซ้ำเติมประชาชนในภาวการณ์ระบาดด้วยเช่นกัน  อนึ่ง การกล่าวโทษของ คปภ. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย เป็นขั้นตอนในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ตลอดจนดุลพินิจของศาลยุติธรรมตามลำดับ