รายงานการสำรวจสภาพเศรษฐกิจโลก (GECS) ฉบับล่าสุดจากสมาคมนักบัญชีวิชาชีพ (Association of Chartered Certified Accountants หรือ ACCA) และสถาบันนักบัญชีบริหาร (Institute of Management Accountants หรือ IMA®) เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจยังคงต่ำกว่าค่ามัธยฐานตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากความกลัวเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและธุรกิจที่ซบเซาลงอย่างหนักสามารถรับชมรายงาน GECS ประจำไตรมาส 3/2565 ซึ่งเป็นผลการสำรวจด้านเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดจากการสอบถามนักบัญชีทั่วโลกได้ที่นี่ ผลการสำรวจนี้จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 2-14 กันยายน 2565 โดยมีการตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 905 ครั้งการสำรวจทั่วโลกพบว่า ธุรกิจเกือบ 3 ใน 4 กำลังต่อสู้กับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดระบุว่า พวกเขาเผชิญกับแรงกดดันด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และมากกว่า 1 ใน 3 มีความกังวลเกี่ยวกับรายได้ที่ลดลง ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามในสัดส่วนใกล้เคียงกันเผยว่า พวกเขาเผชิญปัญหาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ขณะที่สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันนั้นยังคงมีความไม่แน่นอน และส่อแววว่าเตรียมเข้าสู่ภาวะซบเซา

ความไม่ปลอดภัยของสภาพแวดล้อมทางการค้ามีความเคลื่อนไหวที่พบ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือ ผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่า พวกเขาเจอกับ “ปัญหาด้านการชำระเงินที่รวดเร็ว” มีจำนวนเพิ่มขึ้นจนแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งอาจเป็นสัญญาณแรกที่บ่งชี้ว่า จำนวนองค์กรที่อาจประสบปัญหาขาดกระแสเงินสดมีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การสำรวจยังพบว่า ผู้ที่รายงาน “ปัญหาในการเข้าถึงการเงิน” ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย โดยนโยบายการเงินที่เข้มงวดสุดในรอบ 40 ปี มีแนวโน้มที่จะกระทบต่อสภาพคล่องของบริษัท  ข้อมูลดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจยังคงต่ำกว่าค่ามัธยฐานในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่ดัชนีชี้วัดอื่น ๆ อีก 3 ตัวที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่ คำสั่งซื้อใหม่ รายจ่ายการลงทุน และการจ้างงาน ก็ส่งสัญญาณถดถอยทั้งหมด เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงในช่วงที่เหลือของปี ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

ดร. จอช เฮนิโร ( Josh Heniro) ผู้อำนวยการอาวุโสของ IMA ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ รวมถึงผลพวงจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นนั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวลงมากกว่าที่ภาคธุรกิจคาดการณ์ไว้ในปี 2566″ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิก คุณเฮนิโร กล่าวว่า “สำหรับตลาดเอเชียแปซิฟิก สิ่งดี ๆ ที่ซ่อนอยู่ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ คือนโยบายการเงินที่ยังคงผ่อนคลาย ขณะอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นนั้นก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งอาจเป็นเหตุผลว่า ทำไมความเชื่อมั่นของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิกจึงฟื้นตัวดีขึ้น” นอกจากนี้ ผลการจากสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า ระดับความเชื่อมั่นในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันมากขึ้น โดยความเชื่อมั่นของผู้ตอบแบบสำรวจในอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกค่อนข้างต่ำ แตกต่างกับมุมมองของผู้ตอบแบบสำรวจในตะวันออกกลางและเอเชียใต้ที่ออกมาสดใสกว่า

“รายงานการสำรวจสภาพเศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุดของเรา ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายที่ชัดเจนในเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นภาพสะท้อนจากผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเป็นผลพวงจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย นโยบายการเงินที่เข้มงวดยิ่งขึ้นในเขตอำนาจหลัก ๆ และวิกฤตค่าครองชีพ” เจมี ลีออน (Jamie Lyon)  หัวหน้าฝ่ายทักษะ ภาคส่วน และเทคโนโลยีของสมาคมนักบัญชีวิชาชีพ กล่าว “ความเสี่ยงหลักประการหนึ่งคือ ธนาคารกลางจะพยายามกระชับนโยบายการเงินเพื่อบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อมากแค่ไหนและรวดเร็วแค่ไหนในช่วงหลายเดือนข้างหน้า และเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงมากกว่าที่ผู้นำธุรกิจคาดไว้ในปี 2566 หรือไม่”