ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ประกาศความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กรมควบคุมมลพิษ, เทศบาลเมืองกระบี่, บ.ซีโร่ เวสท์ โยโล, บ.เบสท์ โพลิเมอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และ บ.จีอีพีพี สะอาด เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกนาร่องที่เมืองกระบี่และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนแก่ขยะพลาสติกประเภทถุงขนม ถุงเติมสบู่ น้ายาปรับผ้านุ่ม น้ายาล้างจานฯลฯ หรือซองแชมพูประเภท Multilayer และขวดขุ่นประเภท HDPE หรือขวดทึบที่เป็นขวดนม ขวดสบู่เหลว แชมพู น้ายาซักฟอก น้ายาปรับผ้านุ่ม เนื่องจากเป็นชนิดพลาสติกที่ไม่มีมูลค่าหรือมูลค่าเชิงพาณิชย์น้อยทาให้ไม่นิยมรับซื้อ ภายใต้โครงการ TRASH ร่วมเปลี่ยนโลก แปลงขยะให้มีค่า
“TRASH” ย่อมาจาก Tourism to Recycling Actions for the Schools and Homes เป็นโครงการที่เกิดจากพันธมิตรที่หลากหลายไม่ว่าจะชุมชน หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชนที่จะร่วมสร้างวงจรชีวิตแก่ขยะพลาสติกที่ไม่ได้ถูกจัดเก็บเพื่อป้องกันไม่ให้รั่วไหลไปสู่สิ่งแวดล้อม ชุมชน และทาลายทัศนียภาพของสถานที่ท่องเที่ยว แต่นากลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ คืนสู่โรงเรียนและชุมชน

นายโรเบิร์ต แคนเดลิโน ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย

กล่าวว่า “ยูนิลีเวอร์มีความมุ่งมั่นที่จะทาให้คนไทยมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน บริษัทฯเชื่อว่าธุรกิจไม่สามารถเติบโตได้ หากโลกของเรานั้นป่วย ปัจจุบัน ความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมหนึ่งที่เราต้องเผชิญคือเรื่องขยะพลาสติก และเป็นที่ประจักษ์ชัดเมื่อประเทศไทยถูกจัดเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลเป็นอันดับ 6 โดยมีขยะพลาสติก 2 ล้านตัน แต่สัดส่วนที่นาไปรีไซเคิลกลับน้อยกว่า 20% จึงเป็นเรื่องเศร้าที่ขยะพลาสติกส่วนที่เหลือสุดท้ายก็ไหลลงสู่คลอง บ่อฝังกลบ หรือเป็นขยะบนท้องถนน
ยูนิลีเวอร์มีความภูมิใจที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาแล้ว 87 ปี บริษัทฯ มีพันธกรณีต่อคนไทยและชุมชนไทยซึ่งเป็นผู้บริโภคของเราทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องแสดงความรับผิดชอบอีกครั้งด้วยการเป็นผู้นาในการกาหนดเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่จะจัดการกับขยะพลาสติกและเปลี่ยนแปลงธุรกิจของเราเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายให้เป็นจริง

ในปี 2560 ยูนิลีเวอร์ได้ให้คาสัญญาว่าภายในปี 2568 เราจะเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของเรา ให้สามารถนากลับมาใช้ใหม่ สามารถรีไซเคิลได้ และย่อยสลายได้ 100% เมื่อเร็วๆ นี้ ยูนิลีเวอร์ ได้ประกาศเพิ่มว่า จะลดการใช้พลาสติกใหม่ในบรรจุภัณฑ์ลงครึ่งหนึ่งและจะเก็บและแปรรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้มากกว่าที่ขาย ทั้งหมดนี้จะดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2568 เป็นการเพิ่มความหนักแน่นให้กับคาสัญญาเดิม ทั้งนี้ ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกใหม่เป็นพลาสติกรีไซเคิล post-consumer recycled (PCR) 100% สาหรับแบรนด์ที่ขายดีที่สุด (ซันไลต์และคอมฟอร์ท) แบรนด์ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว (เซเว่นท์เจนเนอเรชั่น และเลิฟ บิวตี้ แอนด์ แพลนเน็ต) และบริษัทยังมีแผนที่จะเปลี่ยนมาใช้พลาสติก PCR ในบรรจุภัณฑ์ทุกแบรนด์ของยูนิลีเวอร์ภายในสองปีนี้ ยูนิลีเวอร์ได้ปฏิรูปโปรแกรมนวัตกรรมด้วยแนวทาง “การใช้พลาสติกให้น้อยลง การใช้พลาสติกที่ดีขึ้น และการไม่ใช้พลาสติกเลย” ต่อการวิจัยและพัฒนา อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ตระหนักดีว่าทั้งหมดนี้ยังไม่พอ เราต้องร่วมมือกันจัดการปัญหาขยะพลาสติกในหลายมิติ ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ นักวิชาการและที่สาคัญในครัวเรือน เพื่อนาบรรจุภัณฑ์ในห้องครัวและห้องน้าของแต่ละบ้านทั่วประเทศไทยกลับมา ด้วยเหตุนี้ ยูนิลีเวอร์ จึงได้ริเริ่มโครงการ TRASH เพื่อเฟ้นหาโมเดลที่ทุกภาคส่วนสามารถร่วมมือกันสร้างระบบหมุนเวียนสาหรับขยะพลาสติก ให้อยู่ในวงจรเศรษฐกิจและอยู่นอกสิ่งแวดล้อม ผมขอขอบคุณหน่วยงานพันธมิตรทั้ง 10 หน่วยงานที่เข้าร่วมอุดมการณ์นี้กับเรา เรายังต้องการโปรแกรมเช่นนี้อีกมากเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จาเป็นอย่างยิ่งสาหรับโลกของเรา

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกล่าวว่า โครงการ TRASH เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของ ททท. เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ททท. ได้รณรงค์เพื่อสร้างกระแสใส่ใจสิ่งแวดล้อมและปลูกจิตสานึกให้นักท่องเที่ยวร่วมกันรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดการสร้างภาระขยะในแหล่งท่องเที่ยว มุ่งเป้าที่พลาสติกที่ใช้เพียงครั้งเดียว หรือ Single-use plastic และสนับสนุนการใช้วัสดุธรรมชาติทดแทน โดย ททท. ดาเนินโครงการ “ลดโลกโลกเลอะ” และได้ทาปฏิญญา “เที่ยวไทยเท่ ไม่สร้างขยะ ลดโลกเลอะ” ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เมื่อปี 2561 จากนั้นได้รณรงค์ไปสู่ภาคประชาชนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงรณรงค์ให้เจ้าของพื้นที่ได้ตระหนักถึงปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย ดังนั้น โครงการ TRASH จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สาคัญที่จะเป็นแนวร่วมในการรณรงค์ให้การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยประสบความสาเร็จได้อย่างรวดเร็ว อันจะส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวของไทยยังคงความสวยงามและน่าท่องเที่ยวต่อไป

นายประลอง ดารงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

กล่าวว่า ประเทศไทยถูกจัดเป็นอันดับต้นๆ ที่มีขยะพลาสติกในทะเลมากที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล อาทิ วาฬ พะยูน กรมควบคุมมลพิษได้ตระหนักถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติกจึงได้จัดทา Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 ขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางการดาเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการจัดการขยะพลาสติกของประเทศ โดยมีเป้าหมายที่ 1 คือ ลด และเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 3 ชนิด ในปี 2562 ได้แก่ แคปซีล พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่ และไมโครบีด และ 4 ชนิด ในปี 2565 ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง โฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติก(แบบบาง) และหลอดพลาสติก และเป้าหมายที่ 2 คือ การนาขยะพลาสติกกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 โครงการ TRASH เป็นการดาเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่มุ่งเน้นให้ความสาคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการนาขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) ภายใต้ Roadmap ดังกล่าว ซึ่งจะสามารถขยายการดาเนินงานไปสู่พื้นที่อื่นๆ เพื่อสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของประเทศให้ก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

นายชาญณรงค์ ลีลาบูรณพงศ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองกระบี่

กล่าวว่า กระบี่ เป็นสถานที่นักท่องเที่ยวนิยม แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมาเยือนประมาณ 6 ล้านคน มีรายได้จากการท่องเที่ยวโดยเฉลี่ยปีละ 118,000 ล้านบาท เมืองกระบี่มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างโรดแมปการจัดการขยะแบบยั่งยืนให้เป็น “เมืองกระบี่สะอาด” ปัจจุบันขยะที่รีไซเคิลได้ มีขวดใสประเภท PET กระป๋องอะลูมิเนียม เหล็ก กระดาษและเศษไม้ จะมีการซื้อขายผ่านศูนย์รับซื้อและซาเล้ง
ในขณะที่ขยะที่ผู้คนเข้าใจว่ารีไซเคิลไม่ได้ อาทิ ขวดขุ่น ขวดทึบ ประเภทโพลีเอทีลีน และถุงขนมที่เคลือบอะลูมิเนียม หรือฟอยล์ ถูกส่งไปยังบ่อฝังกลบ ปีหนึ่งมากถึง 25 ตัน โครงการ TRASH จะสร้างความรู้แก่ชุมชนและเปลี่ยนทัศนคติของคนในชุมชนต่อ ขวดพลาสติกที่ใส่ แชมพู สบู่ น้ายาปรับผ้านุ่ม หรือถุงขนมคบเขี้ยว ที่เคยถูกมองว่าเป็นขยะแท้จริงแล้วเป็นวัตถุดิบในการสร้างข้าวของเครื่องใช้ และเฟอร์นิเจอร์ที่ทามาจากพลาสติกรีไซเคิล สาหรับโรงเรียนและชุมชนเมืองกระบี่เรา เพียงแต่เราร่วมมือกันแยก ล้าง และคืนวัสดุเหล่านี้เพื่อการรีไซเคิล

นางเกศทิพย์ หาญณรงค์ CEO และ Founder ของ บจก. ซีโร่ เวสท์ โยโล กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่เห็นยักษ์ใหญ่อย่างยูนิลีเวอร์เป็นเจ้าแรกในประเทศไทยที่กระโดดเข้ามาร่วมโมเดลการรับคืนบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบยั่งยืน ทางบริษัทโยโลเองทางานในส่วนการรีไซเคิลพลาสติกกาพร้า ซึ่งก็คือ พลาสติกที่ไม่ค่อยได้รีไซเคิลในระบบใหญ่ เช่น พลาสติกบรรจุภัณฑ์ ฝาขวดน้า และพลาสติกแบบบางทั้งหลาย โดยให้แฟนเพจช่วยกันส่งมาที่ออฟฟิศของเรา ซึ่งกลายเป็นภาระของผู้บริโภค เพราะในเมืองไทยไม่มีจุดรับบรรจุภัณฑ์คืนเพื่อรีไซเคิลเหมือนต่างประเทศ ตอนนี้เราเลยดีใจมากที่ยูนิลีเวอร์เริ่มก้าวแรกด้วยการทาโมเดลการรับคืนบรรจุภัณฑ์ที่จังหวัดกระบี่ โดยบรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก HDPE, LDPE และ PP ทั้งหมดจะถูกนามาบดย่อยและหลอมขึ้นรูปด้วยเครื่องรีไซเคิลพลาสติกของโยโล ซึ่งเป็น “เครื่องรีไซเคิลพลาสติกระดับชุมชนเครื่องแรกของไทย” ที่สามารถรีไซเคิลพลาสติกเป็นไม้เทียมและชิ้นงานตามที่เหมาะสมกับแต่ละชุมชนได้ เราหวังว่าจะสามารถต่อยอดโมเดลที่ยูนิลีเวอร์ทาที่กระบี่ไปที่จังหวัดอื่น ๆ ได้ในอนาคตเพื่อช่วยลดขยะจากชุมชน ช่วยลดภาระของภาครัฐในเรื่องการจัดการขยะ และสร้างรายได้เพิ่มให้กับคนในชุมชนด้วย

นายทวี อนันตรัตนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบสท์ โพลิเมอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จากัด กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติและดีใจที่ได้เข้าร่วมโครงการดีๆแบบนี้ และในฐานะที่เป็นผู้ผลิตไม้เทียม Wood Plastic Composite จากขยะพลาสติกหลากหลายชนิด รู้สึกดีใจที่ทางบริษัทยักษใหญ่อย่างยูนิลิเวอร์เล็งเห็นถึงความสาคัญในเรื่องของเศรฐกิจหมุนเวียนเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสาคัญคือการจัดการและคัดแยกขยะแต่ละประเภทเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ขยะพลาสติกแต่ละชนิด และยังสามารถส่งถึงผู้ผลิตที่จะนาขยะเหล่านี้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไปได้ โดยเฉพาะที่ทางยูนิลิเวอร์ได้มุ่งเน้นไปที่การจัดการขยะพลาสติกชนิด multi-layer และ HDPE ที่มีการผลิตและใช้งานเป็นปริมาณมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม FMCG นี้ ซึ่งพลาสติกกลุ่มนี้เป็นพลาสติกที่ยากต่อการจัดการ ทาให้พลาสติกเหล่านี้ มักไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในระบบรีไซเคิลใหญ่ โดยในโครงการนี้ ทางบริษัทรับผิดชอบในการนาขยะพลาสติกชนิด multi-layer ซึ่งเป็นชนิดหลักที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ในครัวเรื่อน มารีไซเคิลเป็นไม้เทียม ชนิดสาหรับใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์หรือตกแต่งภายในอื่น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะพลาสติกชนิดนี้ด้วย แม้ในช่วงแรก ขบวนการผลิตของบริษัทอาจใหญ่เกินไปสาหรับการจากัดแค่การใช้ขยะจากในชุมชน แต่ในอนาคต เราหวังว่าเราจะร่วมมือกันเพื่อพัฒนาระบบการจัดการและคัดแยกขยะให้ดีขึ้น เพื่อที่จะเปลี่ยนจากกองขยะพลาสติกในชุมชนต่างๆ ให้กลายเป็นสนามเด็กเล่น เก้านั่งสาธารณะ และอื่นๆอีกมากมาย

นางสาวมยุรี อรุณวรานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีอีพีพี สะอาด จากัดกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศท่องเที่ยวหลักของโลก เรามีนักท่องเที่ยวนับล้านๆคนในทุกๆปี ซึ่งทาให้เกิดการใช้ บรรจุภัณฑ์ เป็นจานวนมากตามมา ทาให้เราต้องมีระบบจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วอย่างยั่งยืนเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดต่อธรรมชาติอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญของเรา ด้วยความร่วมมือกับ บริษัท ยูนิลีเวอร์ เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับบรรจุภัณฑ์โดยการสร้างมูลค่า โดยนาเอา “เก็บ” แพลตฟอร์มเข้ามาบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลการ

เก็บกลับบรรจุภัณฑ์ของโครงการฯ เพื่อทาให้การติดตามผลและการขยายผลมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองเป้าหมายการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ ให้ได้ 100% โดยบรรจุภัณฑ์ ทุกๆชิ้นที่ผ่านเข้ามาในระบบจะถูกบันทึกและรายงานผลบน “เก็บ” แพลตฟอร์ม ซึ่งทาให้เรามั่นใจได้ว่าบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นได้เดินทางไปสู่การรีไซเคิลจนถึงการสร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อนาไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบยั่งยืน เรามีเป้าหมายว่าด้วยระบบข้อมูลของเรา และด้วยความร่วมมือกับบริษัท ยูนิลีเวอร์ ร่วมไปถึงทุกๆฝ่ายโครงการนี้ จะช่วยให้เราสามารถสร้างโมเดลในการจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่มีมูลค่าหรือมูลค่าเชิงพาณิชย์น้อยหรือที่ไม่นิยมรับซื้อ ให้กับประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป