ลดเวลาในการพัฒนากระบวนการลงได้ราว 40%เปิดโอกาสให้บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์เร่งให้ถึงขั้นผลิตในระดับคลินิกได้  ต่อยอดแพลตฟอร์มผลิตเล็นทิไวรัส VirusExpress® อันล้ำหน้าของทางบริษัท เมอร์ค (Merck) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์มผลิตไวรัสเอเอวี (Adeno-Associated Virus หรือ AAV) อย่าง VirusExpress® 293 ทำให้เมอร์คเป็นบริษัทรับจ้างพัฒนาและผลิต (CDMO) และผู้พัฒนาเทคโนโลยีรายแรก ๆ ที่ให้บริการผลิตไวรัลเวคเตอร์เต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นไวรัสเอเอวี เล็นทิไวรัส บริการ CDMO, CTO และการพัฒนากระบวนการ แพลตฟอร์มใหม่นี้เปิดโอกาสให้บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์เร่งความเร็วให้ถึงขั้นผลิตในระดับคลินิกได้ พร้อมลดเวลาและต้นทุนในการพัฒนาในคราวเดียวกัน  “เซลล์และยีนบำบัดเปิดโอกาสในการคิดค้นเทคนิครักษาโรค และนำมาใช้ในทางการค้าได้โดยใช้เวลาเพียงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับกลวิธีแบบเดิม ๆ” เดิร์ค เลนจ์ (Dirk Lange) หัวหน้าแผนกธุรกิจบริการชีววิทยาศาสตร์ ประจำธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ของเมอร์ค กล่าว “แพลตฟอร์มผลิตไวรัสเอเอวี VirusExpress® 293 ของเรา ช่วยเพิ่มปริมาณโดสและลดเวลาในการพัฒนากระบวนการลงได้อย่างมาก เพื่อเร่งการผลิตเทคนิครักษาโรคเหล่านี้ และท้ายที่สุดก็จะทำให้ส่งมอบการรักษาที่ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้เร็วขึ้น”

แพลตฟอร์มใหม่นี้เข้ามาต่อยอดบริการ VirusExpress® ของเมอร์ค ซึ่งลดเวลาในการพัฒนากระบวนการลงได้ถึง 40% ตามประสบการณ์ในการรับจ้างพัฒนาและผลิตของเมอร์ค โดยแพลตฟอร์มผลิตเล็นทิไวรัส VirusExpress® ของเมอร์ค เปิดโอกาสให้ลูกค้าเร่งความเร็วให้ถึงขั้นผลิตในระดับคลินิกได้ ได้ไตเตอร์มากกว่าคู่แข่งถึง 5 เท่า และเปลี่ยนจากการใช้ระบบขั้นตอนเดิมเป็นโซลูชันแบบมีเทมเพลต  แพลตฟอร์ม VirusExpress® ของเมอร์ค มอบกระแสงานระดับต้นน้ำที่เรียบง่ายสำหรับการผลิตไวรัสเอเอวีและเล็นทิไวรัส ทำให้ควบคุมดูแล ปรับเปลี่ยน และปรับขนาดกระบวนการต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และนอกเหนือจากการเร่งเวลาพัฒนากระบวนการแล้ว รูปแบบการเลี้ยงเซลล์แขวนลอยยังทำให้ได้ผลผลิตแบบแบตซ์มากขึ้น และทำให้ได้โดสมากขึ้นตาม นอกจากนี้ การเลี้ยงเซลล์แขวนลอยยังรองรับกระบวนการผลิตอย่างจริงจังด้วย แต่ใช้แรงคนลดลง ขณะที่อาหารเลี้ยงเซลล์แบบสังเคราะห์ยังทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย การกำกับดูแล และซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบจากมนุษย์และสัตว์ ส่วนโมเดลการให้สิทธิ์แบบยืดหยุ่นเปิดโอกาสให้บริษัทต่าง ๆ นำขีดความสามารถและความเชี่ยวชาญในการรับจ้างผลิตของเมอร์คไปใช้ผลิตเวคเตอร์ได้ โดยเข้าถึงเทมเพลตได้ทั้งแบบต้นน้ำและปลายน้ำ หรือจะใช้การพัฒนาในองค์กรหรือบุคคลภายนอกก็ได้

ธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ของเมอร์คเป็นธุรกิจรับจ้างพัฒนาและผลิตระดับแถวหน้า และได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงนี้นับตั้งแต่ที่ได้เริ่มศึกษาทดลองการทำยีนบำบัดในระดับคลินิกเมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2564 บริษัทได้เปิดโรงงานแห่งที่สองของบริษัทในเมืองคาร์ลสแบด รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเพิ่มกำลังการผลิตเดิมได้กว่าเท่าตัว เพื่อรองรับการผลิตทางการค้าในปริมาณมาก