ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จากปรัชญา “เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต” “Be Excellent for Lives” และปณิธาน เป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิจัยสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการและวิชาชีพเพื่อบริการมวลมนุษยชาติอย่างยั่งยืน ล่าสุด คณะทำงานด้านการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ของประชาชนตามแนวทางการปฎิรูปประเทศ ร่วมกับสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) โดย ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประธานกรรมการปฎิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จัดเปิดตัว ตู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Knowledge board) ศูนย์เรียนรู้ในลักษณะ online Library เพื่อกระจายองค์ความรู้และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพิ่มช่องทางการเข้าถึงการอ่านแก่ประชาชนและเยาวชน มุ่งเน้นการเข้าถึงง่าย สะดวก และรวดเร็ว รวมทั้งสอดคล้องต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ยังเป็นไปแบบแผนการปฏิรูปประเทศ ในด้านของการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอีกด้วย เมื่อเร็วๆ นี้
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประธานกรรมการปฎิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NSO) และ United Nations International Children’ s Emergency Fund (UNICEF) ระบุว่าจำนวนหนังสือสำหรับเด็กที่มีในบ้านมีความสัมพันธ์แบบแปรผันตรงกับฐานะของครัวเรือน จึงควรมีการกระจายการเข้าถึงของสื่อการเรียนรู้ในทุกพื้นที่ ดังนั้น แผนการปฏิรูปฯ ในกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 เรื่องการบริหารจัดการศักยภาพบุคลากรของประเทศ กำหนดให้มีแนวทางในการพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดการองค์ความรู้สำหรับคนทุกช่วงวัย โดยเป้าหมายในการจัดการองค์ความรู้ดังกล่าว สอดคล้องกับปณิธานของ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยคณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ของประชาชนตามแนวทางการปฎิรูปประเทศจึงได้ร่วมกับ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) คิดแผนงานผลักดันโครงการการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อประชาชน โดยมีหลักการเพื่อกระจายองค์ความรู้และสร้างบรรยากาศของสังคมแห่งการเรียนรู้ สำหรับหลักการและเป้าหมายการปฏิรูปที่กำหนดไว้ในแผน UNESCO Institute for Lifelong Learning มีกรอบแนวคิดในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ โดยจัดให้มีการ เรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง บนพื้นฐานความเข้าใจความต้องการของคนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มคน เปราะบาง อาทิ ผู้สูงอายุ กลุ่มคนที่อยู่ห่างไกล และสร้างเงื่อนไขที่เอื้อหรืออำนวยความสะดวกให้คน กลุ่มต่าง ๆ ได้มีโอกาสในการเรียนรู้หรือขจัดอุปสรรคในการเข้าถึง
ในส่วนของเนื้อหา จัดทำ ตู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Knowledge board) ราชวิทยาลัย จุฬาภรณ์ร่วมกับ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) เพื่อกระจายองค์ความรู้และสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยเฟสแรกจะมีการติดตั้งที่ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์, ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ TK Park ทั้งนี้มีการวางแผนเพื่อจัดส่งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในส่วนราชการและส่วนภูมิภาค เพื่อเพิ่มช่องทางการ เข้าถึงการอ่านแก่ประชาชน เพื่อให้บริการในจุดที่มีการใช้บริการจำนวนมากแต่มีข้อจำกัดของพื้นที่ โดย การบริการมุ่งเน้นการเข้าถึงง่าย สะดวกรวดเร็ว และสอดคล้องต่อการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน สำหรับ เนื้อหาและองค์ความรู้จะเน้นสาระที่เป็นประโยชน์กับประชาชน เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ เทคโนโลยีการแพทย์ ความรู้เรื่องโรคต่างๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ ตู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Knowledge board) จะมีการไปเปิดตัวในงาน Thailand Collaboration for Change การจัดแถลงผลปฎิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม นี้ ณ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม
Post Views: 258