กสิกรไทยส่งเควิชั่นร่วมลงทุนในซีเนียส (Zenius) สตาร์ทอัพผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านการศึกษาขนาดใหญ่อันดับ ของประเทศอินโดนีเซีย ด้วยมูลค่าการเพิ่มทุนรวมกว่า 40 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หวังต่อยอดความร่วมมือในการสร้างฐานลูกค้าให้บริการการชำระเงินและเจาะตลาดสินเชื่อเพื่อการศึกษาในอินโดนีเซียที่มีประชากรกว่า 270 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ ของโลก 

นายภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และประธานกรรมการ บริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (เควิชั่น) เปิดเผยว่า เควิชั่น ทำหน้าที่เป็นบริษัทลงทุนของธนาคารกสิกรไทย เดินหน้าค้นหาธุรกิจที่มีศักยภาพทางนวัตกรรมที่จะต่อยอดการใช้งานของลูกค้าธนาคารในตลาดภูมิภาค AEC+อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรกว่า 270 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน และอันดับที่ ของโลก นอกจากนี้ ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะกว้างใหญ่ ส่งผลให้มีการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถเชื่อมโยงการใช้งานของผู้คนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างน่าสนใจ   โดยเฉพาะตลาดเทคโนโลยีด้านการศึกษา (Education Technology หรือ EdTechภายในประเทศที่มีการขยายตัวเนื่องจากปัจจุบันประเทศมีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำให้ธุรกิจการศึกษาประเภทการสอนพิเศษนอกเวลาเรียน (Supplementary Education) การกวดวิชาเพื่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และหลักสูตรการสอนเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ (Skill Development) ในประเทศอินโดนีเซีย มีแนวโน้มเติบโตสูง  และอยู่ในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล รองรับการใช้งานของประชากรที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่กาะต่าง ๆ

เควิชั่น ลงทุนใน ซีเนียส แพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านการศึกษาชั้นนำในอินโดนีเซีย  เล็งต่อยอดบริการชำระเงิน เจาะตลาดสินเชื่อเพื่อการศึกษา 

ล่าสุด เควิชั่น ได้ร่วมลงทุนใน ซีเนียส (Zenius) สตาร์ทอัพผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านการศึกษา (Education Technology Platform) ขนาดใหญ่อันดับ ของประเทศอินโดนีเซีย ที่มีศักยภาพด้วยยอดการเข้าใช้งานแอปพลิเคชันที่สูง (High engagement rate) มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นกว่า 20 ล้านครั้ง  และมีหลักสูตรที่หลากหลายครอบคลุมทั้งวัยเรียนไปจนถึงวัยทำงาน รวมทั้งทีมผู้บริหารซีเนียสที่มีประสบการณ์ทั้งในภาคการศึกษาและการทำธุรกิจเทคสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น การลงทุนครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ธนาคารกสิกรไทยได้เข้าไปร่วมทำงานกับซีเนียสในการพัฒนาบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงการศึกษาบนดิจิทัลให้แก่ชาวอินโดนีเซียได้ในอนาคต ทั้งบริการระบบการชำระเงินและธุรกรรมต่าง ๆ และบริการด้านสินเชื่อเงินกู้ยืมสำหรับการสมัครเรียนคอร์สออนไลน์ โดยคาดการณ์ว่าลูกค้าของซีเนียส โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงานซึ่งเป็นชนชั้นกลางที่มีความมั่นคงทางการเงินจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการด้านสินเชื่อนี้ และมีความสามารถใช้การชำระคืนที่ดี ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ช้อมูลการปล่อยสินเชื่อจากผู้เล่น P2P ในอินโดนีเซีย  พบว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ธุรกรรมการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาระหว่างบุคคลทั่วไปผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ (P2P Lending) ในประเทศอินโดนีเซียมีแนวโน้มเติบโตสูง ด้วยจำนวนการเบิกจ่ายสินเชื่อ (Loan disbursement) ในปี 2564 เทียบปี 2561 เพิ่มขึ้นถึง 24 เท่า 

นายโรฮาน โมนกา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเนียส

ทั้งนี้ การลงทุนครั้งนี้ธนาคารกสิกรไทยและเควิชั่น ลงทุนผ่านกองทุน Beacon Venture Capital ของธนาคารกสิกรไทย

ด้านนายโรฮาน โมนกา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเนียส  กล่าวเพิ่มเติมว่า ซีเนียสถือเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจเทคโนโลยีทางการศึกษาในอินโดนีเซีย ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 20 ล้านคนและมีคลังเนื้อหาบทเรียนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย มีผู้ใช้งานประจำราว 1 ล้านราย การเพิ่มทุนรอบนี้ของซีเนียสมีมูลค่ารวมกว่า 40 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ มาจากบริษัทผู้ลงทุนรวม 5 บริษัท ได้แก่ MDI Ventures, Northstar Group, Alpha JWC, Openspace Ventures และกสิกรวิชั่น ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหม่ล่าสุด หลังการระดมทุนรอบนี้ซีเนียสตั้งเป้าหมายก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม EdTech ในประเทศอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวางแผนการทำการตลาดเพื่อสร้างการจดจำและความรู้จักกับแบรนด์ รวมถึงขยายคลังเนื้อหาหลักสูตรและฐานผู้ใช้งาน พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์สำคัญ 4 กลุ่ม  ได้แก่  1) ZeniusLand ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ edutainment สำหรับกลุ่มลูกค้าประถม โดยซีเนียสเป็นพันธมิตร exclusive ของ Disney ในอุตสาหกรรม EdTech ในอินโดนีเซีย 2) Zenius ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเกรด 1012 โดยมีเนื้อหาการเตรียมตัวสำหรับการสอบในชั้นเรียนและสอบเข้ามหาวิทยาลัย 3) ZenPro ซึ่งเป็นหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพสำหรับกลุ่มวัยทำงาน 4ผลิตภัณฑ์ OMO (Online Merge Offline) โดยเป็นการผสมผสานการเรียนรู้ในห้องเรียนและแบบออนไลน์ ทั้งนี้ ซีเนียสได้เข้าไปควบรวมกิจการกับโรงเรียนกวดวิชา Primagama ซึ่งเป็นโรงเรียนกวดวิชาขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศอินโดนีเซีย เพื่อต่อยอดสู่การเรียนผสมผสานนี้ต่อไป