แนวทาง Secure Networking ผสานรวมความสามารถขั้นสูงของเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อให้องค์กรธุรกิจเชื่อมต่อได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยในโลกไฮบริด
- ความก้าวหน้านี้เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ของซิสโก้ในการลดความซับซ้อนของเครือข่ายและเชื่อมต่อโลกอย่างปลอดภัยด้วยแนวทาง Secure Networking ระดับชั้นนำของอุตสาหกรรม
- เปิดตัวหลักสูตร ‘ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไซเบอร์ซีเคียวริตี้’ สำหรับประชาชนทั่วไป ภายใต้ Cisco Networking Academy เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย และยกระดับทักษะของบุคลากรดิจิทัลของไทย ต้อนรับเดือนแห่งการรณรงค์เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์
กรุงเทพฯ, ซิสโก้ได้เปิดตัวแนวทาง Secure Networking ในไทย ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ผสานรวมความสามารถขั้นสูงของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ แนวทางนี้สร้างขึ้นบนแนวคิด Zero Trust เพื่อให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ได้รับโซลูชั่นการเชื่อมต่อที่ราบรื่นและปลอดภัย สามารถรับมือกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ในโลกไฮบริดได้
งานนี้จัดขึ้นในเดือนแห่งการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness Month) โดยมีการเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในไทย รวมถึงวิสัยทัศน์ด้านคลาวด์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้ ความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเพื่อเป็นด่านแรกในการป้องกัน และเทคโนโลยี AI นอกจากนี้ ยังมีการหารือเกี่ยวกับความท้าทายด้านความปลอดภัยที่ผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศและระบบรักษาความปลอดภัย (CISO) ต้องเผชิญ และความจำเป็นที่ภาคส่วนต่างๆ ในแวดวงซีเคียวริตี้จะต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ (Cyber Resilience) หรือความสามารถในการเตรียมตัวเพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ท่ามกลางสถานการณ์ภัยคุกคามที่มีการขยายตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง องค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายที่สำคัญ นั่นคือ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อรักษาความยืดหยุ่นในโลกไฮบริด เนื่องจากปัจจุบันพนักงานทำงานจากสถานที่ต่างๆ โดยใช้การเชื่อมต่อที่หลากหลาย และเข้าถึงข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน ความยืดหยุ่นจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และตรงจุดนี้เองที่ “เครือข่าย” เข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็น “ด่านแรก” ของการป้องกัน และเป็นจุดควบคุม (sole control point) ที่ตรวจสอบทุกการเชื่อมต่อทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของผู้ใช้ อุปกรณ์ หรือสถานที่
วีระ อารีรัตนศักดิ์, กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทยและเมียนมาร์ กล่าวว่า “การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความยากกว่าในอดีตมาก โดยปัจจุบันมีบริษัทในประเทศไทยเพียง 27% เท่านั้นที่มีความพร้อมอย่าง “สมบูรณ์” ในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์สมัยใหม่ ขณะที่องค์กรต่างๆ มีการพัฒนาไปตามเทรนด์ต่างๆ เช่น การโยกย้ายไปสู่ระบบคลาวด์ การทำงานแบบไฮบริด และการปรับใช้เทคโนโลยี AI แนวทาง Secure Networking จึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้องค์กรเหล่านี้เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม และเร่งการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการรักษาความปลอดภัย”การเปิดตัว Cisco Secure Networking ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของระบบเครือข่ายที่มุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัย โดยเชื่อมโยงกับคลาวด์เน็ตเวิร์ก และคลาวด์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้ (Cisco Networking Cloud & Cisco Security Cloud) เพื่อมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อที่ปลอดภัยและดีที่สุด
จวน ฮวด คู, ผู้อำนวยการฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซิสโก้ ภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “สิ่งหนึ่งที่สร้างความแตกต่างอย่างโดดเด่นให้กับซิสโก้ก็คือ ความสามารถในการมองเห็นและตรวจสอบเครือข่ายอย่างเหนือชั้น ซึ่งช่วยให้เราสามารถปกป้องทุกสิ่งที่เชื่อมต่ออยู่ และด้วย Cisco Secure Networking เราได้รวบรวมความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัย รวมถึงความสามารถในการใช้แนวทาง Zero Trust และการบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยแบบละเอียดเข้าไปในคอนโซลเพียงหนึ่งเดียว (Single Console)”
ระบบเครือข่ายที่มุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัยช่วยเพิ่มพลังให้กับการทำงานแบบไฮบริด
บริษัทต่างๆ ในไทยยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเต็มที่ โดยจากรายงานความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Readiness Index) ของซิสโก้ปีนี้ พบว่ามีเพียง 27% ขององค์กรในไทยเท่านั้นที่มีความพร้อมในระดับ “สมบูรณ์” (Mature) ซึ่งจำเป็นต่อการรับมือกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สมัยใหม่ ในปัจจุบันช่องว่างด้านความพร้อมนี้เห็นได้ชัดเจนอย่างมาก เพราะ 89 % ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยคาดว่าเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จะทำให้ธุรกิจของพวกเขาหยุดชะงักใน 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า หากปราศจากการเตรียมพร้อมที่ดีก็สามารถทำให้เกิดความเสียหายที่มีมูลค่าสูงมาก โดย 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขาประสบเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และองค์กรครึ่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบต้องแบกรับความเสียหายมูลค่าอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์ ในการรับมือกับความท้าทายด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในโลกยุคใหม่ ซิสโก้ตระหนักดีว่าองค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องการประสบการณ์การเชื่อมต่อเครือข่ายตามแนวทาง Zero Trust พร้อมความสามารถในการตรวจสอบและวิเคราะห์ และการบังคับใช้นโยบายเพื่อคุ้มครองทุกการเชื่อมต่อโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้ง
จุดเด่นของ Cisco Secure Networking คือ:
- ประสบการณ์การเข้าถึงโดยทั่วไป ช่วยองค์กรนำเสนอวิธีที่ง่ายและราบรื่นให้กับพนักงานในการเข้าถึงแอปพลิเคชั่นและทรัพยากรทั้งหมดจากสถานที่ อุปกรณ์ และแอปพลิเคชั่นต่างๆ โดยจะมีการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้และความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ก่อนให้สิทธิ์การเข้าถึงที่ปลอดภัย
- การจัดการนโยบายความปลอดภัยแบบอัจฉริยะ ช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่านโยบายของตนจะนำไปปฏิบัติพร้อมกับ identity อย่างเรียบง่าย สอดคล้องกัน และมีการจัดการอย่างครอบคลุม รวมถึงสาขา และสถานที่ตั้งที่อยู่ห่างไกล เพื่อควบคุมความสมบูรณ์และความปลอดภัยของเครือข่าย ความสามารถที่ขับเคลื่อนด้วย AI จะช่วยให้ทีมงานฝ่ายระบบรักษาความปลอดภัยสามารถกำหนดนโยบายความปลอดภัยแบบละเอียด ครอบคลุมทั่วทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กร
- การตรวจสอบและตรวจจับภัยคุกคามอย่างรวดเร็ว โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยของซิสโก้, Cisco Talos Intelligence Group และการตรวจสอบเครือข่ายจาก Cisco ThousandEyes ซึ่งจะช่วยให้ทีมงานฝ่ายปฏิบัติการด้านความปลอดภัยสามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบการวัดและส่งข้อมูลทางไกล (Telemetry) สามารถระบุเหตุการณ์ที่สำคัญก่อนหลัง และตอบสนองแบบอัติโนมัติโดยอาศัยข้อมูลที่เป็นหลักฐานได้
- การบังคับใช้นโยบาย Zero Trust อย่างกว้างขวาง ครอบคลุมทั่วอีโคซิสเต็มส์ทางไอทีที่มีสภาพแวดล้อมที่หลากหลายขององค์กร โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกตามบริบทเพื่อคุ้มครองการเข้าถึงที่เชื่อถือได้ และขจัดช่องว่างทางซีเคียวริตี้ภายในองค์กร
นอกจากนี้ ซิสโก้ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการปรับใช้กลยุทธ์ AI สำหรับระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อมอบโซลูชั่นไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการปกป้องระบบ AI ให้รอดพ้นจากภัยคุกคาม เทคโนโลยี AI จะพลิกโฉมภูมิทัศน์ทางด้านธุรกิจ ช่วยให้องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถขับเคลื่อนในระดับแมชชีน ไม่ใช่ในระดับมนุษย์ พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับ อุตสาหกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก่อให้เกิดประเด็นใหม่ๆ เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ความปลอดภัย การเก็บรักษาความลับ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา และ bias ต่างๆ กลยุทธ์ AI สำหรับระบบรักษาความปลอดภัยของซิสโก้ประกอบด้วยแง่มุมที่สำคัญ 3 ประการได้แก่ ทำให้การจัดการนโยบายด้านความปลอดภัยง่ายขึ้น ทำให้การป้องกันภัยคุกคามมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น และการคุ้มครองการใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ให้มีความปลอดภัย
ยกระดับทักษะบุคลากรดิจิทัลของไทยให้พร้อมรับโลกไซเบอร์
เนื่องจากบริษัทต่างๆ ในไทยกำลังก้าวเข้าสู่โลกที่มุ่งเน้นดิจิทัลเป็นหลัก ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าบุคลากรของบริษัทสามารถก้าวทันการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ตลอดระยะเวลา 24 ปีในการดำเนินงานในประเทศไทย Cisco Networking Academy ได้ร่วมมือกับสถาบันศึกษา 59 แห่งในการฝึกอบรมผู้เรียนกว่า 72,000 คน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางอุตสาหกรรมที่เป็นที่ต้องการอย่างมาก ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับไซเบอร์ซีเคียวริตี้ วิทยาศาสตร์ข้อมูล ระบบเครือข่าย และอื่นๆ อีกมากมาย
ซิสโก้ยังคงพยายามในการยกระดับทักษะบุคลากรด้านดิจิทัลของไทย ด้วยการนำเสนอหลักสูตรใหม่ ‘ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไซเบอร์ซีเคียวริตี้’ (Introduction to Cybersecurity) สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง หลักสูตรนี้เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเรียนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ประกอบด้วยโมดูลต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับโลกของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โดยครอบคลุมหลากหลายหัวข้อ ตั้งแต่แนวคิดพื้นฐานของการโจมตีทางไซเบอร์ ไปจนถึงขั้นตอนที่ผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการเพื่อคุ้มครองตนเองและองค์กร รวมถึงประเด็นทางกฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และวิธีการเริ่มต้นเส้นทางอาชีพด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ หลักสูตรนี้เปิดให้ลงทะเบียนเป็นระยะเวลา 6 เดือน
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร ‘Introduction to Cybersecurity’ ของ Cisco Networking Academy ได้ที่เว็บไซต์: http://cs.co/cyberthmedia