BCG สาขาเกษตร ผลักดันการดำเนินงานร่วมกั นระหว่างศูนย์พันธุวิ ศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่ งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้ านนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท เกษตรอินโน จำกัด และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ ยวข้อง เดินหน้าโครงการยกระดับรายได้ และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมั ยใหม่บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่ มน้ำโขง (BCG-NAGA Belt Road (บีซีจี นาคาเบลต์โรด)) โดยลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้ าการออกแบบโมเดลเส้นทางการท่ องเที่ยวบนฐานวัฒนธรรมข้าวเหนี ยวจังหวัดอุดรธานี หนึ่งในจังหวัดนำร่อง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ ยวตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ 1) วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ ยวเกษตรเชิงนิเวศอ่างน้ำพาน และ 2) วิสาหกิจชุมชนโฮม สเตย์เชิงอนุรักษ์บ้านเชียงแหว ที่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุ มชนและพัฒนาตลาดวัฒนธรรมข้ าวเหนียวสู่การยกระดับเศรษฐกิ จฐานรากในพื้นที่จังหวัดอุ ดรธานี และสร้างกลไกการทำงานอย่างมีส่ วนร่วมในพื้นที่แบบ 4 P (ภาครัฐ เอกชน เกษตรกร และสถาบันการศึกษาในพื้นที่) ได้อย่างแท้จริง
ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิ ศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่ งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. และเลขานุการคณะอนุกรรมการการขั บเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้ วยโมเดลเศรษกิจ BCG สาขาเกษตร เปิดเผยว่า สวทช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินโครงการยกระดับรายได้ และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมั ยใหม่บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่ มน้ำโขง (BCG-NAGA Belt Road) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิ ตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวบนเส้ นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG นำร่องในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง เชียงราย อุดรธานี และนครพนม ผ่านการดำเนินงานภายใต้ 4 แผนงานหลัก คือ 1) มุ่งพัฒนาทักษะเกษตรกรและถ่ ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม 2) มุ่งยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรู ปจากข้าวเหนียวและเพิ่มมูลค่ าจากวัสดุเหลือทิ้ง 3) มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากทุนทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้ องกับข้าวเหนียว และ 4) มุ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ อยกระดับการผลิตและรายได้ โดยล่าสุดคณะอนุกรรมการการขั บเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้ วยโมเดลเศรษกิจ BCG สาขาเกษตร นำโดย น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง ประธานคณะอนุกรรมการฯ ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค และคณะ ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้ าในแผนงานที่ 3 ซึ่ง ดร.อรรจนา ด้วงแพง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และ ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้ านนา ได้ทำการศึกษาทรัพยากรในชุ มชนและจัดทำคลังความรู้ชุ มชนในด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับข้าวเหนี ยว จนเกิดเป็นเส้นทางท่องเที่ ยงบนฐานวัฒนธรรมข้าวเหนียวในพื้ นที่อุดรธานี
โมเดลเส้นทางวัฒนธรรมที่เกี่ ยวข้องกับข้าวเหนียวในพื้นที่จั งหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย ทะเลบัวแดง-วัดหายโศก-วัดสุ วรรณนารี-คำชะโนด-อ่างน้ำพานอุ ทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท-วั ดป่าบ่องึม-อ่างเก็บน้ำห้ วยหลวง-ภูฝอยลม-สะพานหินท่าลี่ ภายใต้เส้นทางวัฒนธรรมดังกล่าว ได้มีการพัฒนาหมู่บ้านแห่งการท่ องเที่ยวด้วยวัฒนธรรมข้าวเหนียว 2 แห่ง ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ ยวเกษตรเชิงนิเวศอ่างน้ำพาน ตำบลเชียงดา อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี โดยกลุ่มฯ มุ่งส่งเสริมให้เป็นหมู่บ้านต้ นแบบแห่งการท่องเที่ยวด้วยวั ฒนธรรมข้าวเหนียว ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเชิ งอนุรักษ์แบบแพสเตย์ (Eco-tourism) และการพัฒนาตลาดวัฒนธรรมข้ าวเหนียว เช่น ล่องแพชมธรรมชาติอ่างน้ำพาน (ท่าแพบ้านแมด) ชมควายทามบนเกาะป่าทาม เป็นต้น รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน โดยได้ปรับปรุงสถานที่ติดตั้งต้ นแบบ ระบบโซล่าเซลล์ในแพ เพื่อบริการนักท่องเที่ ยวในการชาร์จแบตมือถือ พัดลม เครื่องเสียง และทำอาหาร ตลอดจนเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำที่มี การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ ในท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกั บข้าวเหนียวครบวงจร เป็นชุมชนผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (พันธุ์ข้าวเหนียวหอมนาคา พันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ฯลฯ) และมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้ าวเหนียวอย่างหลากหลาย พัฒนาและรองรับสู่การเป็นแหล่ งท่องเที่ยวต่อไป
และอีกแห่งหนึ่งคือที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์เชิ งอนุรักษ์บ้านเชียงแหว ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ใกล้บึงหนองหาน แหล่งน้ำจืดธรรมชาติขนาดใหญ่ ช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ของทุกปี ดอกบัวแดงจะเบ่งบานเต็มผืนน้ำ ของหนองหาน จึงเป็นที่มาของ “ทะเลบัวแดง” โดยแหล่งท่องเที่ยวนี้มีทั้งที่ พัก ร้านอาหาร และร้านของฝากที่ระลึก รองรับนักท่องเที่ยวที่ มาชมทะเลบัวแดง สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามตำนาน รวมถึงยังเป็นชุมชนผลิตเมล็ดพั นธุ์ข้าว มีแปลงทดลองผลิตเมล็ดพันธุ์คั ดต่าง ๆ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้ าวเหนียวอย่างหลากหลาย สำหรับรองรับและพัฒนาสู่การเป็ นแหล่งท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ เส้นทางการท่องเที่ยวบนฐานวั ฒนธรรมข้าวเหนียวที่ได้พัฒนาให้ เป็นหมู่บ้านการท่องเที่ยวข้ างต้น เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ โครงการ BCG-NAGA Belt Road ได้ดำเนินการนำร่องในพื้นที่จั งหวัดอุดรธานีอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะมีการขยายผลเพื่อส่งเสริ มการท่องเที่ยวชุมชนและพั ฒนาตลาดวัฒนธรรมข้าวเหนียวให้ สามารถยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกข้ าวเหนียวให้สร้างรายได้เพิ่ มมากขึ้น เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในพื้ นที่ตลอดห่วงโซ่ได้อย่างยั่งยื นต่อไป