วันที่ 19 มีนาคม 2564 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม นำคณะผู้บริหารของกระทรวงทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ 3 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร เพื่อเร่งแก้ปัญหาภัยแล้งให้กั บพี่น้องประชาชนและเกษตรกร สนองนโยบาย ทส. ยกกำลัง 2 บวก 4 ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้ ประชาชนอย่างทันท่วงที
ที่จังหวัดอุบลราชธานี รมว.ทส. ได้เป็นประธานมอบหนังสือแสดงป่ าชุมชน ให้กับป่าชุมชนระดับจังหวัด จำนวน 40 ป่าชุมชน ในพื้นที่ 20 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนื อ พร้อมกับมอบเงินอุดหนุ นในโครงการสร้างเศรษฐกิจชุ มชนจากป่าชุมชน ให้แก่ 70 ป่าชุมชน ของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งป่าชุมชนเหล่านี้ เป็นการสร้างเครือข่ายระหว่ างภาครัฐและภาคประชาชน ในการดูแลรักษาพื้นที่ป่าที่ สำคัญ ซึ่ง รมว.ทส. ได้มีนโยบายที่สำคัญ คือ “การอนุรักษ์ กับการพัฒนา จะต้องดำเนินไปควบคู่กัน” อีกทั้ง ป่าชุมชนเหล่านี้จะเป็นป่าต้นน้ำ ที่จะแก้ปัญหาภัยแล้งได้เป็นอย่ างดีในอนาคต
สำหรับการแก้ปัญหาภัยแล้งนั้น รมว.ทส. ได้เดินทางไปติดตามการดำเนิ นงานโครงการฟื้นฟูแหล่งน้ำกุ ดเมืองฮาม พร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลั งแสงอาทิตย์ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
ซึ่งโครงการดังกล่าวสามารถช่ วยเหลือประชาชนให้ได้มีน้ำเพื่ อการอุปโภคบริโภคได้จำนวนกว่า 200 ครัวเรือน ต่อจากนั้น ยังได้เดินทางไปเป็นประธานเปิ ดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่ อการเกษตรแปลงใหญ่ด้วยพลั งงานแสงอาทิตย์ ณ บ้านดู่ทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นการขุดเจาะน้ำบาดาลขนาด 6 นิ้ว จำนวน 4 บ่อ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 92 ราย โครงการนี้สามารถบรรเทาปัญหาภั ยแล้งให้กับเกษตรกรในพื้นที่หมู่ บ้านดู่ทุ่ง จังหวัดยโสธรได้ จำนวนมากถึง 728 ไร่
ทั้งนี้ รมว.ทส. กล่าวทิ้งท้าย ซึ่งได้ขอบคุณนายกรัฐมนตรี และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้ให้ความสำคัญต่อการแก้ปั ญหาภัยแล้ง พร้อมกับกล่าวต่อพี่น้ องประชาชนที่เดินทางมาต้อนรับว่ า และ “จากนี้ขอให้พี่น้องช่วยกันใช้ น้ำอย่างรู้คุณค่า ดูแลป่าต้นน้ำให้ดี และปลูกพืชใช้น้ำน้อย เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ โดยน้ำทุกหยดนับวันจะหายากและมี ค่ามากขึ้น ทรัพยากรน้ำ เป็นสิ่งที่มีความหมายต่อมนุษย์ มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอุปโภคบริ โภค ทำการเกษตร อุตสาหกรรม และการรักษาระบบนิเวศ ดังนั้น จึงขอฝากประชาชนในพื้นที่ให้ใช้ น้ำอย่างประหยัด คุ้มค่า และให้ช่วยกันปลูกป่า เพื่อให้มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ในอนาคต และไม่ต้องมีปัญหาภัยแล้งเหมื อนที่ผ่านมา”