วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 น. นายเดโช วันทนาพิทักษ์ พัฒนาการจังหวัดบุรีรัมย์ มอบหมายให้นายทองใจ ปุยไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนักวิชาการสำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ และ นางจินตนา เชิดสุข เจ้าหน้าที่การเงินลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทางของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่โคกหนองนา กรมการพัฒนาชุมชน ในทุกมิติ เช่น การปรับเปลี่ยนแบบพื้นที่ฯ การดำเนินงานปรับเปลี่ยนพื้นที่ การเบิกจ่าย และการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแนวทางของโครงการและพื้นที่อำเภอบ้านด่านจังหวัดบุรีรัมย์
โดยมีการประชุมซักซ้อมความเข้าใจร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านด่าน นำโดยนางทิพย์วิภา สุขสวัสดิ์ พัฒนาการอำเภอบ้านด่าน ในการดำเนินงานตามแบบมาตรฐานของกรมการพัฒนาชุมชนและการปรับเปลี่ยนแบบตามสภาพภูมิสังคมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายและหลักกสิกรรมธรรมชาติ การจัดซื้อจัดจ้างการส่งเบิกตามปริมาณงานและการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่ถูกต้อง
และนอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนงานในมิติต่าง ๆ ที่สำคัญตามนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน เช่น การขับเคลื่อนงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน ระบบ Big Data งานทุนชุมชน การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และ กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการสวมใส่ผ้าไทยตามแนวทาง “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน” เพื่อให้การขับเคลื่อนงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ในทุกมิติ
จากนั้นลงพื้นที่ติดตามให้คำแนะนำในการดำเนินกิจกรรม ณ พื้นที่ครัวเรือนเป้าหมายนางสาวอัญชลี เจริญยิ่ง บ้านโนนขวาง บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 7 ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามแบบมาตรฐานของกรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ดำเนินงาน 3 ไร่ โดยในพื้นที่เป็นดินเหนียวใช้แบบมาตรฐาน 1 : 3 ความลึกของบ่อกักเก็บน้ำ 8 เมตร ที่ความชัน 45 องศา จำนวน 3 บ่อ รวมทั้งมีการขุดคลองไส้ไก่ในพื้นที่ 200 เมตรตามแนวยาวทิศตะวันออก-ตะวันตก โดยนางสาวอัญชลี เจริญยิ่ง เจ้าของแปลงครัวเรือนเป้าหมายได้บอกเล่าถึงความภาคภูมิใจในการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านด่าน และการเข้าร่วมโครงการฯ และวางเป้าหมายในการดำเนินงานพื้นที่แปลงต้นแบบให้เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อที่จะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนพร้อมทั้งขยายผลไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงต่อไป
Post Views: 443