กรุงเทพฯ — แคนนอน จัดงาน PrintHOW Bangkok 2022 เวทีสัมมนาระดับโลกของแคนนอนที่จัดขึ้นเพื่อเผยเทรนด์ใหม่ล่าสุด องค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ในวงการพิมพ์ มุ่งหวังผลักดันให้ธุรกิจการพิมพ์ปรับตัวให้สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปและเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ โดยครั้งนี้ถือเป็นงานสัมมนา PrintHOW ครั้งที่ 6 ของแคนนอนและเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้ทำหน้าที่เจ้าภาพในการจัดงาน โดยงาน PrintHOW ในปีนี้มุ่งเน้นประเด็นเรื่องการเปลี่ยนผ่านจากการพิมพ์ระบบออฟเซ็ตสู่การพิมพ์แบบดิจิทัล ชวนผู้เชี่ยวชาญในวงการร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเทรนด์การพิมพ์หลังยุคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการของลูกค้า ตลอดจนอธิบายปัจจัยต่าง ๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและเติบโตได้อย่างยั่งยืน อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญคือการแชร์เรื่องราวความสำเร็จของสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ประสบความสำเร็จในการทรานสฟอร์มธุรกิจของสำนักพิมพ์จากระบบออฟเซ็ตเป็นระบบดิจิทัล เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงานสัมมนา งาน PrintHOW Bangkok 2022 ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งพันธมิตรและลูกค้าของแคนนอน รวมถึงตัวแทนจากสมาคมการพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งมาจากทั้งประเทศไทย และเดินทางมาจากเกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา โดยประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพการจัดงานในปีนี้ ด้วยศักยภาพของธุรกิจการพิมพ์ในประเทศและอุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทยที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ งานดังกล่าวยังจัดขึ้นในช่วงเดียวกับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ซึ่งเป็นมหกรรมหนังสือที่ใหญ่ที่สุดของไทย ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้สำรวจความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจการพิมพ์อย่างใกล้ชิดอีกด้วย
มร.ฟิลลิป ชิว ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์แคนนอน โปรดักชั่น พรินท์ติ้ง แคนนอน(สิงคโปร์) เผยว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งสำคัญให้เกิดการทรานสฟอร์มสู่ดิจิทัลในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งร่วมถึงอุตสาหกรรมการพิมพ์ด้วย ทั้งยังชี้ให้เห็นว่าแวดวงการพิมพ์กำลังเผชิญกับความท้าทายเพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ลูกค้ามีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
มร. ปีเตอร์ วูฟ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและรองประธานอาวุโสกลุ่มผลิตภัณฑ์แคนนอน โปรดักชั่น พรินท์ติ้ง อธิบายว่าวงการพิมพ์ต้องหันมาให้ความสำคัญกับการทรานสฟอร์มสู่ระบบดิจิทัลและคำนึงถึงความยั่นยืน เพื่อที่จะเติบโตในโลกที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง ทั้งยังชี้ว่าการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมทัพประสิทธิภาพของทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ ต้องอาศัยทุกความร่วมมือจากทุกภาคส่วน “แคนนอน ทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อดูแลในเส้นทางการทรานสฟอร์มสู่โลกดิจิทัลเป็นไปอย่างราบรื่นและคุ้มค่าการลงทุน เราพร้อมขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจท่ามกลางความท้าทาย ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญอันยาวนานและโซลูชันธุรกิจที่ครบครันของแคนนอน”
มิสมิเคล่า ไซกุส – ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการธุรกิจ และ มร. คริสตอฟ เกาส์ – ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์แคนนอน โปรดักชั่น พรินท์ติ้ง เผยว่าความต้องการงานพิมพ์ในปริมาณน้อย งานพิมพ์ที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการ และระบบการพิมพ์อัตโนมัติ เป็นปัจจัยที่ทำให้ระบบการพิมพ์แบบดิจิทัลเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ และเทคโนโลยีการพิมพ์ระบบอิงค์เจ็ทที่ล้ำสมัยก็สามารถสร้างสรรค์งานพิมพ์จำนวนน้อยที่ผลิตได้อย่างรวดเร็วและคงคุณภาพระดับสูงไว้ได้ พร้อมยังเผยว่า สำนักพิมพ์ชั้นนำในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป เริ่มนำรูปแบบการพิมพ์แบบ “On-demand หรือสั่งซื้อแล้วค่อยพิมพ์” มาใช้มากขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้าน ศาสตราจารย์ ดร. อรัญ หาญสืบสาย ที่ปรึกษาสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ให้เกียรติมาเป็นผู้บรรยายหลักในงาน ได้ร่วมแบ่งปันมุมมองต่อธุรกิจการพิมพ์ในประเทศไทย พร้อมเล่าถึงเทรนด์การพิมพ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ว่า “องค์กรวิจัย Smithers ชี้ว่า 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และประเทศไทย ติดอันดับ 10 ตลาดการพิมพ์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก” นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร. อรัญ ยังได้เผยถึงความท้าทายที่อุตสาหกรรมการพิมพ์ในไทยต้องเผชิญและการใช้ระบบการพิมพ์ดิจิทัลที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว “เรื่องท้าทายหลักของธุรกิจสิ่งพิมพ์ในปัจจุบัน ก็คือ อุตสาหกรรมกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากการผลิตงานในปริมาณมาก สู่การสร้างงานพิมพ์จำนวนน้อยที่ยืดหยุ่นและปรับได้ตามความต้องการของลูกค้า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ธุรกิจต้องคำนึงถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายและประสิทธิภาพในการผลิตให้มากขึ้น เพื่อให้โตได้อย่างมั่นคง”
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Press) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2520 โดยให้บริการผลิตตำรา หนังสือวิชาการระดับอุดมศึกษาและหนังสือทั่วไปในประเทศไทย ด้วยธุรกิจการพิมพ์เป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง ทาง CU Press จึงเล็งเห็นถึงโอกาสในการทรานสฟอร์มสู่การพิมพ์ดิจิทัลเพื่อก้าวนำหน้าเทรนด์ที่กำลังเปลี่ยนอุตสาหกรรม พร้อมปรับธุรกิจให้พร้อมรองรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ศาสตราจารย์ ดร. อรัญ กล่าวว่า “หลังจากที่ CU Press ได้ติดตั้งแท่นพิมพ์ดิจิทัลอิงก์เจ็ต Canon ColorStream 6700 Chroma เราก็สามารถสร้างงานคุณภาพสูงที่ผลิตในจำนวนน้อยด้วยราคาที่คุ้มค่ามากขึ้น และแท่นพิมพ์ดิจิทัลนี้ยังช่วยขับเคลื่อนพันธกิจของสำนักพิมพ์ในการเป็นธุรกิจปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (carbon-neutral) เพราะการใช้หมึก Water-based ระบบการทำงานที่ประหยัดพลังงาน และลดการปล่อยคาร์บอนตลอดทั้งกระบวนการผลิต”
ศาสตราจารย์ ดร. อรัญ ยังทิ้งท้ายว่ารัฐบาลไทยและทั่
วโลก กำลังขอความร่วมมือจากธุรกิจต่
าง ๆ ให้คำนึงถึงความยั่งยื
นในการดำเนินงาน และการพิมพ์ดิจิทัลก็เป็นตัวช่
วยสำคัญในการสร้างสรรค์งานพิมพ์
ที่ทรงประสิทธิภาพ ผลิตได้ในจำนวนน้อย และลดขยะจากการพิมพ์เกิน ในขณะที่ทั่วโลกกำลังดำเนิ
นการเพื่อสร้างโลกที่คำนึงถึงสิ่
งแวดล้อม อุตสาหกรรมการพิมพ์ก็ต้องเร่
งทรานสฟอร์มสู่ระบบดิจิทัลเพื่
อการเติบโตที่อย่างยั่งยืนเช่
นเดียวกัน งานสัมมนา PrintHOW Bangkok 2022 ยังได้พาผู้เข้าร่วมไปเยี่
ยมชมสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย เพื่อให้เหล่าพาร์ทเนอร์และลู
กค้าแคนนอนได้สัมผัสถึงนวั
ตกรรมการพิมพ์ที่ล้ำสมัยที่
ทำให้สำนักพิมพ์สามารถสร้
างสรรค์งานในหลากหลายรูปแบบได้
อย่างรวดเร็ว สำหรับข้อมูลอัปเดตล่าสุดเกี่
ยวกับผลิตภัณฑ์และบริ
การของแคนนอน สามารถเข้าชมได้ที่
https://th.canon
Post Views: 178