วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า ปัจจุบัน CMMU ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านการจัดการ ดำรงวิสัยทัศน์ “Wisdom of the Land in Management Education” มุ่งผลิต “บุคลากรที่มีศักยภาพสูงเพื่อธุรกิจยุคใหม่” ให้สามารถก้าวสู่การเป็นนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ หรือทีมบริหาร หนึ่งในกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนภาคธุรกิจ และองค์กรชั้นนำทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกหน่วยธุรกิจทั้งด้านการบริหาร การตลาด การเงิน ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับนานาชาติ AACSB ที่มีมหาวิทยาลัยเพียง 5% ของโลกเท่านั้น ที่ได้รับการรับรอง โดยในปี 2564 CMMU มุ่งสะท้อนภาพการเป็น “Modern Business School” หรือวิทยาลัยการจัดการที่ทันสมัย และก้าวทันทุกความเปลี่ยนแปลงของโลก ผ่านการผลักดันหลักสูตรที่ทันสมัย เครือข่ายอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ และงานวิจัยแนวใหม่ เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจโลกยุคใหม่ (New Era) อีกทั้งยังพร้อมส่งต่อองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์
รศ. ดร.วิชิตา กล่าวต่อว่า จุดแข็ง “Modern Business School” ของวิทยาลัยจะสะท้อนผ่าน ใน 3 ด้าน ได้แก่
ด้านหลักสูตรให้มีความทันสมัย ก้าวทันทุกเทรนด์การบริหารอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ครอบคลุมหลักสูตรไทย (Thai Program) และหลักสูตรนานาชาติ (International Program) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียน และพร้อมตอบสนองความต้องการของตลาดรอบด้าน ทั้งด้านวิชาการ ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ฯลฯ โดยปัจจุบัน CMMU มี 4 หลักสูตร ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และเข้าใจการบริหารจัดการครบทุกมิติ พร้อมเปิดโลกทัศน์ให้คนธรรมดา กลายเป็นผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารที่มีความสามารถที่ “แตกต่าง โดดเด่น และ เก่งรอบด้าน”
โดยล่าสุด หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ (หลักสูตรไทย) เตรียมเปิดรับนักศึกษาปีแรก ในปีการศึกษา 2564 ภายใต้ความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรจากหลายภาคส่วนในอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ ที่มุ่งผลิตบุคลากรในอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ ให้มีความรู้ทางด้านการจัดการและมีทักษะการเป็นผู้บริหารชั้นนำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสุขภาพสู่ธุรกิจสุขภาพแถวหน้าระดับประเทศ
สำหรับด้านที่ 2 ได้แก่ด้านเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ ประกอบด้วย อาจารย์ และศิษย์เก่า ที่ล้วนมีความเชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ มาถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ ด้วยข้อมูลที่ทันสถานการณ์ แม่นยำ พร้อมรวบรวมตัวอย่างงานธุรกิจจากองค์กรชั้นนำทั่วโลกมาแลกเปลี่ยนให้ผู้เรียนเปิดมุมมองกว้างขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาองค์ความรู้และปรับใช้กับงานหรือธุรกิจของตนเอง เพราะตระหนักดีว่า ภาคธุรกิจในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นในบทบาทสถาบันการศึกษา จึงต้องเป็นจุดเริ่มต้นเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังได้ปรับแผนการศึกษา เพิ่มทักษะสำคัญให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ หาโอกาส และปรับเปลี่ยนความคิดไปตามบริบทหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ (Cognitive Flexibility) พร้อมทั้งแนวคิดการจัดการตนเอง (Self-Management) ให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริงนอกห้องเรียน นอกเหนือจากทักษะพื้นฐานการรู้คิด (Cognitive Skills) ที่จะพัฒนาไปตามประสบการณ์การใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล
และสุดท้ายคือ ด้านที่ 3 งานวิจัยธุรกิจ วิทยาลัยมีนโยบายในการผลักดันให้นักศึกษา อาจารย์ สร้างสรรค์งานวิจัยขึ้นใหม่ เพื่อสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและเป็นผู้นำพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลงานวิจัยจากนักศึกษาที่ได้รับความนิยมมีจำนวนมาก อาทิ งานวิจัยเรื่อง “Marketing in the Uncertain World การตลาดของคนอยู่เป็น” รวบรวมปัจจัยหลายด้านที่ทำให้คนไทยเกิดความกังวลและรับรู้ถึงความไม่แน่นอนทั้ง โควิด-19 ปัญหาฝุ่นควัน ฯลฯ งานวิจัยเรื่อง “Momentum Marketing เจาะใจคนชอบแชร์ จุดกระแสการตลาด” งานวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสร้างภูมิคุ้มกันให้ธุรกิจ (VACCINES Strategy) เป็นต้น
รวมถึงความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับนานาชาติ อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยทั่วโลก, Double Degree ร่วมกับ Macquarie University ประเทศออสเตรเลีย, หลักสูตร Strategy and Innovation for Business in Asia (SIBA) สำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยความร่วมมือกับ MIT, Sloan School of Management ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น เพื่อขยายช่องทางการศึกษาในการเรียนรู้ข้อมูลทั่วโลกแก่ผู้เรียน และมีข้อได้เปรียบจากการเรียนรู้วัฒนธรรมในองค์กรที่หลากหลายทั้งในไทยและต่างประเทศก่อนการลงสนามในโลกธุรกิจจริง
โดยในปี 2564 ยังมีการพัฒนาการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ด้วยกลยุทธ์ “Inside Out – Outside In” ตอบโจทย์ภาคธุรกิจในปัจจุบันและพร้อมรับความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต โดย Inside Out มุ่งเน้นสร้างการเรียนรู้เฉพาะบุคคล ให้ผู้เรียนนำศักยภาพของตนเองมาพัฒนาใช้ในการเรียนรู้ปัจจุบันตลอดจนในอนาคต ท่ามกลางบรรยากาศภายในวิทยาลัยที่มีความหลากหลาย ด้วยอาจารย์และนักศึกษาที่มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ขณะที่ Outside In เน้นเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน รู้จักระดมความคิดเห็น รับฟังเสียงผู้อื่น และขยายมุมมองต่อสิ่งที่ทำในบทบาทคนภายนอกทุกภาคส่วน อาทิ ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมทั้งเสริมสร้างพันธมิตรจากทั้งในและต่างประเทศ ควบคู่การสอนของอาจารย์แบบพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamic) เพื่อมอบประสบการณ์การเรียนรู้จากเคสจริงแก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การเรียนการสอน (Education) การทำวิจัย (Research) และการบริการวิชาการ (Academic Service) ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลได้ที่ https://admission.cm.mahidol.ac.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-206-2000