สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดประกวด “ผลงานประดิษฐ์คิดค้น” เพื่อขอรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566 โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานฯ และมีนายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เข้าร่วมในพิธีเปิดงานฯ ในวันที่ 19 กันยายน 2565 ณ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นเวทีให้นักประดิษฐ์ นักวิจัย และเยาวชนนำเสนอผลงานต่อสาธารณชน


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ก

                                            โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานฯ

 

 

                                             นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เข้าร่วมในพิธีเปิดงานฯ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มีบทบาทและหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม จึงได้มีนโยบายในการส่งเสริมและสร้างคุณค่างานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม โดยจัดให้มีพิธีมอบ “รางวัลการวิจัยแห่งชาติ” ขึ้นเป็นประจำทุกปี

วช. เดินหน้าประกวด “ผลงานประดิษฐ์คิดค้น” สร้างโอกาสและแรงจูงใจ แก่นักวิจัย และนักประดิษฐ์ไทย ในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อขอรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ปี 66

โดยแบ่งรางวัลออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับนักวิจัยและนักประดิษฐ์ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาไปสู่การประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อต่อยอด ไปสู่นวัตกรรมทางเศรษฐกิจหรือนวัตกรรมทางสังคม ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้มี “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้าง

วช. เดินหน้าประกวด “ผลงานประดิษฐ์คิดค้น” สร้างโอกาสและแรงจูงใจ แก่นักวิจัย และนักประดิษฐ์ไทย ในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อขอรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ปี 66

“เศรษฐกิจแข็งแรง ชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” โดยใช้การวิจัย การประดิษฐ์ และนวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการนำพาประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0กิจกรรม “งานประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น” เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาให้รางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในส่วนของรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น เป็นเวทีที่ให้นักประดิษฐ์ได้นำผลงานการประดิษฐ์คิดค้นออกเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักประดิษฐ์ไทยในการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม และเพื่อให้คณะทำงานพิจารณาประเมินรางวัลฯ ได้ซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานเพิ่มเติมซึ่งจะทำให้นักประดิษฐ์ได้มีโอกาสรับฟังข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนพูดคุยประสบการณ์เพื่อนำไปพัฒนาผลงานต่อไป

วช. เดินหน้าประกวด “ผลงานประดิษฐ์คิดค้น” สร้างโอกาสและแรงจูงใจ แก่นักวิจัย และนักประดิษฐ์ไทย ในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อขอรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ปี 66

สำหรับการจัดกิจกรรม “งานประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น” ประจำปีงบประมาณ 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 20 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤกษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 ศูนย์จัดการความรู้การวิจัย ชั้น 1 อาคาร วช. 1 และบริเวณโถง ชั้น 1 อาคาร วช. 4 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีผลงานเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการ จำนวนกว่า 140 ผลงาน จาก 9 สาขาวิชาการ ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย สาขาปรัชญา สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ สาขาการศึกษา และสาขาสังคมวิทยา วช. เดินหน้าประกวด “ผลงานประดิษฐ์คิดค้น” สร้างโอกาสและแรงจูงใจ แก่นักวิจัย และนักประดิษฐ์ไทย ในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อขอรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ปี 66

โดยเป็นผลงานจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมประกวด จำนวนกว่า 30 แห่ง ตัวอย่างผลงานเข้าร่วมจัดแสดงฯ อาทิ MagikTuch – ระบบลิฟต์แบบไร้สัมผัส, แผ่นแปะแผลจากเมือกของเมล็ดแมงลักที่มีส่วนผสมของสารสกัดมาตรฐานบัวบก, เครื่องอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้, ตู้ระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน, เซนเซอร์สำหรับตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็ง, อุปกรณ์คัดเลือกสายพันธุ์กัญชาแบบมือถือ, และหุ่นยนต์ทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูรูปแบบใหม่ เป็นต้น