การประชุมสุดยอดประจำปีซึ่งจัดขึ้นพร้อมกับงานประชุมสุดยอดระดับนานาชาติครั้งแรกแสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตและคลาวด์ในภาคอุตสาหกรรมของเทนเซ็นต์ ในการช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จทั่วโลกในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล  เทนเซ็นต์ (Tencent) เปิดตัวการประชุมสุดยอดดิจิทัลอีโคซิสเต็มระดับโลก (Global Digital Ecosystem Summit) เป็นครั้งแรกที่งานประชุมสุดยอดดิจิทัลอีโคซิสเต็ม (Digital Ecosystem Summit) ประจำปีซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน และ 1 ธันวาคม ณ เมืองเซินเจิ้น ภายใต้ความพยายามที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับองค์กรในต่างประเทศ

ภายในงานนี้ ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มธุรกิจคลาวด์และอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Cloud and Smart Industries Group หรือ CSIG) ของเทนเซ็นต์ ตลอดจนพันธมิตรทางธุรกิจเชิงกลยุทธ์ ได้มาร่วมกันแบ่งปันวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตของคลาวด์ การหลอมรวมดิจิทัลเข้าสู่โลกความจริง (Immersive Convergence) เว็บ 3.0 และรายละเอียดด้านกลยุทธ์อื่น ๆ เพื่อเร่งการเติบโตในระดับนานาชาติ ไปพร้อมกับบอกเล่าเรื่องราวความสำเร็จที่หลากหลายในการผสมผสานโซลูชันคลาวด์เข้าสู่แวดวงต่าง ๆ ทั้งการเล่นเกม ฟินเทค การสื่อสารทางสังคม ความบันเทิง อีคอมเมิร์ซ และอื่น ๆ

อินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนความสำเร็จร่วมกันในหลากหลายอุตสาหกรรม

เนื่องด้วยเทนเซ็นต์มุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน คุณดอว์สัน ตง (Dowson Tong) รองประธานบริหารอาวุโสของเทนเซ็นต์ และประธานของ CSIG ได้เน้นย้ำถึง “การหลอมรวมดิจิทัลเข้าสู่โลกความจริง” ในฐานะกลยุทธ์และโร้ดแมปที่สำคัญสำหรับอนาคตของบริษัท คุณดอว์สัน กล่าวว่า “การหลอมรวมกันระหว่างโลกความจริงและโลกเสมือนกำลังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเรา และด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและโซลูชันการเชื่อมต่อ เราจะสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับองค์กรต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางดิจิทัลได้”  เทนเซ็นต์เป็นหัวหอกในการผลักดันวิวัฒนาการอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม พัฒนาโซลูชันเพื่อยกระดับประสิทธิภาพองค์กรอย่างสร้างสรรค์ และสร้างมูลค่าทางธุรกิจ วันนี้ วีคอม (WeCom) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการสื่อสารระดับองค์กรของเทนเซ็นต์ ได้เชื่อมต่อองค์กรมากกว่า 10 ล้านแห่งเข้ากับผู้ใช้งานเว่ยซิน (Weixin) หรือวีแชท (WeChat) กว่า 500 ล้านคน นอกจากนี้ เครื่องมือการประชุมผ่านคลาวด์ของเทนเซ็นต์อย่างเทนเซ็นต์ มีทติ้ง (Tencent Meeting) หรือวูฟ มีทติ้ง (VooV Meeting) ยังรองรับผู้ใช้งานมากกว่า 300 ล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ในขณะที่บริการ อีซิกเนเจอร์ซึ่งขับเคลื่อนด้วยบล็อกเชน รองรับผู้ใช้งานหลายล้านคนในการเซ็นสัญญาอย่างสมบูรณ์ภายในเวลาเพียง 15 วินาที ไม่เพียงเท่านี้ นักพัฒนามากกว่า 3 ล้านคนยังใช้งานเทนเซ็นต์ คลาวด์เบส (Tencent CloudBase) ในการสร้างมินิโปรแกรม จัดทำเว็บแอปพลิเคชัน และพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ

อีโคซิสเต็มพันธมิตรระดับโลก สร้างมูลค่าทางธุรกิจร่วมกัน

เมื่อบริษัทย่างเข้าสู่ปีที่ 7 ของการดำเนินงานในตลาดระดับนานาชาติ เทนเซ็นต์ คลาวด์ ก็ได้สร้างความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ในการสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ ในการเติบโตทั่วโลก ตลอดจนการแผ่ขยายธุรกิจเข้ามายังจีน ซึ่งครอบคลุมถึงบริษัทระดับฟอร์จูน โกลบอล 500 อย่างบีเอ็มดับบลิว กรุ๊ป (BMW Group) ซาโนฟี่ (Sanofi) และโนวาร์ตีส (Novartis) ปีนี้ เทนเซ็นต์ คลาวด์ ได้เปิดตัวโครงการพันธมิตรระดับโลกโครงการแรก ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาอีโคซิสเต็มพันธมิตรทั่วโลกให้แข็งแกร่งและหลากหลายมากขึ้น ซึ่งครอบคลุมการมีพันธมิตรด้านช่องทางสื่อสาร พันธมิตรด้านเทคโนโลยี พันธมิตรด้านการบริการและการให้คำปรึกษาที่มากขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล จวบจนปัจจุบัน เทนเซ็นต์ได้สร้างโซลูชันมาแล้วมากกว่า 400 โซลูชัน ซึ่งได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับพันธมิตรมากกว่า 10,000 ราย เพื่อช่วยเหลือลูกค้า 2 ล้านคนในหนทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ทั้งนี้ อีโคซิสเต็มพันธมิตรของเทนเซ็นต์ช่วยสร้างรายได้มากถึง 1 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด  เทนเซ็นต์ คลาวด์ ยังคงเล็งเห็นถึงช่องทางในการในเติบโตของบริษัท และตอนนี้ ทางบริษัทกำลังหันเหทิศทางการขยายธุรกิจไปยังภูมิภาคลาตินอเมริกาและตะวันออกกลาง โดยปัจจุบัน เทนเซ็นต์ คลาวด์ กำลังดำเนินกิจการใน 5 ภูมิภาคและตลาดหลัก ๆ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ยุโรป และทวีปอเมริกา

คุณตงเสริมว่า “ในภายภาคหน้า เราจะยังคงเดินหน้าลงทุนในตลาดสำหรับธุรกิจคลาวด์และซอฟต์แวร์ ด้วยการขยายความครอบคลุมในโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศ พัฒนาการบูรณาการในท้องถิ่นและเครือข่ายพันธมิตรการบริการ ตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของเราที่เกี่ยวกับคลาวด์ วิดีโอ AI ฐานข้อมูล และความปลอดภัยของเครือข่ายสำหรับตลาดต่าง ๆ ในระดับนานาชาติ ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในเป้าหมายในการสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการแข่งขันและธุรกิจเทคโนโลยีที่ยั่งยืน เพื่อให้บริการสอดรับกับผู้บริโภคและพันธมิตรจากทั่วโลก ในเวลาที่โลกกำลังโอบรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล”  เมื่อปีที่แล้ว เทนเซ็นต์ คลาวด์ ได้เปิดตัวศูนย์ข้อมูลใหม่ 6 แห่งในกรุงเทพ แฟรงก์เฟิร์ต ฮ่องกง จาการ์ตา โตเกียว และเซาเปาโล ทำให้ตอนนี้เทนเซ็นต์ คลาวด์ มีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ 26 แห่ง ใน 5 ทวีป และ 70 โซนบริการ รวมถึงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลระดับเอกซะไบต์ ขณะที่เครือข่ายการจัดส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตมีการติดตั้งโหนดเพิ่มความเร็ว (acceleration node) 2,800 โหนดทั่วโลก

"เทนเซ็นต์" ชูวิสัยทัศน์และกลยุทธ์การเป็นผู้นำคลื่นลูกใหม่ของคลาวด์ระดับโลก ณ การประชุมสุดยอดดิจิทัลประจำปี

คลื่นลูกใหม่ของคลาวด์ ส่งเสริมศักยภาพพันธมิตรในยุคเว็บ  3.0 

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เทนเซ็นต์ คลาวด์ เป็นที่รู้จักอย่างดีด้านความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคลาวด์และประสบการณ์หลายปีในวงการเกม โซลูชันเสียงและภาพเคลื่อนไหว เทนเซ็นต์ คลาวด์ มอบรากฐานที่แข็งแกร่งและไว้วางใจได้ให้กับธุรกิจต่าง ๆ ในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เว็บ 3.0

คุณโพชู เหยิง (Poshu Yeung) รองประธานอาวุโสของเทนเซ็นต์ คลาวด์ อินเตอร์เนชันแนล (Tencent Cloud International) ชี้ให้เห็นว่า พันธมิตรระดับโลกที่กำลังแสวงหาการผสมผสานระหว่างการดำเนินงานและบริการของตนเอง เพื่อปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เว็บ 3.0 มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเขาเสริมว่า “ตั้งแต่การนำเสนอโครงสร้างพื้นฐานระดับไฮเปอร์สเกล ไปจนถึงการสร้างร้านค้าแบบครบวงจรสำหรับโซลูชันคลาวด์ เรามีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนเว็บ 3.0 นำเทคโนโลยีที่สำคัญ ๆ มาใช้งาน เช่น อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) เทนเซ็นต์ เรียลไทม์ คอมมูนิเคชัน (TRTC) เทคโนโลยีโลกเสมือน (Extended Reality) เทคโนโลยีโต้ตอบแบบพหุสัมผัสจากระยะไกล เพื่อเชื่อมโยงโลกเสมือนและโลกความจริงเข้าด้วยกันได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น”

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในระหว่างการประชุม เทนเซ็นต์ได้แบ่งปันวิธีการที่ทางบริษัทใช้เพื่อให้การสนับสนุนหุ้นส่วนและลูกค้าจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเส้นทางการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยยกตัวอย่างบริษัทอย่างแบงก์ นีโอ คอมเมิร์ซ (Bank Neo Commerce หรือ BNC) เอสทีเทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้า เซ็นเตอร์ส (STTelemedia Global Data Centres) มิลเลเนียม เทคโนโลยี เซอร์วิสเซส (Millennium Technology Services หรือ MTS) เฮลิออส อินฟอร์มาติกา นูซันตารา (Helios Informatika Nusantara หรือ Helios) คินเดอร์เวิร์ล (KinderWorld) และบริษัทอื่น ๆ  นอกจากนี้ คุณกฤตธี มโนลีหกุล รองประธานเทนเซ็นต์ คลาวด์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังช่วยประกาศก้องความสามารถของเทนเซ็นต์ คลาวด์ ในฐานะผู้ให้บริการด้านดิจิทัลที่สามารถ “มอบเทคโนโลยีคลาวด์อัจฉริยะที่ปลอดภัยและไว้วางใจได้ เพื่อสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ ในการยกระดับความคล่องตัวของธุรกิจ” คุณกฤตธี เสริมว่า “เว็บ 3.0 เป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่น่าจับตามอง และเป็นสิ่งที่ต่อยอดมาจากบริการอินเทอร์เน็ตของเทนเซ็นต์”

ตัวอย่างเช่น นับตั้งแต่ที่แบงก์ นีโอ คอมเมิร์ซ ธนาคารดิจิทัลที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในอินโดนีเซีย นำเทคโนโลยีเทนเซ็นต์ คลาวด์ ดิสทริบิวเต็ด ดาต้าเบส (Tencent Cloud Distributed Database หรือ TDSQL) มาใช้งาน ทำให้ในตอนนี้ธนาคารสามารถประมวลผลการทำธุรกรรมได้ 2 ล้านรายการและการเบิกจ่ายสินเชื่อได้ 150,000 รายการต่อวัน สิ่งนี้ช่วยมอบการสนับสนุนที่ทรงพลังและไว้วางใจได้มากกว่า 50% ของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้งาน BNC ในแต่ละเดือน และผู้ใช้งาน 20 ล้านคน ตลอดจนบัญชีธนาคาร 35 ล้านบัญชีในแต่ละปี

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เอสทีเทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้า เซ็นเตอร์ ได้ร่วมมือกับเทนเซ็นต์ คลาวด์ เพื่อนำเสนอโซลูชันการก่อสร้างอัจฉริยะสำหรับอาคารเอสทีที แบงค็อก 1 (STT Bangkok 1) ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลแบบเสรี (carrier-neutral) ในดาต้าเซ็นเตอร์แคมปัส STT Bangkok บนถนนหัวหมาก หนึ่งในย่านธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ เทคโนโลยีเทนเซ็นต์ คลาวด์ เวลลิง (Tencent Cloud Weiling ) ทำให้อาคารเอสทีที แบงค็อก 1 กลายเป็นอาคารอัจฉริยะหลังแรกของไทยที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีอินสตาวิว (Instavue) และบริการรักษาความปลอดภัยฐานข้อมูล (database security service หรือ DBSS) และระบบจัดการภาพ 3 มิติ เรย์ดาต้า 3D (Raydata 3D) ทำให้ตอนนี้อาคารหลังนี้สามารถรองรับการส่งต่อข้อมูลได้มากถึง 20 เมกะวัตต์ และไต่ระดับเพิ่มขึ้นได้ถึง 40 เมกะวัตต์ของความจุไอทีทั้งหมด เพื่อรองรับความต้องการในการขยายธุรกิจของลูกค้า

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.tencentcloud.com