อพท. ตั้งเป้าปี 2564 สร้างชุมชนต้นแบบตามมาตรฐานเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก 6 แห่ง
ใน 6 พื้นที่พิเศษ โดยชุมชนที่พัฒนาแล้วเร่งผลักดันเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป้าหมายอย่างน้อย 8 ชุมชน ด้านภารกิจยกระดับแหล่งท่องเที่ยวสู่สากล จับมือองค์กรยูเนสโกใช้เครื่องมือ VMAT บริหารจัดการนักท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวเป็นหน่วยงานแรกของไทย พร้อมเล็งผลักดันเมืองเก่าสุโขทัย ขึ้นแท่นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุด 100 อันดับแรกของโลก หรือ TOP 100

อพทวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564: นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. จัดแถลงนโยบายและแผนการดำเนินงานประจำปี พ.ศ.2564 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลสำเร็จการดำเนินการในปีที่ผ่านมา แนวนโยบายและแผนการดำเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยวในปัจจุบันและอนาคต ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ) เพื่อสร้างความยั่งยืนในภาคการท่องเที่ยวให้เกิดความสมดุลในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่แห่งท้องถิ่นให้ดีขึ้น ซึ่งผู้อำนวยการ อพท. ได้กล่าวว่าในปี 2564 อพท. จะยังคงดำเนินการบริหารงานที่ยึดมั่นในปรัชญาการทำงานแบบ Co-creation คือ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์” ต่อไป และจะเพิ่มอีก 1 ร่วม คือร่วมเป็นเจ้าของ หรือ Co-Own เพื่อให้ทุกภาคส่วนเกิดความหวงแหนร่วมกัน โดยมีจุดเน้นการดำเนินงานดังนี้อพท

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.

  1. ภารกิจด้านการประกาศพื้นที่พิเศษ อพท.อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และเตรียมประกาศให้เป็นพื้นที่พิเศษแห่งใหม่ 3 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พื้นที่จังหวัดเชียงราย และพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า
  2. ภารกิจด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ มุ่งเน้นพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อสร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria: GSTC) ในพื้นที่พิเศษจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ตำบลเกาะหมาก จ.ตราด พื้นที่ตำบลนาเกลือ จ.ชลบุรี พื้นที่ตำบลเมืองเก่า จ.สุโขทัย พื้นที่ตำบลเชียงคาน
    จ.เลย พื้นที่ตำบลในเวียง จ.น่าน และพื้นที่เทศบาลตำบลอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป้าหมายสำคัญในปี 2564 คือ อพท.
    จะผลักดันให้พื้นที่ตำบลเมืองเก่า จ.สุโขทัย ให้เป็น Global Sustainable Destinations Top 100 หรือแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนที่ดีที่สุดในโลก 100 แห่ง
  3. ภารกิจด้านการขับเคลื่อนเมืองตามแนวทางเครือข่ายเมืองท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (The UNESCO Creative Cities Network-UCCN) 2 แห่ง ได้แก่ จ.น่าน และ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีเป้าหมายดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ประจำปี 2564 ให้ได้ร้อยละ 75 และจัดทำใบสมัครในการเสนอเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์
    ขององค์การยูเนสโกอพท.
  4. ภารกิจด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism: CBT) โดยการ“สร้างต้นแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน” จากการใช้เกณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน หรือ CBT Thailand เพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันโดยมีเป้าหมายในการผลักดันชุมชนเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ได้อย่างน้อย 8 ชุมชน
  5. นอกเหนือจากภารกิจภายในประเทศแล้ว อพท. ยังได้จับมือกับหน่วยงานชั้นนำในระดับโลก เพื่อต่อยอดความสำเร็จสู่การเป็นต้นแบบในระดับสากลในหลายๆ ด้าน อาทิ มีการลงนาม MOU ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและสมาคมภาคเอกชนระดับนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นองค์การการท่องเที่ยวโลก หรือ United Nation World Tourism Organization: UNWTO / องค์การยูเนสโก (UNESCO) / Pacific Asia Travel Association (PATA) / สมาพันธ์การท่องเที่ยวอาเซียน: ASEAN Tourism Association (ASEANTA) และ GSTC แต่สำหรับแนวทางในระยะต่อไปถือว่าน่าตื่นเต้นที่ อพท. จะได้ก้าวสู่การเป็นผู้นำในการริเริ่มโครงการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกับประเทศต่างๆ ทั้งในระดับอาเซียน เอเปค และสหภาพยุโรป ซึ่งในปี 2564 นี้ ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของ อพท. ที่สามารถไปคว้าทุนสนับสนุนจากกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนอาเซียน กองทุนสนับสนุนจากประเทศตุรกี กองทุนสหภาพยุโรปหรือ EU
    ซึ่งต่อไป อพท. เองจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติในอีกหลายรายการนับจากนี้ ซึ่งจะช่วยยกระดับภาพลักษณ์
    การท่องเที่ยวของประเทศไทยสู่สายตาประชาคมโลกภายหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายลงได้อย่างแน่นอน

อพท.จับมือองค์กรยูเนสโก UNESCO ใช้เครื่องมือ VMAT บริหารจัดการนักท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวได้เป็นหน่วยงานแรกของไทย

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. ได้กล่าวย้ำว่า อพท. มีแนวทางที่จะยกระดับภารกิจของหน่วยงานสู่สากลโดยร่วมมือกับองค์การยูเนสโก UNESCO เกี่ยวกับเครื่องมือการประเมินการจัดการนักท่องเที่ยว (Visitor Management Assessment Tool: VMAT) ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานแห่งแรกของประเทศไทยเลยที่นำเครื่องมือนี้
มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกและพื้นที่พิเศษ อพท. และจะมีการต่อยอดไปถึงระดับอาเซียน
ในอนาคตและในปี 2564 นี้ สำนักงานใหญ่ขององค์การยูเนสโกที่กรุงปารีส ได้เลือกให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ได้เรียนรู้เครื่องมือตัวใหม่ที่องค์การยูเนสโกคิดค้นขึ้นเพื่อบริหารจัดการแหล่งมรดกโลกและแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน ซึ่ง อพท. ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการฝึกอบรมในระดับประเทศไปเมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา โดยหลังจากนี้ อพท. จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในระดับอาเซียนในช่วงปลายปี พ.ศ.2564 และระดับเอเปค ในปี พ.ศ.2565 เพื่อให้ประเทศต่างๆ ได้เห็นถึงความสำเร็จของประเทศไทยในการเป็นต้นแบบด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั่นเอง

อพท.สำหรับโปรแกรม VMAT เป็นเครื่องในการสร้างแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวซึ่งมีประโยชน์ในการนำมาใช้ คือ เพิ่มพูนความเข้าใจและสามารถติดตามผลและเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของการจัดการนักท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวได้ดีขึ้น สร้างกิจกรรมที่สมเหตุสมผล ปรับปรุงการสื่อสารกับนักท่องเที่ยว เสริมสร้างบุคคลและสถาบัน และต่อยอดความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ VMAT จัดเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์การพัฒนาในอนาคตเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานในแต่ละพื้นที่ และให้ความสำคัญกับระบบการจัดการนักท่องเที่ยวที่มีบริบทสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ดังนั้นเพื่อประโยชน์ต่อการอนุรักษ์คุณค่าของแหล่งมรดกและนำไปสู่การบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้ โดย อพท.จะนำเข้าข้อมูลภายในพื้นที่เพื่อประเมินประสิทธิภาพภายใต้เป้าหมาย 4 ด้านที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้แก่ การบริหารและการจัดการนักท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ
ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนทางสังคม และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ จากนั้นจึงประเมินค่าเป็นคะแนน
เพื่อสร้างฐานข้อมูลและพัฒนากลยุทธในการวางแผนปฏิบัติการและกระบวนการทำงานของ อพท. ต่อไป