การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แถลงแผนเพื่อสื่อสารทิศทางและแนวทางการส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวของ ททท. ประจำปี 2566 ในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid Meeting) โดยมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกล่าวเปิดงานฯ พร้อมกันนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ ททท. คณะกรรมการ ททท. ผู้บริหาร ททท. และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ให้เกียรติร่วมงาน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ด ททท. ย้ำเดินหน้า “พลิกฟื้น” ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยทั้งระบบ วางกลยุทธ์กระตุ้นความต้องการเดินทาง (Drive demand) สร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมายและทรงคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว (Meaningful Travel) ควบคู่ไปกับการต่อยอดพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (Shape supply) มุ่งสู่ความสมดุลทุกมิติ พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน (High value and sustainability) ตั้งเป้ารายได้ปี 2566 รวม 2.38 ล้านล้านบาท (Best Case Scenario)
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ปี 2566 ที่กำลังจะมาถึง จะเป็นปีแห่งการเริ่มต้นและพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย โดย ททท. กำหนดทิศทางการตลาดให้สอดคล้องกับแผนวิสาหกิจองค์กร ททท. พ.ศ.2566 – 2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ “ททท. เป็นผู้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยในการสร้างประสบการณ์ทรงคุณค่ามุ่งสู่ความยั่งยืน” เตรียมยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูในทุกมิติ ตาม 3 วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์หลัก (Strategic Objective) ได้แก่ Drive Demand : มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพอย่างยั่งยืน Shape Supply : สร้างคุณค่าและยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผ่านการสร้างระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวใหม่ (New Tourism Ecosystem) และ Thrive for Excellence : ยกระดับองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูง มุ่งสู่การเป็น Data Driven Organization เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด สู่หมุดหมายของการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยเปลี่ยนผ่านสู่ High Value & Sustainable Tourism อย่างแท้จริง โดย ททท. จะกระตุ้นความต้องการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติ (Drive demand) สร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมายและทรงคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว (Meaningful Travel) ตามแคมเปญการสื่อสารต่างประเทศ Visit Thailand Year 2022-2023 : Amazing New Chapters ด้วยเมนูประสบการณ์ A-Z และผสมผสาน Soft Power of Thailand (5F : 4M คือ Food Film Fashion Festival Fight Music Museum Master Meta ) และ “เที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม” สำหรับแคมเปญการสื่อสารในประเทศ ควบคู่ไปกับการปรับ ต่อยอด และพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (Shape supply) สร้างระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวใหม่ (New Tourism Ecosytem) ที่สมดุลใน 4 มิติ (4Ws) ทั้งด้านเศรษฐกิจ (Economic Wealth) สังคม (Social Wellbeing) สิ่งแวดล้อม (Environmental Wellness) และเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์ (Human Wisdom) รวมทั้ง บูรณาการความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทุกภาคส่วน (Collaborative partnership) ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เพื่อให้สอดรับกับสภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันและความท้าทายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ เพื่อปักหมุดหมายการท่องเที่ยวของไทย ยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน (High value and sustainability)
ทั้งนี้ ปี 2566 นับเป็นปีแห่งความท้าทายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่บทต่อไปอย่างแข็งแรงอีกครั้ง ในตลาดต่างประเทศ ททท. ยังให้ความสำคัญกับการ Save Partner โดยเฉพาะธุรกิจสายการบิน เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากการเพิ่มความจุที่นั่ง (Seat Capacity) โดยดึงฐานลูกค้าเดิมในพื้นที่ตลาดหลักที่นักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถออกเดินทางท่องเที่ยวได้อย่างอิสระตามปกติและสามารถออกเดินทางได้ทันที โดยมุ่งกระตุ้นความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มคุณภาพกระแสหลัก อาทิ กลุ่ม Millennials กลุ่ม Gen X และ กลุ่ม Silver-Age-People (SAP) และเจาะขยายฐานตลาดกลุ่มความสนใจพิเศษโดยเฉพาะ กลุ่ม Health & Wellness กลุ่มท่องเที่ยวเชิงกีฬา กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เที่ยวอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงกลุ่มตลาดเฉพาะใหม่ๆ อาทิ กลุ่ม Digital nomad และ กลุ่ม Telework ซึ่ง ททท. จะปรับสมดุลโครงสร้างตลาด ผ่านการส่งเสริมตลาดแบบ Less for more เพื่อมุ่งขยายตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ
สำหรับตลาดระยะไกล (Long-Haul Markets) ซึ่งถือเป็นตลาดความหวังของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยโดย ททท. มองว่า ปี 66 จะเป็น Time is the New Currency ที่จะแสวงหากลุ่มตลาด (Segment) ที่มีเวลาพักผ่อนและซึบซับประสบการณ์ท่องเที่ยวใหม่ๆ ในประเทศไทย อาทิ กลุ่ม Health & Wellness, Family with Kids, Active Senior และ Telework ซึ่ง ททท. จะส่งเสริมการตลาดใน 2 แนวทาง ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ผสมผสานกลยุทธ์ City Marketing โดยแสวงหาความร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำในกลุ่มสินค้า Lifestyle สินค้าสุขภาพและความงาม สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อพร้อมจ่าย รวมทั้งมอบสิทธิพิเศษแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และ 2) การเปิดตลาดเชิงพื้นที่ใหม่ ๆ สร้างการรับรู้และส่งเสริมตลาดในประเทศใหม่ เช่น ซาอุดิอาระเบีย ซึ่ง ททท. เล็งเห็นโอกาสในการผลักดันให้เกิดการขยายตัวทั้งในด้านจำนวนและรายได้ และขยายพื้นที่ไปเมืองรองในตลาดเดิม เน้นไปที่ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นฐานตลาดเดิมของประเทศไทย และจะขยายพื้นที่ส่งเสริมตลาดให้ครอบคลุมเมืองรองขนาดใหญ่ อาทิ Portland (Oregon)/ Salt Lake City (Utah) โดยร่วมกับพันธมิตรสายการบิน Delta เปิดบริการบินในพื้นที่ตอนกลางของตลาดสหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมการขายแพ็กเกจท่องเที่ยวไทย
ขณะที่ ตลาดระยะใกล้ (Short-Haul Market) ททท. จะมุ่งสร้าง The Great Resumption ผ่าน กลยุทธ์ 2Q และ 5 News กล่าวคือ Quick Win ด้วยการฟื้นคืนฐานตลาดกลุ่มกระแสหลัก เจาะกลุ่มคุณภาพ กระตุ้นกลุ่ม Revisit และ Quality มุ่งเพิ่มจำนวน ความถี่และกระตุ้นการใช้จ่ายของกลุ่มความสนใจพิเศษ อาทิ กลุ่ม Health & Wellness, Wedding and Honeymoon Sport Tourism และ Luxury และ 5 News ประกอบด้วย New segment เจาะกลุ่มตลาดศักยภาพกลุ่มใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มเติบโต New area เจาะพื้นที่ตลาดใหม่ New partner ร่วมมือกับคู่ค้าพันธมิตรรายใหม่ New infrastructure ใช้ประโยชน์จากการคมนาคมรูปแบบใหม่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และ New way เสนอการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ชูเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการส่งเสริมการตลาดตอกย้ำความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี และผลักดันการเพิ่มโอกาสในการเดินทางเข้าถึงประเทศไทยทั้งการเดินทางทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยทางบกจะดึงนักท่องเที่ยวเดินทางเชื่อมโยงข้ามแผ่นดินจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซียและจีน ส่วนทางอากาศ จะผลักดันการเพิ่มจำนวนที่นั่งบนเครื่องบินจากตลาดระยะใกล้ให้กลับมามากกว่าร้อยละ 80 ของปี 2562 และจะมุ่งพลิกโฉม เปลี่ยนมุมมอง สร้างภาพจำใหม่ให้ประเทศไทย เพื่อให้เป็น The Great Resumption ของตลาดต่างประเทศอย่างจริงจัง
สำหรับตลาดในประเทศ ททท. จะกระตุ้นความต้องการเดินทางของคนไทย สอดรับกับแคมเปญสื่อสาร “เที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม” กำหนดกลยุทธ์ REAL ประกอบด้วย Responsible Tourism, Extra-ordinary Experience, Avantgarde Marketing และ Less for more Economy ต่อยอดทิศทางส่งเสริมตลาด 5 ภาค เน้นพาเที่ยวเมืองไทยอย่างอบอุ่น เสนอแคมเปญ “365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทย…เที่ยวได้ทุกวัน” ชูความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ของแต่ละภาค ได้แก่ ภาคเหนือ เสิร์ฟประสบการณ์ท่องเที่ยวสัมผัส “เสน่ห์วันวานเมืองเหนือ” กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงภายในภูมิภาค เจาะกลุ่มครอบครัวที่มีหลายช่วงวัย (Multi-Gen Family) ภาคกลาง พาอินเทรนด์กระแสท่องเที่ยวภาคกลางด้วยเมนูประสบการณ์ใหม่ “Trendy C2” เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen-Y และ Gen-Z ภาคตะวันออก พาชิลล์ๆ ซึมซับประสบการณ์ “Story สาย สบาย” ด้วยสินค้าท่องเที่ยวเชิงอาหารควบคู่สินค้า Luxury ดึงนักท่องเที่ยวกลุ่ม Gen-Y กลุ่มผู้มีรายได้สูง และ กลุ่มครอบครัวคนรุ่นใหม่ (Millennials family ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พาตะลอนเที่ยวสุด COOL หลงรักอีสานได้ทุกวัน กระตุ้นท่องเที่ยว 20 จังหวัดภาคอีสาน พร้อมนำเสนอสินค้าท่องเที่ยวภายใต้ธีม 3 ธรรม ธรรมะ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม เจาะกลุ่ม Gen-Y และวัยทำงาน และ ภาคใต้ พาสัมผัสการท่องเที่ยวรสจัดจ้าน “หรอยแรง แหล่งใต้” ดึงคนไทยเที่ยวภาคใต้ตลอดทั้งปีควบคู่กับการสร้างกระแสการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบเพื่อสร้างสมดุลทางการท่องเที่ยว ไม่เพียงเท่านั้น ททท. ยังชวนค้นหาความหมายใหม่ของการเดินทางในเส้นทางเมืองรอง 5 ภูมิภาค กับแนวทางส่งเสริมการตลาด “เมนูเปิดประสบการณ์ใหม่…เมืองรองมิรู้ลืม” ไม่เพียงเท่านั้น ททท. ยังคงให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อน Thrive for Excellence : ยกระดับองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูงมุ่งสู่การเป็น Data Driven Organization โดยใช้แพลตฟอร์ม Thailand Tourism Virtual Mart : TTVM (https://virtualmart.tourismthailand.org) เป็นแพลตฟอร์มหลัก เพื่อเป็นพื้นที่การตลาดออนไลน์ในรูปแบบ B2B สำหรับการพบปะพูดคุยธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทย (Seller) และบริษัทนำเที่ยวต่างชาติ (Buyer)
สำหรับทิศทางการสื่อสารการตลาดในภาพรวม ททท. ยังคงเดินหน้าประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยตลาดในประเทศด้วยแคมเปญ “เที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม” โดยสร้างประสบการณ์ การท่องเที่ยวด้วยมุมมองใหม่ เติมความหมายของการเดินทางท่องเที่ยว ชดเชยช่วงเวลาที่พลาดโอกาสได้เดินทางจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตอนนี้จึง “ได้เวลา” ที่จะออกไปท่องเที่ยว สร้างความสุขให้กับตัวเองและคนที่เรารัก ออกไปเที่ยวพร้อมดูแลธรรมชาติ นำไปสู่ช่วงเวลาที่แสนพิเศษ เพราะ “โมเมนต์ที่ใช่ สร้างได้ไม่ต้องรอ” ส่วนตลาดต่างประเทศ ททท. ยังคงตอกย้ำแคมเปญ “Visit Thailand Year 2022-2023 : Amazing New Chapters” เพื่อพลิกโฉมประเทศไทยนำเสนอประสบการณ์การท่องเที่ยวที่แสนพิเศษให้การเดินทางเที่ยวเมืองไทยมีความหมาย (Meaningful Travel) ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการกลับมาพบกันอีกครั้ง (Reunion) รวมทั้งเป็นการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมยกระดับภาพลักษณ์สู่การเป็น World Class Destination ภายใต้แนวคิดเมนูประสบการณ์ A to Z Amazing Thailand Has it All และ Soft Power of Thailand ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาค้นหาและร่วมออกแบบบทต่อไปของการเดินทางด้วยตัวเองตลอดปี 2566
ทั้งนี้ ททท. ตั้งเป้าหมายอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปี 2566 ให้กลับมาในอัตราร้อยละ 80 ของปี 2562 บนพื้นฐานของสถานการณ์ท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างเป็นไปได้ (Base Case Scenario) จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 1.73 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากต่างประเทศ 970,000 ล้านบาท และรายได้หมุนเวียนจากตลาดคนไทย 760,000 ล้านบาท ขณะที่ภายใต้สถานการณ์ท่องเที่ยวที่เอื้ออำนวยในทุกด้าน (Best Case Scenario) คาดว่าจะมีรายได้รวมอยู่ที่ 2.38 ล้านล้านบาท ประกอบด้วยสัดส่วนของรายได้จากตลาดต่างประเทศ 1.5 ล้านล้านบาท และตลาดในประเทศ 880,000 ล้านบาท