หัวเว่ย (Huawei) เปิดตัวโซลูชันแคมปัสอัจฉริยะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่งาน Asia Pacific (APAC) Smart Campus Solution Launch 2021 โดยเชิญชวนลูกค้าในอุตสาหกรรม, คู่ค้า, ผู้เชี่ยวชาญ และสื่อทั่วภูมิภาค APAC ให้คว้าโอกาสจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และการรวมพลังของอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมแคมปัสอัจฉริยะ
คุณบ็อบ เฉิน รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย (BG) กล่าวเปิดงานว่า ตลาดแคมปัสอัจฉริยะของ APAC ในปัจจุบันมีมูลค่าเกิน 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามรายงานของบุคคลภายนอก นอกจากนี้ เขายังให้รายละเอียดว่าหัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างไร และในความเป็นจริงก็ได้สร้างแคมปัสอัจฉริยะที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ แล้ว โดยคุณเฉินกล่าวว่า “หัวเว่ยได้ตั้งโครงการแคมปัสอัจฉริยะสำเร็จแล้ว 500 โครงการทั่วโลก ซึ่งช่วยให้ลูกค้าของเราประสบความสำเร็จทางธุรกิจ เราตั้งตารอที่จะได้ร่วมงานกับลูกค้าต่อไป เพื่อรับมือกับความท้าทายในขณะที่เราสร้างโลกอัจฉริยะร่วมกัน”
คุณโทนี่ คู ประธานสมาคมการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกระหว่างประเทศของสิงคโปร์ (SIFMA) ก็กล่าวเปิดงานเช่นกันว่า “ในขณะที่ ICT ก้าวหน้าขึ้น การสร้างระบบก็ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ แคมปัสก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ การจัดการสิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องยากขึ้น และเรามีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าวให้ดีขึ้นและจัดการอย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น การเปิดตัวโซลูชันแคมปัสอัจฉริยะนี้นับว่ามาถูกเวลา โดยเป็นการมอบโซลูชันที่สมาชิกของเราหลายคนกำลังมองหา” โลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์กำลังใกล้เข้ามาแล้ว โดยแคมปัสจะทำหน้าที่เป็นหน่วยพื้นฐานของเมือง ตลอดจนผู้ให้บริการทั้งเรื่องงานและชีวิต ด้วยเหตุนี้ การปรับปรุงประสิทธิภาพและประสบการณ์ของแคมปัสจะช่วยยกระดับสังคมทั้งหมด โดยคุณวินสัน หวัง หัวหน้าพันธมิตรคู่ค้าจาก Openlab กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ในภูมิภาค APAC ได้นำเสนอโซลูชันแคมปัสอัจฉริยะของหัวเว่ยล่าสุด ซึ่งหัวเว่ยได้กำหนดนิยามใหม่ของแคมปัสอัจฉริยะด้วยการสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ปลอดภัย เปิดกว้าง และยั่งยืน ซึ่งผสานรวมเทคโนโลยี ICT ใหม่ ๆ เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง, Internet of Things ( IoT), ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเชื่อมต่อโครงข่ายมือถือ
ความแตกต่างระหว่างแคมปัสอัจฉริยะกับแคมปัสแบบดั้งเดิมนั้นอยู่ที่มันสมองชั้นบน ซึ่งรวมถึงแพลตฟอร์มศูนย์ปฎิบัติการอัจฉริยะ (IOC) กับแอปพลิเคชันอัจฉริยะ และโครงสร้างพื้นฐาน ICT ที่สำคัญมีดังนี้
- เครือข่ายแคมปัส ที่เชื่อมต่อเครือข่ายแคมปัสต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์นั้น มีการนำมาใช้งานผ่านเครือข่ายแบบผ่านสาย, Wi-Fi, 5G,คลื่นไมโครเวฟ และเทคโนโลยี IoT
- การรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ ที่ใช้การป้องกันและควบคุมวิดีโออัจฉริยะ ตลอดจนการวิเคราะห์AI
- การทำงานร่วมกันในออฟฟิศที่ออฟฟิศอัจฉริยะและห้องเรียนอัจฉริยะทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งช่วยปรับปรุงการสื่อสารทางไกลและประสิทธิภาพได้อย่างมากในช่วงโควิด-19ระบาด และนำประสบการณ์ใหม่มาสู่ผู้ใช้ในออฟฟิศ ในการเรียนรู้ ตลอดจนในการวินิจฉัยและการรักษา
- การจัดการอัจฉริยะทำให้มองเห็นภาพรวมของแคมปัสได้ชัดเจน ด้วยศูนย์กลางการดำเนินการอัจฉริยะ(IOC) ที่ใช้การเชื่อมต่อระบบ รวมถึงการแสดงให้เห็นภาพพื้นที่กายภาพแบบฝาแฝดดิจิทัล (Digital Twin) และการจัดการทรัพย์สินแบบเครือข่ายและแบบอัจฉริยะ
- การประหยัดพลังงานในส่วนที่IoT เคยต้องเชื่อมต่อกับขั้วและเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงาน มีการใช้อัลกอริทึม AI สำหรับการวิเคราะห์และเพิ่มประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงาน และ OPEX ของเครือข่ายแคมปัส รวมถึงดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คุณโทนี่ ชี่ ซีทีโอฝ่ายโซลูชันตามสถานการณ์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย ยังได้แสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ ๆ สามารถตอบสนองการใช้งานสำคัญ 3 กรณี ได้แก่ การเชื่อมต่อที่มีอยู่ทุกแห่ง การจัดการแบบบูรณาการ และการพัฒนาบริการใหม่ ด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลที่รวมกับวิดีโอคลาวด์, IoT, โปรโตคอลการสื่อสารอินเทอร์เน็ต (ICP), ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) และเทคโนโลยีใหม่อื่น ๆ ทำให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มเพื่อออกแบบ พัฒนา และตรวจสอบโซลูชันเพื่อสร้างแคมปัสที่ปลอดภัย สะดวกสบาย มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คุณจี เซการ์ สมาชิกคณะกรรมการ SIFMA และกรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายสถานที่ทำงานในสิงคโปร์ของ JLL แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกสำหรับแนวโน้มการพัฒนาแคมปัสอัจฉริยะว่า การพัฒนาในเทคโนโลยีได้ทำให้ระบบแบบบูรณาการมีความได้เปรียบอย่างมาก โดยชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันหัวเว่ยเป็นผู้นำด้านนี้ นอกจากนี้ การลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ยังเป็นการประกัยว่าผลิตภัณฑ์และโซลูชันของบริษัทสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิมได้ด้วยการยกระดับความสามารถในการตรวจสอบ ช่องทางการสื่อสาร และแพลตฟอร์มข้อมูลที่ให้ข้อมูลเชิงลึกคุณภาพสูงที่สามารถนำไปใช้ได้ SIFMA จะยังคงมีบทบาทสำคัญในการค้นหาเทคโนโลยีและนักพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างหัวเว่ย เพื่อประโยชน์ของสมาชิกองค์กรและบุคคลของ SIFMA
ในงาน APAC Smart Campus Solution Launch 2021 ยังได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและลูกค้าของหัวเว่ย รวมถึง SIFMA, Dalian Hi-Think Computer Technology และ DTGO พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ยเอง เพื่อร่วมเวทีเสวนาที่ดำเนินการโดย คุณโกห์ เซห์ หาน ผู้ร่วมก่อตั้ง TriVentures Capital โดยบนเวทีเสวนาจะมีการอภิปรายว่าแคมปัสอัจฉริยะจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอนาคตตามแนวโน้มดิจิทัล ในระหว่างการเสวนา คุณแบรนดอน หวู่ ซีทีโอกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก ได้เน้นย้ำว่าโซลูชันแคมปัสอัจฉริยะจะให้บริการทางเทคนิคและโซลูชันสนับสนุนสำหรับการวางแผนแคมปัส, การวางแผน ICT และการออกแบบระบบย่อยได้อย่างไร เมื่อร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร หัวเว่ยได้สร้างแคมปัสอัจฉริยะที่มุ่งเน้นอนาคตสำหรับลูกค้า ในส่วนของมุมมองลูกค้านั้น คุณกิตติคุณ โพธิวนากุล ซีทีโอของ DTGO อธิบายว่าโซลูชันแคมปัสอัจฉริยะของหัวเว่ยช่วยให้องค์กรต่าง ๆ รวมบริการดิจิทัลโดยมีการเข้าถึงที่คำนึงถึงลูกค้าเป็นหลักแทนที่สิ่งที่ทำงานได้จริง การใช้บริการอัจฉริยะ เช่น IOC การจัดการปริมณฑล การตรวจตราโดยใช้วิดีโอ และการจัดการอุปกรณ์ โซลูชันจะใช้การวิเคราะห์บิ๊กดาต้าเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับบริหาร และด้วยแนวทางคล้ายกันนี้ โซลูชันดังกล่าวจะสนับสนุนนวัตกรรมธุรกิจและในอนาคตจะอำนวยความสะดวกให้กับการเข้าถึงแคมปัสหลายแห่ง ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานนี้ได้ที่: https://bit.ly/3FSsiVF