หัวเว่ย (Huawei) ได้เผยสมรรถนะที่อัปเกรดใหม่ของโซลูชันคลาวด์-เครือข่ายอัจฉริยะ ในการประชุมสุดยอดหัวข้อ “คลาวด์-เครือข่ายอัจฉริยะ ยืนหนึ่งวงการนวัตกรรมดิจิทัล” (Intelligent Cloud-Network, Leading Digital Innovation) ระหว่างงานหัวเว่ย คอนเนกต์ ประจำปี 2565 หรือ HUAWEI CONNECT 2022 ที่กรุงเทพฯ ขีดความสามารถเหล่านี้ครอบคลุม 3 กรณีด้วยกัน ได้แก่ คลาวด์แฟบริค (CloudFabric) คลาวด์แวน (CloudWAN) และคลาวด์แคมปัส (CloudCampus) โดยมีขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวรายงานสมุดปกขาวในหัวข้อสถาปัตยกรรมเครือข่ายอัจฉริยะไร้สาย (Wireless Intelligent Network Architecture White Paper) เพื่อช่วยองค์กรต่าง ๆ ในการใช้นวัตกรรมดิจิทัลด้วยเมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลก้าวล้ำยิ่งขึ้น บริการที่องค์กรต่าง ๆ ใช้นั้นก็มีข้อกำหนดใหม่ ๆ ในเรื่องเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ประการแรก ปริมาณการเชื่อมต่อ IoT ที่มีมากมายมหาศาลนั้นจำเป็นต้องใช้บรอดแบนด์ระดับอัลตราและการเชื่อมต่อแบบทุกหนทุกแห่ง ประการที่สอง บริการระดับสาขาขององค์กรทยอยย้ายขึ้นคลาวด์อย่างต่อเนื่อง ทำให้เครือข่ายต่าง ๆ ต้องมีความยืดหยุ่นในการดำเนินการและยกขึ้นคลาวด์ได้อย่างว่องไว ประการที่สาม บริการใหม่ ๆ จำเป็นต้องรองรับการให้บริการในสเกลใหญ่ และต้องปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง ทำให้เครือข่ายต้องมีความว่องไว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ สุดท้ายนี้ การประชุมผ่านวิดีโอเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ หมายความว่าเครือข่ายจำเป็นต้องมอบประสบการณ์ที่กำหนดได้เองด้วย
ซุน เหลียง (Sun Liang) รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์สื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย เปิดเผยว่า หัวเว่ย ดาตาคอม (Huawei Datacom) ได้พัฒนาโซลูชันคลาวด์-เครือข่ายอัจฉริยะขึ้น หลังจากที่ได้พัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการปัญหาท้าทายต่าง ๆ โซลูชันนี้มอบขีดความสามารถหลัก ๆ เช่น ประสบการณ์การเข้าถึงอันเป็นที่สุด เปิดโอกาสให้สาขาต่าง ๆ เข้าถึงคลาวด์ได้เร็วสุดขีด มอบประสบการณ์ที่กำหนดได้เอง ทั้งยังดำเนินการได้อย่างเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน โซลูชันคลาวด์-เครือข่ายอัจฉริยะ เป็นที่นิยมใช้ในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น การศึกษา ค้าปลีก รัฐบาล และการเงิน อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ยกตัวอย่างเช่น ในภาคการศึกษานั้น โซลูชันเครือข่ายไวไฟแบบไร้สายทั้งหมดจะช่วยมอบประสบการณ์การเข้าถึงเครือข่ายอันเหนือชั้น ส่วนในภาคค้าปลีก โซลูชันที่ให้เข้าถึงคลาวด์ได้เร็วสุดขีดแบบ SD-WAN ทำให้เปิดร้านได้ภายในเวลาเพียงวันเดียว ขณะที่ในภาครัฐบาล เทคโนโลยีแบ่งเครือข่ายของหัวเว่ยช่วยให้เคลื่อนย้ายข้อมูลแบบบรรจบกันบนเครือข่ายและทำให้บริการที่มีความสำคัญต่อธุรกิจเชื่อถือได้ 100% สำหรับในภาคการเงิน โซลูชันบริการแบบมัลติคลาวด์ข้ามโดเมนนั้นทำให้ใช้บริการได้ภายในเวลาไม่กี่นาที
ในการประชุมดังกล่าว หัวเว่ยยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์สื่อสารข้อมูลใหม่ ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Wi-Fi 7 AP AirEngine 8771-X1T ตัวแรกของอุตสาหกรรม แคมปัสคอร์สวิตช์แบบใหม่ที่รองรับ 400G อย่าง CloudEngine S16700 และเราเตอร์อัจฉริยะแบบ 4-in-1 อย่าง NetEngine 8000 M4 นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวรายงานสมุดปกขาวในหัวข้อสถาปัตยกรรมเครือข่ายอัจฉริยะไร้สาย โดยคุณหลิว เจียนหนิง (Liu Jianning) ประธานแผนกการตลาดและขายโซลูชันเครือข่ายองค์กรของหัวเว่ย เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของเครือข่ายแคมปัสคือความไร้สายเต็มรูปแบบ การใช้เทคโนโลยี Wi-Fi 6 และ Wi-Fi 7 ในอนาคตจะก่อให้เกิดข้อกำหนดใหม่ ๆ ในเรื่องอัตราการส่งถ่ายข้อมูล สถาปัตยกรรม การเดินระบบและซ่อมบำรุง และเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้นั้น หัวเว่ยได้นำเสนอสถาปัตยกรรมเครือข่ายแคมปัสแบบใหม่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเครือข่ายอัจฉริยะแบบไร้สาย สถาปัตยกรรมดังกล่าวมีคุณลักษณะเด่น 7 ประการ ได้แก่ ความไร้สายเต็มรูปแบบ ความกลมกลืน อัตราบรอดแบนด์ ความเรียบง่าย คาร์บอนต่ำ ความปลอดภัย และความชาญฉลาด
ในการประชุมนี้ ลูกค้าจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แบ่งปันผลลัพธ์จากการใช้โซลูชันคลาวด์-เครือข่ายอัจฉริยะของหัวเว่ยในทางการค้า โดยคุณอากุส อาริยันโต (Agus Ariyanto) รองประธานฝ่ายเครือข่ายของบิซเน็ท (Biznet) ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “บิซเน็ทสร้างเครือข่ายแวนอัจฉริยะที่มุ่งรับอนาคต” (Biznet Builds a Future-oriented Intelligent WAN) ว่า “หัวเว่ยช่วยให้บิซเน็ทเข้ามามีบทบาทผู้นำในอุตสาหกรรม โดยต่อยอดจากเครือข่ายเขตเมืองแบบแฟลต และเมื่อรวมพลังกับหัวเว่ยแล้ว เราจะสำรวจเทคโนโลยีและนวัตกรรมธุรกิจใหม่ ๆ ตาม IPE”