บราเดอร์ ประกาศแผนและทิศทางการดำเนินธุรกิจเชิงรุกในปีงบประมาณ 2566 หลังปีที่ผ่านมาสร้างอัตราการเติบโตสูงถึง 12%      ปลดล็อคปัญหาสินค้าขาด    เสริมทีมทุกส่วนให้พร้อมเดินหน้ารับเศรษฐกิจฟื้น เล็งขยายส่วนแบ่งการตลาดทั้งกลุ่ม print และ non-print ปูพรมเปิดตัวสินค้าใหม่ตลอดทั้งปี ขยายทีมเซลล์เจาะลูกค้าเพื่อนำเสนอโซลูชัน ติดปีกดีลเลอร์เพิ่มศักยภาพการขายให้มากยิ่งขึ้น พร้อมคงคุณภาพงานบริการอันเป็นเลิศ และสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อส่งเสริมสังคมและสิ่งแวดล้อมดังเช่นทุกปีที่ผานมา

 นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ

 นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า การรุกตลาดครั้งใหญ่ของ บราเดอร์ ในปีงบประมาณ 2566 จะทำให้เกิดการรับรู้และการยอมรับในแบรนด์เพิ่มมากขึ้นทั้งในกลุ่มลูกค้าองค์กรและกลุ่มลูกค้าผู้บริโภค ครอบคลุมทุกกลุ่มเจนเนอเรชัน โดยเฉพาะกลุ่มนิวเจนที่ บราเดอร์ เห็นว่ามีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก จึงเน้นที่จะเจาะกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วยการใช้กลยุทธ์แบรนด์พรีเซนเตอร์มาเชื่อมและพัฒนาจากผู้บริโภคสู่ community  “ความได้เปรียบของ บราเดอร์ คือการมีผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่ม print และ non-print ที่พร้อมตอบความต้องการทุกเจนเนอเรชัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้สามารถพัฒนากลยุทธ์การตลาดได้หลากหลายและปรับให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดได้ทุกกลุ่ม ซึ่งในปีนี้ บราเดอร์ มีการปรับโครงสร้างทีมขาย ที่พร้อมจะสนับสนุนพาร์ทเนอร์ให้ร่วมสร้างการเติบโตไปพร้อมกัน   และ เพื่อรับการกลับมาของตลาดเราจึงวางแผนที่จะเปิดตัวสินค้าใหม่ในทุกกลุ่มตลอดปี และที่สำคัญเราได้วางกลยุทธ์เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ลูกค้า ด้วยการจับมือแบรนด์ระดับโลกสร้างสรรค์ collaborative product เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่สินค้าของ บราเดอร์” นายธีรวุธกล่าวเสริม

 ด้านกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ที่ถือเป็นเส้นเลือดหลักของ บราเดอร์ นั้น นางสาวทิพยา ไตรเสถียรกุล ผู้จัดการอาวุโสแผนกธุรกิจเครื่องพิมพ์ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด ได้วิเคราะห์ถึงทิศทางตลาดเครื่องพิมพ์ในไทยว่า สำหรับ บราเดอร์ ตลาดในภาพรวมยังคงทรงตัว การที่ บราเดอร์ จะเติบโตได้นั้นจะต้องขยายส่วนแบ่งการตลาดให้เพิ่มมากขึ้นด้วยการวางแผนขยายฐานกลุ่มลูกค้าคอมเมอร์เชียลให้เข้มข้นยิ่งขึ้น  สร้างสรรค์โปรแกรมการใช้งานที่เพิ่มความสะดวกและความคุ้มค่าเพื่อรักษากลุ่มลูกค้าในระยะยาว         เช่นเดียวกับกลุ่มตลาดรีเทล ที่บราเดอร์ได้รุกตลาดอย่างเต็มที่ในปีที่ผ่านมา ทั้งยังนำเสนอสินค้าใหม่ที่เพิ่มศักยภาพด้านคุณภาพการพิมพ์สู่ตลาด เพื่อเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มีคุณภาพที่สุดสู่ตลาด  ซึ่งในปีนี้ บราเดอร์ ก็จะสานต่อกลยุทธ์ดังกล่าวในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้มากขึ้น ยิ่งในปีนี้ บราเดอร์ มีแบรนด์พรีเซนเตอร์ PROXIE (พร็อกซี) ก็ยิ่งทำให้ง่ายต่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์สู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น

นางสาวทิพยา ไตรเสถียรกุล

โดยจากรายงานของ จีเอฟเค (GFK) เกี่ยวกับตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดของเครื่องพิมพ์ในปี 2565 ระบุว่า บราเดอร์ครองส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มเครื่องพิมพ์โมโนเลเซอร์มัลติฟังก์ชัน 47.8%, กลุ่มเครื่องพิมพ์โมโนเลเซอร์อยู่ที่ 27.7%, กลุ่มเครื่องพิมพ์คัลเลอร์เลเซอร์มัลติฟังก์ชัน 51.5%, กลุ่มเครื่องพิมพ์คัลเลอร์เลเซอร์อยู่ที่ 37.3% และกลุ่มเครื่องพิมพ์อิงค์แทงค์อยู่ที่ 23.4%  ในปีนี้ บราเดอร์ ยังคงสร้างการรับรู้เกี่ยวกับประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้จากการใช้วัสดุสิ้นเปลืองแท้ (genuine consumable products) ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา     ด้วยการร่วมมือกับช่องทางการขายที่จำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์แท้ทำการโปรโมทมาอย่างต่อเนื่องซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี การเติบโตของช่องทางขายแบบอีคอมเมิร์ซ (e-commerce channel) ส่งผลอยากมากต่อประสิทธิภาพการขายในยุคปัจจุบัน  บราเดอร์ จึงได้เดินหน้าพัฒนาศักยภาพในด้านดังกล่าวแก่ช่องทางการขายทั่วประเทศด้วยเช่นกัน

 หากวิเคราะห์ถึงกระแสนิยมด้านการพิมพ์ ณ ปัจจุบันพบว่า ความต้องการในแบบ print on demand หรือ manage print service         ยังคงเป็นกระแสที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในกลุ่มลูกค้าคอมเมอร์เชียล  และเป็นสิ่งที่ บราเดอร์ ให้ความสำคัญมาตลอด และยังคงเน้นเพื่อการเติบโตต่อไปในปีนี้

นายพงษ์พันธ์ สุระวัฒน์เจริญ ผู้

นายพงษ์พันธ์ สุระวัฒน์เจริญ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขยายธุรกิจ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงภาพรวมกระแสนิยมดังกล่าวเพิ่มเติมว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บราเดอร์ ได้มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองต่อเทรนด์ดังกล่าวได้อย่างดี              โดยความสำเร็จของ   บราเดอร์   คือการพิสูจน์ให้เห็นว่าเราสามารถก้าวสู่การเป็น 1 ใน 3 แบรนด์ผู้นำในทุกกลุ่มตลาด non-print โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัล GTX ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 80% ด้วยคุณลักษณะที่สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานในแบบ personalized printing ได้ โดยแผนการขยายส่วนแบ่งการตลาดในปีนี้นั้นจะสอดคล้องไปกับแผนแม่บทขององค์กร ที่เน้นขยายตลาดสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ และการนำศักยภาพของสินค้าบราเดอร์มารวมกันในรูปแบบโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายได้อย่างลงตัวที่สุด นอกจากนี้ บราเดอร์ ยังวางแผนที่จะนำเข้าสินค้าใหม่ๆ เพื่อมอบประสบการณ์การพิมพ์ที่มีคุณภาพให้แก่กลุ่มตลาดคอมเมอร์เชียลและอินดัสเตรียล เพื่อเพิ่มโอกาสการขายให้มากขึ้นด้วย

 นอกจากนี้ การนำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาของผู้บริโภค ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ บราเดอร์ ใช้เพื่อเปิดรับผู้บริโภคกลุ่มใหม่  ดังเช่นการเปิดตัว  ‘Brother AirSure’  เครื่องดักจับฝุ่นและละอองฝอยในอากาศที่ยังไม่เคยมีมาก่อนในไทย ได้รับการการันตีจาก 2 สถาบันระดับโลกถึงประสิทธิภาพในการดักจับไวรัสโอไมครอนได้ถึง 99.9% ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ขององค์กรชั้นนำ นับเป็นการขยายธุรกิจสู่กลุ่มผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านสุขภาพเป็นครั้งแรกในไทย   ซึ่งปัจจุบัน  บราเดอร์  ได้ขยายช่องทางการขาย Brother Airsure บน online official store ทุกแพลทฟอร์ม เพื่อเพิ่มความสะดวกในการสั่งซื้อได้ง่ายยิ่งขึ้นสำหรับผู้บริโภคในราคาเครื่องละ 4,990 บาท

 ในปีงบประมาณ 2566 นั้น บราเดอร์ ได้วางทิศทางการทำงานในรูปแบบเชิงรุก ซึ่งแน่นอนว่าการจะเติบโตได้นั้น นอกจากจะมีกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีแล้ว ทีมขายซึ่งถือเป็นด่านหน้าก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยนายพีรพงศ์ พรประมินทร์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขาย บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงแผนการพัฒนาโครงสร้างทีมขายของบราเดอร์ว่า ได้กำหนดทิศทางการรุกตลาดโดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าคอมเมอร์เชียลเป็นหลัก ครอบคลุมทั้งการจำหน่ายผ่านพาร์ทเนอร์ตัวแทนขาย ที่ในปีนี้บราเดอร์ได้เดินหน้าขยายศักยภาพของตัวแทนขายในทุกด้าน   เพิ่มโอกาสทางการขายด้วยการเสนอขายสินค้ากลุ่มใหม่ๆ  ของบราเดอร์  เพื่อเติมเต็มความต้องการของ

กลุ่มลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บราเดอร์ ยังต้องการเจาะเข้าสู่กลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพ อาทิ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มธุรกิจเฮลธ์แคร์ กลุ่มธุรกิจค้าปลีก กลุ่มธุรกิจการศึกษา ฯลฯ  พร้อมทั้งขยายทีมขายตอบโครงสร้างใหม่ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการทำงานเชิงรุกมุ่งนำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในรูปแบบโซลูชันที่ผสมผสานผ่านกลยุทธ์ Cross-Selling ประสานงานกับดีลเลอร์ในรูปแบบทีมเวิร์ค ซึ่งเชื่อว่าการปรับรูปแบบและกลยุทธ์ด้านการขายในครั้งนี้จะช่วยให้บราเดอร์เติบโตเพิ่มขึ้นในภาพรวม ทั้งยังขยายช่องทางขายแบบอีคอมเมิร์ซ (E-commerce Channel) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขายในปัจจุบัน

นางสาวนรีรัตน์ นวนพรัตน์สกุล

ทั้งนี้ นอกจากการปรับทัพเสริมทีมเพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายแล้ว บราเดอร์ ยังสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหม่ ด้วยการเปิดตัวแบรนด์พรีเซนเตอร์เป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปีตั้งแต่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยนางสาวนรีรัตน์ นวนพรัตน์สกุล ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาด บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการตัดสินใจในครั้งนี้ว่า  ล่าสุด  บราเดอร์  ได้เปิดตัวศิลปิน  T-Pop PROXIE (พร็อกซี)  ในฐานะแบรนด์พรีเซนเตอร์  เพื่อสนับสนุนแผนการขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มนิวเจน  ผ่านแนวคิด “ไปให้สุดเวย์ LET’s bro”  พร้อมอยู่เคียงข้างทุกความฝันด้วยศักยภาพสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกความต้องการ ปัจจุบันบราเดอร์มีสัดส่วนลูกค้ากลุ่ม Gen Z  อยู่ที่  11%   คาดปี 2566  จะสามารถเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ขึ้นเป็น 20%  โดยการจุดกระแสนิยมในครั้งนี้ บราเดอร์ ได้ทำการถอดรหัสพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ ผ่านการศึกษา customer journey เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างเจาะลึก โดยพุ่งเป้าไปที่ภารกิจการสร้าง community คนรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้น โดยจะเป็นเสมือนปัจจัยเสริมสร้างความสำเร็จให้กับคนรุ่นใหม่ด้วยศักยภาพของสินค้าบราเดอร์ที่มีอย่างหลากหลาย ผ่านกลยุทธ์  customer experience สร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจ และเมื่อ บราเดอร์ มี community ที่แข็งแกร่งก็จะพัฒนาให้เกิด brand loyalty ได้ในอนาคต

 อีกหนึ่งศักยภาพที่ บราเดอร์ ครองความเป็นเลิศในธุรกิจก็คือ คุณภาพงานบริการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากองค์กรชั้นนำระดับสากลและกลุ่มผู้บริโภค โดยนางสาวรัสสิญากร ตัณฑวณิชย์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำเสนอทิศทางในการครองความเป็นผู้นำด้านบริการว่า ยังคงใช้กลยุทธ์ 4C เป็นหลักในการดำเนินงาน ประกอบด้วย

Customer-ลูกค้า    โดยจะเน้นเข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น    ลูกค้าจะได้สัมผัสความเป็นบราเดอร์ผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมเชิงไลฟ์สไตล์และกิจกรรมที่ร่วมกันดูแลผลิตภัณฑ์ให้ใช้ได้ในระยะยาวเพื่อสร้าง engagement กับลูกค้า อาทิ การตรวจเช็คสภาพเครื่อง โดยสามารถจองผ่านระบบบนเว็บไซด์ การได้รับสิทธิประโยชน์ จากการใช้เครื่องและวัสดุการพิมพ์แท้ตามจำนวนการใช้งานและระยะเวลาการใช้งาน   การร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ  เช่น การสำรวจความพึงพอใจ เป็นต้น

นางสาวรัสสิญากร ตัณฑวณิชย์

Channel-ช่องทางการให้บริการ ปัจจุบัน บราเดอร์ มีช่องทางการให้บริการรวม 8 ช่องทาง โดยมี 5 ช่องทางที่ดูแลโดยทีม Contact Center ของ บราเดอร์ ได้แก่ บริการทางโทรศัพท์ อีเมล์ Facebook Live Chat และ น้อง Care chatbot และช่องทางอื่นๆ อีก 3 ช่องทาง ได้แก่ศูนย์บริการ 5 สาขา ที่บริหารงานโดยบราเดอร์, ทีมบริการ brother onsite service และ ศูนย์บริการแต่งตั้ง (Authorized Service Center) ครอบคลุมทั่วประเทศไทย และ 3 แห่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยทุกช่องทางล้วนได้รับความพึงพอใจสูงมากจากกลุ่มลูกค้า พบว่าผลลัพธ์ของคะแนน Net Promoter Score (NPS) หรือความภักดีของลูกค้าต่อแบรนด์เฉลี่ยอยู่ที่ 82 คะแนนในทุกช่องทาง จากคะแนนค่ากลางเฉลี่ยที่ 50-70

Convenience-ความสะดวกสบายในการใช้บริการ ด้วยการนำดิจิทัล เทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนา chatbot อัจฉริยะ ทั้งน้อง Care ที่ให้บริการครอบคลุมทั้งก่อนและหลังการขายตลอด 24 ชั่วโมง และ Mr.Carer ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการแก่ศูนย์บริการแต่งตั้งทั้งหมด เพื่อสร้างมาตรฐานการให้บริการซ่อมบำรุงให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกแห่ง ทั้งยังเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการด้วย ซึ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงเช่นกัน

Community-ชุมชน  โดยในปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการใน 3 กิจกรรม ประกอบด้วย Brother Care Pack บริการเสริมเพื่อเพิ่มระยะเวลาในการประกันเครื่องให้สามารถใช้ง่ายได้ในระยะยาว  นั่นหมายถึงลูกค้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมเพราะลดการใช้พลาสติกและลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยเช่นกัน, การรณรงค์ให้ทิ้งวัสดุการพิมพ์อย่างถูกวิธี โดยลูกค้าสามารถส่งไปทิ้งได้ที่ศูนย์บริการของบราเดอร์ทั่วประเทศ เพื่อนำไปทำลายอย่างถูกวิธีเพื่อไม้ให้เกิดมลภาวะต่อโลก    และการส่งเสริมด้านการศึกษาพัฒนาทักษะอาชีพ เพิ่มศักยภาพความพร้อมให้คนรุ่นใหม่

นอกจากการจะใช้กลยุทธ์ 4C แล้ว เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าที่มาใช้บริการจะได้รับความพึงพอใจและดูแลชุมชนไปพร้อมๆ กัน  ส่วนบริการของบราเดอร์ได้เพิ่มเติม กลยุทธ์ S5 โดยในกิจกรรมที่ทำ ต้องคำนึงถึง

Standard ที่เน้นแผนการพัฒนาสู่การให้บริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จากที่มีอยู่แล้ว คือ Brother Service Excellence เพิ่มเติมคือ Brother Service Quality Assurance (BSQA) โดยการนำเกณฑ์คุณภาพในการบริการมาปรับให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้า และผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้นพัฒนาศักยภาพศูนย์บริการ และศูนย์บริการแต่งตั้ง เพื่อรองรับการให้บริการทุกกลุ่มลูกค้าและสินค้าของบราเดอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Satisfaction   การสร้างความพึงพอใจในทุกจุดสัมผัส  (Touch Point)  ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย จะต้องแน่ใจได้ว่าลูกค้าจะได้รับความพึงพอใจในการใช้บริการทั้งการบริการโดยพนักงาน หรือการใช้บริการผ่านน้อง Care Chatbot

 Superior Services  การได้รับการบริการที่เหนือกว่าเพิ่มการให้คุณค่าแก่ลูกค้า  ด้วยการสร้างengagement ผ่านกิจกรรมที่จะทำขึ้น

Sustainability ยังคงสานต่อกิจกรรมทั้ง Brother Care Pack, การรณรงค์ให้ทิ้งวัสดุการพิมพ์อย่างถูกวิธี และเพิ่มจำนวนสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมด้านการพัฒนาทักษะอาชีพทั้ง hard skill และ soft skill ให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค  

System เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของ Chatbot ทั้งในส่วนของน้อง Care และ Mr. Carer เพื่อมอบความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า

นายพรภัค อุไพศิลป์สถาพร  

ด้านนายพรภัค อุไพศิลป์สถาพร ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด   กล่าวถึงแนวทางในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสังคมในปีงบประมาณ 2566  ว่า จะมุ่งเน้นดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวคิด ESG เพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนตอบโจทย์แผนการพัฒนา BCG ที่ทั้งประเทศไทยและทั่วโลกต่างให้ความสำคัญในปัจจุบัน  ซึ่ง บราเดอร์ ได้กำหนดทิศทางดำเนิน งานภายใต้แนวคิด at your side 2030 ที่มุ่งเน้นให้เกิดความชัดเจนด้านวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของการดำเนินงานเป็นสำคัญ ให้มั่นใจได้ว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเสมอ ในส่วนงานด้าน CSR นั้น บราเดอร์ ยังคงมุ่งส่งเสริมและคืนกลับสิ่งดีๆ สู่สังคม พร้อมทั้งช่วยรณรงค์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมบนโลกเพื่อความยั่งยืน โดย บราเดอร์ ได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างความยั่งยืน โดยแบ่งออกเป็น กลยุทธ์ระยะกลาง 2030 โดยพุ่งเป้าไปที่การลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ก่อให้เกิดภาวะก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 30% ลดการใช้ พลาสติกใหม่ให้น้อยที่สุดและนำพลาสติกที่ใช้แล้วมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อผลิตใหม่ และการส่งเสริมผู้บริโภคให้เกิดการใช้ซ้ำของบรรจุภัณฑ์วัสดุการพิมพ์เพื่อลดขยะปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้น และกลยุทธ์ระยะยาว 2050 สร้างให้เกิดสังคม Decarbonization พุ่งเป้าเพื่อให้บรรลุการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลจนเหลือศูนย์ และหันมาใช้พลังงานธรรมชาติทดแทนควบคู่ไปกับการรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์บนโลกให้สมบูรณ์ที่สุด

บราเดอร์ เปิดเกมรุกเพิ่มศักยภาพทุกส่วน ดันองค์กรสู่การเติบโตกว่า 5% ในปีงบฯ 66 ด้วยกลยุทธ์เสริมทีมขายเจาะกลุ่มธุรกิจกำลังซื้อสูง เปิดตัวสินค้าใหม่ในทุกกลุ่มตลอดปี เผยโฉมแบรนด์พรีเซนเตอร์ ‘PROXIE (พร็อกซี) เพิ่มฐานกลุ่มนิวเจน เพิ่มศักยภาพบริการด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี และเสริมสร้างชุมชนสู่ความอย่างยั่งยื

“สำหรับกิจกรรม CSR ของ บราเดอร์ในไทยนั้น จะยังคงเน้นที่ 2 กิจกรรมหลัก คือ โครงการอาสาอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติป่าชายเลน และโครงการ Brother Beat Cancer Run        ทั้งยังดำเนินการต่อในส่วนของกิจกรรมรองในโครงการ บราเดอร์ อีโค่บริกส์        นอกจากนี้  บราเดอร์  ยังจะเดินหน้ารักษามาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม  ISO 14001  และคงระดับ Gold ของรางวัล Green Office ไว้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งกำหนดการสร้างสรรค์กิจกรรม CSR ใหม่ๆ ขึ้น 4 กิจกรรมในแต่ละปี เพื่อให้ชุมชนที่เราดำเนินธุรกิจนั้น มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น”  นายพรภัค กล่าวสรุป

#brotherPRnews

 สามารถชมข้อมูลบราเดอร์เพิ่มเติมได้ที่      

https://www.brother.co.th/th-th

https://www.facebook.com/BrotherCommercialThailand/

หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Brother Contact Center ☎ 0-2665-7777