เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 นางสาวเสาวนีย์ มุ่งสุจริตการ เลขานุการกรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นตัวแทนรับมอบหน้ากากป้องกันเชื้อโรค PAPRs (Power Air Purifying Respiration) จำนวน 3,000 ชุด จาก นพ.เข็มชาติ หวังทวีทรัพย์ รองคณบดีฝ่ายทรัพย์สินและพัสดุจากภาควิชาวิสัญญีวิทยาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานกลุ่ม ThaiMIC ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะพร้อมชุดกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (PAPRs) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ วช. สนับสนุนทุนวิจััย เพื่อส่งมอบให้กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำไให้โรงพยาบาลปแจกจ่ายให้โรงพยาบาล แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ใช้ป้องกันโควิด-19 พิธีรับมอบจัดขึ้น ณ ตึกอำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช
นพ.เข็มชาติ หวังทวีทรัพย์ รองคณบดีฝ่ายทรัพย์สินและพัสดุจากภาควิชาวิสัญญีวิทยาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด -19บุคลากรทางการแพทย์มีความจำเป็นต้องใช้ชุด PAPRs ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคลไม่ให้ติดเชื้อโรคทางเดินหายใจจากอากาศในขณะปฏิบัติงาน และเกิดความมั่่นใจในความปลอดภัยระหว่างปฏิบัติหน้าที่ แต่จากในสถาการณ์การระบาดของโควิด- 19 ในปัจจุบัน ทำให้เกิดการขาดแคลนชุด PAPRs ไปทั่วโลก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติจึงได้สนับสนุนทุนเพิ่มเติมแก่โครงการวิจัยชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบ ในการผลิิตชุด PAPRs เพิิ่มอีกจำนวน 3,000 ชุด เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่โรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ
การดำเนินงานในครั้งนี้ช่วยให้ประเทศสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อชุด PAPRs ได้เป็นจำนวนมาก เพราะต้นทุนในการผลิตชุด PAPRs ของโครงการฯ อยู่ประมาณ 9,800 บาท/ชุด ในขณะที่ราคานำเข้าจากต่างประเทศในปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท/ ชุด จึงช่วยรัฐประหยัดงบประมาณได้ถึง 30,000 บาท/ชุด ในรอบนี้โครงการฯ ผลิตชุด PAPRs จำนวน 3,000 ชุด ดังนั้น จึงช่วยรัฐประหยัดงบประมาณได้ถึง 90 ล้านบาท ในขณะที่คุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ ประสิทธิภาพในการใช้งานมีมาตรฐานไม่ด้อยไปกว่าของต่างประเทศ ในอนาคตเชื่อว่าจะสามารถพัฒนาไปสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า จากจุดเริ่มต้นที่สำนักงานการวิิจัยแห่งชาติ ได้สนุบสนุนทุนวิจัยแก่โครงการฯ จนสามารถผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้ประโยชน์ของประเทศในสถานการณ์ปัจจุบันได้ และมีแนวโน้มว่าผลงานวิจัยดังกล่าวมีโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ และเป็นเป้าหมายสำคัญของ วช. ที่จะผลักดันให้งานวิจัยที่ วช. ให้การสนับสนุน สามารถยกระดับไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ เพื่อช่วยเสริมสร้างและพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงานให้กับประเทศ