รายงานข่าวจากปศุสัตว์จังหวั ดสมุทรสาคร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 ศาลจังหวัดสมุทรสาคร มีคำพิพากษาคดีลักลอบค้าหมูเถื่ อนตามคดีดำที่ 655/2566 และคดีแดงที่ 682/2566 สืบเนื่องจากรณีตรวจพบซากสุ กรเถื่อน จำนวน 420,577.28 กิโลกรัม ภายในห้องเย็นของบริษัท อนุสรณ์มหาชัยห้องเย็น จำกัด ในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ไม่สามารถแสดงเอกสารแหล่งที่ มา อันเข้าข่ายเป็นความผิด พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 โดยศาลตัดสินให้นายวันชัย แซ่อึ้ง จำเลยที่ 1 จำคุก 15 เดือน ปรับ 35,000 บาท และนางสาวกันต์ฤทัย สนองมโนนอบ จำเลยที่ 2 จำคุก 9 เดือน ปรับ 25,000 บาท ซึ่งโทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี และให้คุมประพฤติ 1 ปี
ทั้งนี้ จากการสนธิกำลังของเจ้าหน้าที่ ภาครัฐทั้งกรมปศุสัตว์ กรมศุลกากร และตำรวจ เข้าตรวจค้นห้องเย็นของบริษัทดั งกล่าว ตั้งอยู่ที่ 59/ หมู่ 8 ต.ท่าทราย อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2565 พบซากสุกรแช่แข็งลักลอบนำเข้ าจากต่างประเทศ ประกอบด้วยชิ้นส่วนกระเพาะ ขาหมู หูหมู จมูกหมู ลิ้นหมู เศษหมู หางหมู ซี่โครง ลำไส้ หลอดลม ขั้วตับ และหลอดเลือดหมู รวม 12 รายการ น้ำหนักรวม 420,577.28 กิโลกรัม เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการอายั ดซากไว้ เนื่องจากเป็นซากสุกรที่กรมปศุ สัตว์ไม่อนุญาตให้นำเข้ ามาในประเทศ โดยบริษัทฯ ไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ จึงมีการดำเนินคดีตามกฎหมายจนถึ งที่สุด
การตัดสินคดีการจับกุม “หมูเถื่อน” ของบริษัทดังกล่าว นับเป็นรายแรกที่มี การทำสำนวนการสอบสวนสั่งฟ้องผู้ ต้องหา ต่อศาลจังหวัดสมุทรสาคร ภายหลังประเทศไทยประสบปั ญหาการนำเข้าซากสุกรผิ ดกฎหมายจำนวนมากจากประเทศทางตะวั นตก เช่น บราซิล เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ สเปน เป็นต้น ทำให้เกิดความเสียต่อเศรษฐกิ จประเทศในภาพรวม นับตั้งแต่ ไทยประกาศพบการระบาดของโรคอหิ วาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) ทั้งยังเป็นการบิดเบื อนกลไกราคาสุกรในประเทศ ทำให้ผู้เลี้ยงสุกรได้รับควาเดื อนร้อน และความปลอดภัยของผู้บริโภคที่ อาจได้รับสารปนเปื้อนและสารเร่ งเนื้อแดงจากซากสัตว์ที่ไม่ผ่ านการตรวจสอบคุณภาพ บั่นทอนสุขอนามัยที่ดีของคนไทย
ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ ยวข้องปราบปราม “หมูเถื่อน” อย่างเคร่งครัดและรัดกุม ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้เลี้ ยงสุกรและผู้บริโภค โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่ าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ เข้มงวดทลายและกวาดล้ างขบวนการนำเข้าเนื้อหมูผิ ดกฎหมาย ไม่ได้มาตรฐาน เพราะทำให้เกิดความกั งวลและความเสี่ยงต่อการนำเชื้ อไวรัส หรือพาหะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคระบาดร้ายแรง โดยเฉพาะโรค ASF ในสุกรเข้าสู่ประเทศ เสี่ยงทั้งโรคระบาดและสารเร่ งเนื้อแดง ซึ่งสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ เลี้ยงสุกร ตลอดจนผู้บริโภค
ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกรณี การลักลอบนำเข้าชิ้นส่วนเครื่ องในและเนื้อสุกรจำนวนทั้งสิ้น 42 คดี ปริมาณน้ำหนักรวม 1,089,514 กิโลกรัม มูลค่ามากกว่า 219 ล้านบาท โดยแบ่งดำเนินการกับซากสุ กรของกลางเป็น 3 ส่วน คือ ทำลายแล้ว 179,612 กิโลกรัม มูลค่า 71 ล้านบาท ส่วนที่สองอยู่ในระหว่างดําเนิ นคดี 186,116 กิโลกรัม มูลค่า 25 ล้านบาท เมื่อคดีสิ้นสุดจะได้ดำเนิ นการทำลายต่อไป และส่วนที่สามรวบรวมเพื่อทำลาย 723,786 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 123 ล้านบาท ซึ่งมีการทำลายซากจำนวนนี้ไปเมื่ อวันที่ 12 มกราคม 2566./