การรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่
ซีพีเอฟ เดินหน้าสร้างพื้นที่ต้นแบบปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลอดการเผา Zero Burn และไม่รุกที่ป่า
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมถ่ายทอดความรู้ ขยายเครือข่ายเกษตรกรปลูกข้ าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูกาลปลูกปี 2564 ลดการเผาให้เป็นศูนย์ ชูเทศบาลตำบลบัลลังค์ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา และ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี นำร่องเป็นชุมชนลดการเผาหลังเก็ บเกี่ยวเป็นศูนย์ ตอบเป้าหมายการรับซื้อข้าวโพดยั่ งยืนของซีพีเอฟ ยึดตามแนวทาง “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี พัฒนาห่วงโซ่การผลิตอาหารที่เป็ นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นายวรพจน์ สุรัตนวิศิษฏ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการจัดหาวัตถุดิบหลั กทางการเกษตรผลิตอาหารสัตว์ให้ แก่ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาห่ วงโซ่ผลิตอาหารที่รับผิดชอบต่ อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการจัดซื้ อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ มาจากแหล่งผลิตที่มีการปลูกอย่ างยั่งยืน ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับถึ งแหล่งปลูกมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้ องตามกฎหมาย ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า 100% (Zero Deforestation) ควบคู่กั บการงดการเผาแปลงเกษตรหลังเก็ บเกี่ยวให้เป็นศูนย์ (Zero Burn) สำหรับในฤดูกาลปลูกปี 2564 นี้ บริษัทฯ เดินหน้ารณรงค์ถ่ายทอดความรู้ เกษตรกรปลูกด้วยวิธีการที่ยกเลิ กการเผาตอซัง เปลี่ยนมาใช้ประโยชน์เศษวัสดุ ทางการเกษตร โดยเลือกกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ต.บัลลังก์ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา และพื้นที่ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ในโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” เป็นต้นแบบนำร่องปลูกข้ าวโพดปลอดเผา (Zero Burn) โดยสมบูรณ์
ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” มั่นใจในประโยชน์ของการนำหลักวิ ชาการมาช่วยเพิ่มประสิทธิ ภาพการผลิตทั้งในเชิงปริ มาณและคุณภาพ รวมถึงการสนับสนุนช่องทางการรั บซื้อที่โปร่งใส และเป็นธรรม เป็นแรงจูงใจเกษตรกรที่เข้าร่ วมโครงการฯ หันมาใช้วิธีไถกลบตอซั งแทนการเผาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่ อง “ปีนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะสนับสนุนและผลักดั นให้เกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ ทั้งหมดยกเลิกการเผาเศษวัสดุ ทางการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ ยว ไม่เพียงช่วยรักษาคุณภาพและธาตุ อาหารในดินแล้ว ช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ ย ยังมีส่วนช่วยสภาพแวดล้อมชุ มชนดีขึ้น บรรเทาปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควั น และร่วมจัดการปัญหาโลกร้อนได้ อีกด้วย” นายวรพจน์กล่าว
นอกจากระบบตรวจสอบย้อนกลับถึ งแหล่งปลูกข้าวโพดที่บริษัทฯ ใช้ในกระบวนการจัดซื้อผลผลิตข้ าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร มาตั้งแต่ปี 2560 บริษัทฯ ยัง ได้ต่อยอดนำเทคโนโลยีภาพถ่ ายดาวเทียมมาช่วยตรวจสอบย้อนกลั บข้าวโพดที่มาจากพื้นที่ที่ยั งใช้การเผาตอซัง โดยบริษัทฯ จะมีทีมงานลงพื้นที่ให้ความรู้ และเพิ่มความตระหนั กในการทำการเกษตรแบบยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หยุดเผาเศษวัสดุทางการเกษตรหลั งเก็บเกี่ยว ก่อให้เกิดการเปลี่ ยนแปลงไปในทางที่ดีทั้งสิ่ งแวดล้อม เกษตรกร และสังคม