วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 3 สำนักงานเทศบาลนครนนทบุรี :
ประเดิมทำความเข้าใจจุดแรก พื้นที่เทศบาลนครนนทบุรี โดยนายสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีนครนนทบุรี ได้เป็นประธานในการจัดอบรมโครงการส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน ปี 2563

พัฒนาการจังหวัดนนทบุรีเพื่อให้ความรู้แก่ผู้จัดเก็บข้อมูลเรื่องการใช้แอพลิเคชั่น จปฐ. และวิธีการจัดเก็บข้อมูลอย่างถูกต้อง และครบถ้วน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในอนาคต ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในวันนี้เป็นประธานชุมชน ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี

พัฒนาการจังหวัดนนทบุรีในการนี้ นางรักใจ กาญจนะวีระ พัฒนาการจังหวัดนนทบุรี ได้เป็นวิทยากร แนะนำความเป็นมาของการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ปี 2563 (Smart Survey Smart Data System)โดยในปีนี้กรมการพัฒนาชุมชนได้จัดจ้างมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นผู้ดำเนินการรับผิดชอบบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ปี 2563 สำหรับโครงการการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ปี 2563 (Smart Survey Smart Data System) ของจังหวัดนนทบุรี มีเป้าหมายในการจัดเก็บ 152,635 ครัวเรือน ในพื้นที่ 6 อำเภอ 2 เทศบาลนคร 6 เทศบาลเมือง จำนวน 553 หมู่บ้าน/ชุมชน โดยมี ดร.วิไลลักษณ์ เลขาขำ เป็นผู้ประสานงานระดับภาคกลาง และนายณัฎฐ์ธนันท์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นผู้ประสานงานระดับจังหวัดนนทบุรี มีกระบวนการดังนี้

1) จัดอบรมเตรียมความพร้อมบุคลากรและผู้จัดเก็บข้อมูล
2) การดำเนินการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
3) การตรวจสอบและรับรองคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ในระดับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และระดับจังหวัด
4)การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ข้อมูล จปฐ. โดยจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับอำเภอ และระดับจังหวัด และ
5) การติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ดำเนินการ

พัฒนาการจังหวัดนนทบุรีติดตามและสนับสนุนการดำเนินงาน และรายงานผลต่อส่วนกลางตามระยะเวลาที่กำหนด
นอกจากนี้ พัฒนาการจังหวัดนนทบุรี ได้เชิญชวนให้ผู้เข้าอบรมดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เฟสที่ 2 สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน ของกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม เดือนมหามงคล สู่ความสำเร็จในวันที่ 5 ธันวาคม 2563 โดยจะดำเนินการภายใต้แนวคิดการสร้างนวัตกรรมปลูกพืชผักสวนครัว โดยส่งเสริมการปลูกผักให้มีความต่อเนื่อง และปลูกเพิ่มเติมจากเดิมจาก 5 ชนิด เป็น10 ชนิด นอกจากนี้ยังชี้แจงถึงการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มกัน สร้างความสามัคคีกันในชุมชน และเกิดเป็นชุมชนสีเขียว พร้อมส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับพืชผักสวนครัว และสมุนไพรพื้นบ้าน
#นนทบุรีเป็นเมืองที่อยู่อาศัยคุณภาพดีและมีเศรษฐกิจสร้างสรรค์