นอสตร้า โลจิสติกส์ ชี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชียและอาเซียน ปีละกว่า 22,491 ราย คิดเป็น 32.7 คนต่อประชากร 1 แสนคน โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม พบ 3 สาเหตุหลัก คือ 1) การชนทั่วไป 2) จากบุคคล เช่น การขับรถเร็ว ขับตัดหน้า 3) จากอุปกรณ์ เช่น ห้ามล้อขัดข้อง ย้ำผู้ใช้ถนนไม่ควรเพิกเฉย แนะใช้เทคโนโลยีเพิ่มความปลอดภัยการขับขี่ ด้วยระบบเทเลเมติกส์ ติดตามตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถ แจ้งเตือนความเสี่ยงขณะขับรถ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ได้ทันเวลา รวมทั้งตรวจเช็คสภาพรถก่อนใช้งาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ป้องกันและลดการสูญเสียทั้งต่อชีวิตรวมทั้งทรัพย์สิน นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2561 พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก ปีละประมาณ 22,491 ราย คิดเป็น 32.7 คนต่อประชากร 1 แสนคน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลอย่างเช่น ปีใหม่ หรือสงกรานต์ และแม้ว่าในปี 2563 ที่ผ่านมา สถานการณ์การบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อยในภาพรวม จากอุบัติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลให้ผู้ใช้รถใช้ถนนลดลง แต่พบว่าประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุดอันดับ 1 ในเอเชียและในภูมิภาคอาเซียน แนะผู้ขับขี่ไม่เพิกเฉย เร่งปรับพฤติกรรมการขับขี่ นำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มความปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุได้ทันท่วงที
“แม้ว่าตัวเลขอุบัติเหตุมีแนวโน้มลดลงจากการใช้รถใช้ถนนที่ลดลง ด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 แต่ประเทศไทยยังคงน่าเป็นห่วงเนื่องจากสถิติอุบัติเหตุยังคงเกินค่าเฉลี่ยของโลกถึง 2 เท่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคมพบ 3 สาเหตุหลักของอุบัติเหตุ คือ 1) การชนทั่วไป 2) เกิดจากบุคคล เช่น การขับรถเร็ว ขับรถตัดหน้า และ 3) เกิดจากอุปกรณ์ เช่น ห้ามล้อขัดข้อง ซึ่งจากสาเหตุดังกล่าว การนำเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น เช่น ระบบการป้องกันและแจ้งเตือนการขับขี่ที่เรียกว่า ระบบเทเลเมติกส์ (Telematics) ติดตามตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถ และแจ้งเตือนให้ผู้ขับขี่ได้ทราบถึงความเสี่ยงในขณะขับรถ ทำให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนพฤติกรรมหรือเพิ่มความระมัดระวังในการขับได้ทันเวลา เช่น ขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด ขับออกนอกเลน ขับรถจี้คันหน้ามากเกินไป การใช้กล้องตรวจจับการละสายตาจากการขับรถ อาการง่วง หลับใน หรือ การใช้โทรศัพท์ระหว่างขับรถ เป็นต้น” นางวรินทร กล่าว
นางวรินทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในด้านการบำรุงรักษา การตรวจเช็คสภาพก่อนใช้งานพาหนะ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่ ควรมีการตรวจเช็คสภาพก่อนใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีขององค์กรที่มีรถจำนวนมาก การดูแลรักษา หรือซ่อมบำรุงถือได้ว่าเป็นการจัดการที่ซับซ้อนและควบคุมงบประมาณได้ลำบาก Maintenance Management System จึงเป็นเทคโนโลยีที่มาเป็นผู้ช่วยจัดการ ตั้งแต่การใช้ระบบ Digital Checklist การนัดหมายการเข้าซ่อม รวมถึงสรุปผลการซ่อมบำรุง และค่าใช้จ่ายของกลุ่มรถเพื่อพิจารณาลดค่าใช้จ่าย หรือขายรถที่มีค่าซ่อมบำรุงไม่คุ้มค่าต่อการใช้งาน
อย่างไรก็ตาม นอสตร้า โลจิสติกส์ ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันด้านการบริหารจัดการงานขนส่งแบบครบวงจร ที่ครอบคลุมถึงการเพิ่มความปลอดภัยในการขับรถด้วยเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) Internet of Things (IoT) และ Big Data Analytics เป็นโซลูชันการบริหารจัดการและติดตามงานขนส่งที่เกิดจากการบูรณาการร่วมกันระหว่างอุปกรณ์เทเลเมติกส์ที่ติดตั้งในรถและสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ พร้อมการแจ้งเตือน เก็บข้อมูลและตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถ พร้อมรายงานประมวลผลและนำเสนอรายงาน Dashboard และ Score ที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทราบและเข้าใจปัญหางานขนส่งของบริษัทได้ง่ายและเร็วขึ้น เสริมความปลอดภัยในการขับรถและทรัพย์สิน ลดต้นทุนการขนส่งจากค่าใช้จ่ายพลังงานเชื้อเพลิงสิ้นเปลืองจากพฤติกรรมการขับรถไม่ถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลนี้มาปรับปรุงการขับรถเพื่อรักษาเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้ยาวนาน ตลอดจนการเก็บข้อมูลการใช้รถเพื่อวางแผนการบำรุงรักษาได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังมีระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง (Maintenance Management System) เช็คสภาพยานพาหนะก่อนและหลังการขับขี และสรุปผลการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายผ่าน Maintenance Dashboard นางวรินทรกล่าวทิ้งท้าย