วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 เวลา 1100 น. ที่ผ่านมา นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน พร้อมทั้ง รองประธาน / เลขาธิการ /รองเลขาธิการ / ผู้ช่วยเลขาธิการ/ คณะกรรมการบริหารหอการค้าไทย-จีน
ณ หอประชุมใหญ่ ชั้น 9 อาคารหอการค้าไทย-จีน เนื่องในโอกาส พูดคุย ถึงสถานการณ์การค้า การท่องเที่ยว และการลงทุนไทย-จีน”และงานพบปะสังสรรค์สื่อมวลชน จากทุกสำนักข่าว
นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน ได้กล่าวว่าขอขอบคุณทุกท่าน ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่า ให้เกียรติเข้าร่วมงานพบปะสังสรรค์สื่อมวลชน ของหอการค้าไทย-จีน ในวันนี้ ตามที่ผมได้รับเกียรติ ทำหน้าที่ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน สมัยที่ 27 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563 และปัจจุบันนี้ ผม ได้รับเกียรติ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน สมัยที่ 28 ติดต่อกันเป็นสมัยที่สอง ก็เป็นเวลากว่าสองปีมาแล้ว พร้อมๆกับการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมากมาย ผม เชื่อมั่นว่าพวกเราทุกคนเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโควิดอย่างไรให้ปลอดภัย
ในโอกาสนี้ ประธานกรรมการ หอไทย-จีน กล่าวว่า ขอขอบคุณท่านสื่อมวลชน ทุกสำนัก ไม่ว่าจะเป็นสื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร/ สื่อทีวี / และสื่อออนไลน์ ที่ให้การสนับสนุนเผยแพร่กิจกรรมหอการค้าไทย-จีน สู่สาธารณะ โดยเฉพาะการรายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น หอการค้าไทย-จีน รายไตรมาส [ซึ่งเป็นการสะท้อนมุมมองของคณะกรรมการ และสมาชิกหอการค้าไทย-จีน เป็นอย่างดี] ทำให้ บทบาทของหอการค้าไทย-จีน เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ปีนี้ หอการค้าไทย-จีน ก่อตั้งมาครบรอบ 112 ปี ยังคงรักษา บทบาทภารกิจหลัก
เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนในทุกมิติ กล่าวคือ ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และคณะกรรมการบริหารหอการค้าไทย-จีน คาดหวังว่าจะสามารถนำคณะไปเยือนประเทศจีน หลังจากการแพร่ระบาด โควิด-19 มีสถานการณ์ดีขึ้น และจีนมีนโนบายเปิดประเทศต้อนรับนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยไม่มีข้อจำกัด เช่น มาตรการการกักตัว และมีการเพิ่มเที่ยวบินตรง ระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองสำคัญๆ ของจีน ถึงแม้ว่า ประเทศจีน จะยังไม่เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่การค้าระหว่างไทยและจีน ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และประเทศจีน ยังคงเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย เป็นเวลา 9 ปี ติดต่อกัน ช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ (หรือระหว่างมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565) การค้าระหว่างไทยและจีน ขยายตัว 16% /มีมูลค่า 17,095 ล้านเหรียญสหรัฐ/ หรือมีสัดส่วน 18% ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทย ส่วนการส่งออกไปจีน ขยายตัว 4.78% และ การนำเข้าจากจีน ขยายตัว 21.73% ส่งผลประเทศไทยเสียเปรียบดุลการค้า 6,815 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ ทาง มีความเห็นว่า ถึงแม้ประเทศไทยกำลังเผชิญความท้าทายใหม่ๆ เช่น ผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และ ภาวะเงินเฟ้อ
แต่ การค้าระหว่างไทยกับจีน ยังมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อีกมาก ผม ขอหยิบยก มา 2 -3 ประเด็น คือ ประเด็นแรก คือ การใช้ประโยชน์จาก ความตกลงอาร์เซป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นมา ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2565 นี้ มีรายงานจากกรมการค้าต่างประเทศ ของไทย ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ผู้ประกอบการไทยมีการใช้ประโยชน์จากความตกลงอาร์เซป ส่งออกไปยังตลาด
หลัก คือ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ และมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นการส่งออกภายใต้ความตกลงอาร์เซปรายการ มกราคม-กุมภาพันธ์ 2565
ญี่ปุ่น 540.36 ล้านบาทจีน 453.95 ล้านบาทเกาหลีใต้ 171.21 ล้านบาท เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ส่งออกไทยไปจีน ภายใต้ความตกลงอาร์เซป ส่วนใหญ่ได้รับการลดภาษีในระดับที่เท่ากับกรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน คือ เป็น 0% แต่เนื่องจาก ความตกลงอาร์เซป มีข้อกำหนดเรื่องการตรวจปล่อยสินค้าที่ชัดเจน คือ กรณีที่เป็นสินค้าเน่าเสียง่าย จะได้รับการตรวจปล่อยพิธีการศุลกากร ภายใน 6 ชั่วโมง และสำหรับสินค้าทั่วไปให้การตรวจปล่อยภายใน 48 ชั่วโมง จึงคาดว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกของไทย มาขอให้สิทธิภายใต้อาร์เซป กันมากขึ้น เนื่องจากสามารถวางแผนการนำเข้าส่งอออกสินค้าล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้า ผลไม้สด เช่น ทุเรียนสด ฝรั่ง มะม่วง มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ลางสาด มะพร้าวทั้งกะลา ตลอดจน มันสำปะหลัง และ รถยนต์และยานยนต์ขนส่งบุคคล เป็นต้น ประเด็นที่สอง คือ การเชื่อมโยงโครงการรถไฟความเร็วสูง จีน-ลาว-ไทย เป็นโอกาสที่สำคัญ ในการส่งเสริมกระจายสินค้าไทยเข้าไปยังประเทศจีนอีกช่องทางหนึ่ง โดยเฉพาะพื้นที่มณฑลตอนในของจีน
นอกจากนี้ จากการเยือนจีนของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เมื่อวันที่ 2 เมษายน ทางรัฐบาลจีน ยังเน้นความสำคัญ “การเร่งรัดก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ให้เชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาว” ซึ่งจะสนับสนุนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านบริการโลจิสติกส์ของประเทศ ต่อไป ส่วนประเด็นสุดท้าย คือ หอการค้าไทย-จีน รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้ประกออบการชาวจีนโลก (WCEC) สมัยที่ 16 ระหว่างวันที่ 20-22 พฤษภาคม 2566 ที่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการชาวจีนจากทั่วโลก กว่า 3,000 คน เข้าร่วมประชุม และสำรวจลู่ทางการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวในประเทศไทย ทางหอการค้าไทย-จีน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดประชุม WCEC สมัยที่ 16 ในปีหน้านี้ จะมีส่วนช่วยสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยหลังจากการระบาดของโควิด-19
ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน กล่าวเพิ่มเติมว่า และเนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ทีใกล้จะถึงนี้ ผม ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดดลบันดาลให้ทุกท่าน ประสบแต่ความสุขความเจริญ สุขภาพแข็งแรง คิดสิ่งใดสมความปรารถนา ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน กล่าวท้ายที่สุด