นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมคณะ กฟผ. ร่วมพิธีเปิดการประชุมเมืองอั จฉริยะนานาชาติครั้งที่ 10 หรือ 10th IEEE International Smart Cities Conference (IEEE ISC2 2024) ซึ่งสมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริ ปเปิลอี (ประเทศไทย) จัดเป็นครั้งแรกของไทยและอาเซี ยน ภายใต้แนวคิด “เมืองอัจฉริยะ : การปฏิวัติเพื่อมนุษยชาติ” (Smart Cities: Revolution for Mankind) เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ด้านการพัฒนาเมื องอัจฉริยะ (Smart City) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรชั้ นนำทั่วโลก ผ่านเวทีการเสวนาและการบรรยายพิ เศษ อีกทั้งมีการจัดแสดงนิ ทรรศการนำเสนอนวั ตกรรมและเทคโนโลยีที่น่าสนใจ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมรอยัล คลิฟ แกรนด์ พัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567
นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ กฟผ. ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษในพิธีเปิด โดยระบุว่า กฟผ. มีโครงการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิ ด Smart City โดยประยุกต์ใช้นวั ตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ที่ อาศัยในพื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งมีโครงการที่โดดเด่น เช่น โครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ (Mae Moh Smart City) จ.ลำปาง เป็นการเตรียมพร้อมหลังจากปิ ดเหมืองแม่เมาะในอนาคต สู่การเป็นเมืองเศรษฐกิจคาร์ บอนต่ำภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy Model) และโครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ ทกริด (Smart Grid) ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต้นแบบการนำสมาร์ทกริดมาใช้บริ หารจัดการระบบไฟฟ้า นำไปสู่การพัฒนาแม่ฮ่องสอนให้ เป็นต้นแบบเมืองสีเขียวที่มี ความมั่นคงในด้านพลังงาน
ในโอกาสนี้ นายสุชาติ ตุ่นแก้ว ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ กฟผ. ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ Sustainable Innovation for People-Centric Smart City ว่า กฟผ. มีเป้าหมายในการเปลี่ยนจากพลั งงานฟอสซิลเป็นพลั งงานสะอาดในอนาคต โดยมีแผนจะปิดโรงไฟฟ้าแม่ เมาะภายในปี 2585 ซึ่งกระทบกับการจ้างงานในพื้นที่ กฟผ. จึงเดินหน้าโครงการ Mae Moh Smart City พัฒนาโดยเน้น 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) Smart Environment พัฒนาเทคโนโลยีตรวจสอบคุ ณภาพอากาศ การจัดการขยะทางการเกษตร และพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Platform) ตัวช่วยตัดสินใจและบริหารจั ดการทรัพยากร 2) Smart Energy มุ่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวี ยน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และชีวมวล ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และ 3) Smart Economy สนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนผ่านการฝึ กอบรมการทำเกษตรกรรมแนวตั้ งและเกษตรอินทรีย์ สำหรับแผนระยะยาวนั้นเน้ นโครงการที่มุ่งเน้นการสร้ างการเติบโตและนวัตกรรมแบบก้ าวกระโดด (S-Curve Projects) เช่น การพัฒนาพลังงานหมุนเวียน 100% (RE100) และการสร้างเขตอุตสาหกรรมพลั งงานสีเขียว เป็นต้น