เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการจั ดอบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้ าใจพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรั บเป็นพินัย พ.ศ. 2565 กฎหมายลำดับรองที่ ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าว และร่างพระราชบัญญัติประกันภั ยทางทะเล พ.ศ. …. จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้ างความรู้ความเข้าใจให้แก่พนั กงานเจ้าหน้าที่สำนักงาน คปภ. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้ วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 กฎหมายลำดับรองที่ ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าว และร่างพระราชบัญญัติประกันภั ยทางทะเล พ.ศ. …. ซึ่งกำหนดสิทธิหน้าที่และความรั บผิดของคู่สัญญาตามกฎหมาย โดยมีรากฐานแนวคิ ดมาจากกฎหมายประกันภั ยทางทะเลของอังกฤษอันเป็นหลั กการสากลที่นานาประเทศใช้เป็นต้ นแบบในการพัฒนากฎหมายประกันภั ยและกฎหมายประกันภัยทางทะเล และสำนักงาน คปภ. ได้นำมาเป็นต้นแบบในการพั ฒนากฎหมายการประกันภั ยทางทะเลของประเทศไทย เช่นเดียวกัน โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่ าวได้ผ่านการพิ จารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และปัจจุบันอยู่ระหว่ างการเสนอร่างกฎหมายต่อคณะรั ฐมนตรี เพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบก่อนนำเข้าสู่ การพิจารณาของสภานิติบัญญัติต่ อไป
ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า สำนักงาน คปภ. มีเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ขั บเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยให้ เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพของของบุ คลากร รูปแบบและกระบวนการทำงานให้มี ความพร้อม คล่องตัว และปรับตัวได้เท่าทันกั บสถานการณ์ที่เปลี่ ยนแปลงตลอดเวลา ภายใต้ความมุ่งหมายดังกล่าวจึ งได้ส่งเสริมให้พนักงานเจ้าหน้ าที่ในด้านต่าง ๆ เข้าร่วมอบรมหลักสูตรอบรมความรู้ ที่สายงานกำหนดหรือหน่ วยงานภายนอกได้จัดขึ้นเพื่อพั ฒนาทักษะ และศักยภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้สามารถปฏิบัติภารกิจให้เกิ ดประสิทธิภาพสูงสุด
สำหรับการอบรมครั้งนี้แบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก ๆ คือ เรื่องแรก เป็นการอบรมเกี่ยวกับหลั กการของกฎหมายว่าด้วย การปรับเป็นพินัย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อแก้ ปัญหาภาวะกฎหมายอาญามีมากเกิ นจำเป็นหรือกฎหมายเฟ้อ (Over Criminalization) อันเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรั ฐธรรมนูญที่ต้ องการกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิ ดร้ายแรงเท่านั้น โดยกฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคั ญเป็นการกำหนดให้ความผิ ดทางอาญาที่มีโทษปรับสถานเดี ยวตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงกฎหมายที่อยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของสำนักงาน คปภ. อาทิ พ.ร.บ. คปภ. พ.ร.บ. ประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย และ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กลายเป็นโทษที่ต้องดำเนินการปรั บเป็นพินัยซึ่งไม่ใช่ โทษทางอาญาที่มีประวัติ อาชญากรรมติดตัวอีกต่อไป โดยปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มี การกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติ งานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการแสวงหาข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐาน การชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหา การชำระค่าปรับเป็นพินัยผ่ านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงระเบียบปฏิบัติในการปรั บเป็นพินัย ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคั ญในการพิ จารณาและกำหนดมาตรการลงโทษ สำหรับความผิดที่มีโทษปรั บสถานเดียว
ทั้งนี้ การอบรมกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็ นพินัยในครั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจากวิ ทยากรของสำนั กงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จั ดทำกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพิ นัยโดยตรง มาบรรยายให้ความรู้เพื่อให้พนั กงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. มีความรู้ความเข้ าใจและสามารถใช้กฎหมายดังกล่ าวได้อย่างมั่นใจและเกิดประสิ ทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และเรื่องที่สอง เป็นการอบรมเกี่ยวกับหลั กการสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ประกันภัยทางทะเล สำนักงาน คปภ. ได้เล็งเห็นถึงความสำคั ญในการกำหนดมาตรฐานของธุรกิ จประกันภัยทางทะเลให้เป็นที่ ยอมรับในระดับสากล เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่ อนอุตสาหกรรมประกันภัย ทางทะเลของไทยให้เติบโตขึ้ นและสามารถแข่งขันในเวทีการค้ าระหว่างประเทศได้
“การจัดอบรมครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ งในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายทั้ง 2 เรื่องข้างต้น เพื่อเพิ่มศักยภาพให้พนักงานเจ้ าหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. ที่ต้องปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ ยวข้องได้รับทราบแนวทางในการบั งคับใช้และการดำเนิ นการตามพระราชบัญญัติดังกล่ าวไปในแนวทางเดียวกัน มีมาตรฐาน และเป็นธรรม อันจะส่งผลให้การกำกับดูแลธุรกิ จประกันภัยให้มีประสิทธิ ภาพและอยู่ภายใต้หลักธรรมาภิ บาลที่ดีเป็นสำคัญ” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย