รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลั งได้มีคำสั่งที่ 1364/2567 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิ จประกันวินาศภัยของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภั ย พ.ศ. 2535 ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป และคณะกรรมการกำกับและส่งเสริ มการประกอบธุรกิจประกันภัย (คณะกรรมการ คปภ.) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภั ย พ.ศ. 2535 มีคำสั่งคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภั ยที่ 19/2567 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 แต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภั ยเป็นผู้ชำระบัญชี บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเป็นมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตลอดจนการเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับไม่ให้ผู้บริโภคได้ รับผลกระทบ
เนื่องจากปรากฏหลักฐานต่ อนายทะเบียนว่า บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะและการดำเนินการอยู่ในลั กษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิ ดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภั ยหรือประชาชน ดังปรากฏข้อเท็จจริง ตามที่นายทะเบียนได้ออกคำสั่ งนายทะเบียนที่ 36/2565 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 ให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) “บริษัท” แก้ไขฐานะและการดำเนิ นการตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภั ย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบั ญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้บริษัทเพิ่มทุ นและแก้ไขฐานะการเงินให้เพี ยงพอต่อภาระผูกพันและให้มีอั ตราส่วนของเงินกองทุนเพี ยงพอตามที่กฎหมายกำหนดภายใน 1 ปี
อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ดำเนินการเพิ่มทุ นและแก้ไขฐานะการเงินให้เป็ นไปตามคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว แต่กลับอาศัยกระบวนการฟื้นฟูกิ จการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟู กิจการและแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ คู่ความทุกฝ่ายทราบผลคำสั่ งตามกฎหมายแล้ว อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิ จการและทรัพย์สิน จึงกลับไปเป็นของผู้บริ หารของบริษัท และผู้ถือหุ้นของบริษัท ทำให้บริษัทสามารถเคลื่อนย้ ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษั ทได้ ประกอบกับบริษัทมีหนี้สินมากกว่ าทรัพย์สิน และมีอัตราส่วนความเพี ยงพอของเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ ที่กฎหมายกำหนด บริษัทจึงมีฐานะและการดำเนิ นการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุ ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ เอาประกันภัยหรือประชาชน คณะกรรมการ คปภ. จึงเห็นชอบให้นายทะเบียนใช้ อำนาจตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภั ย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบั ญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 สั่งให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่ วคราว ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 48/2566 เรื่อง ให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่ วคราว ตามมาตรา 52 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติ ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบั ญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2566
นอกจากนี้ ได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทมี หนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จัดสรรเงินสำรองตามมาตรา 23 ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้ สินและภาระผูกพันตามมาตรา 27/4 ไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เพี ยงพอสำหรับการเรียกร้องค่าสิ นไหมทดแทน มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงิ นกองทุนตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภั ย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบั ญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีฐานะการเงินไม่มั่ นคงและไม่เพียงพอ
ต่อภาระผูกพัน รวมถึงบริษัทไม่มี แนวทางในการแก้ไขฐานะการเงิน มีประวิงการจ่ายค่าสิ นไหมทดแทนที่ต้องจ่ายโดยไม่มี เหตุอันสมควรอันทำให้ผู้ เอาประกันภัยและประชาชนได้รั บความเสียหาย อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบั ญญัติแห่งกฎหมายหลายประการ บริษัทไม่มี ความสามารถและความพร้อมที่จะรั บประกันภัยและประกอบธุรกิจประกั นวินาศภัยได้ต่อไป
ทั้งนี้ หากให้ประกอบธุรกิจประกันวิ นาศภัยต่อไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่ อประชาชนหรือผู้เอาประกันภัย ตลอดจนความน่าเชื่อถือของธุรกิ จประกันภัย ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภั ย พ.ศ. 2535 มีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุ ญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภั ยของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป
เนื่องจาก การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิ จประกันวินาศภัยของ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นปัญหาฐานะการเงินและการจั ดการภายในของบริษัทจึงจะไม่ส่ งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงิ นหรือสภาพคล่องของบริษัทประกั นวินาศภัยอื่น หรือธุรกิจประกันภัยในภาพรวมแต่ อย่างใด ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้เตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับมิให้ผู้บริโภคได้รั บผลกระทบแล้ว
ทั้งนี้ ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกั นภัยของบริษัท และเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้ าหนี้ตามสัญญาประกันภัยให้ยื่ นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกั นวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวิ นาศภัยประกาศกำหนด โดยการยื่นจะดำเนินการผ่ านระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ทั้งนี้ กองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ ชำระบัญชี จะประกาศแจ้งให้ทราบถึงกำหนดวัน เวลา และวิธีการยื่นคำทวงหนี้อีกครั้ ง เพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยื่นคำทวงหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี ตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ ในมาตรา 61/3 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภั ย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น จึงขอให้บรรดาเจ้าหนี้ของบริษั ทโปรดติดตามประกาศของกองทุ นประกันวินาศภัยอย่างใกล้ชิด ได้ที่เว็บไซต์กองทุนประกันวิ นาศภัย www.gif.or.th และ Facebook Fanpage “กองทุนประกันวินาศภัย” โดยการจัดตั้งกองทุนประกันวิ นาศภัยขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่ อช่วยเหลือเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิ ได้รับชำระหนี้ที่เกิ ดจากการเอาประกันภัย ในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุ ญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย โดยเจ้าหนี้ฯ มีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิ ดจากสัญญาประกันภัยจากกองทุ นประกันวินาศภัย ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่ได้รั บการเฉลี่ยจากหลักทรัพย์ประกั นและเงินสำรองที่วางไว้กั บนายทะเบียนแล้ว ไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่กองทุ นประกันวินาศภัย หรือสำนักงาน คปภ. www.oic.or.th หรือสายด่วน คปภ. 1186