ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis : RIA) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ให้แก่พนักงานสำนักงาน คปภ. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565
เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนหนึ่งว่า ตามแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน คปภ. ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2564 – 2566) มีพันธกิจในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยให้มีเสถียรภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และมีธรรมาภิบาล ส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันภัยให้ยั่งยืน สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง และสอดคล้องกับกติกาสากล รวมถึงคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน โดยเครื่องมือหนึ่งในการทำให้พันธกิจดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ คือ การออกกฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลและพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้เป็นกฎหมายที่ดี มีคุณภาพ และเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว จะต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย โดยในปีนี้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติประกันชีวิตฯ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ รวมทั้งอนุบัญญัติที่ออกตามความกฎหมายแม่บทดังกล่าวด้วย ส่วนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ และพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยฯ จะได้ดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ในปี 2566
สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis : RIA) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายให้แก่พนักงานสำนักงาน คปภ. ในครั้งนี้
สำนักงาน คปภ. ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ยกร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 อันเป็นหลักการตามแนวนโยบายของมาตรา 77 แห่งรัฐธรรมนูญ มาอบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานสำนักงาน คปภ. ในเชิงปฏิบัติการ (Workshop) พร้อมฝึกภาคปฏิบัติครอบคลุมเนื้อหา 3 หัวข้อหลัก คือ หัวข้อแรก การทำ RIA กฎหมายและกฎ เพื่อแนะนำและฝึกให้พนักงานของสำนักงาน คปภ. ทดลองทำแบบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายตามแบบฟอร์มที่ใช้งานจริง โดยใช้โจทย์เป็นอนุบัญญัติของสำนักงาน คปภ. เพื่อให้เห็นภาพกระบวนการที่เป็นรูปธรรมของแนวคิด วิธีการ และเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล การระบุสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ วิธีการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา การใช้หลักเหตุผลและความจำเป็นที่รัฐควรเข้าแทรกแซงโดยเลือกใช้มาตรการทางกฎหมาย ซึ่งรวมไปถึงแนวทางการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุม และรูปแบบการเปิดรับฟังความคิดเห็นที่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้จะได้เรียนรู้หลักการสำคัญของการวิเคราะห์ผลกระทบที่ต้องคำนึงถึงทั้งมิติทางด้านเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนการประยุกต์ใช้หลักความได้สัดส่วน (Principle of Proportionality) เช่น การใช้ Standard Cost Model วิธีการคำนวณภาระต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎหมาย มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการชั่งน้ำหนักระหว่างผลกระทบกับความคุ้มค่าของการออกกฎหมายตามหลักคิดสากล
หัวข้อที่ 2 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายและกฎ ซึ่งเป็นขั้นตอนและกระบวนการควบคุมคุณภาพของกฎหมายหลังจากที่กฎหมายได้ออกมาใช้บังคับแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องประเมินผลสัมฤทธิ์กฎหมายและกฎของตัวเองทุกรอบระยะเวลา 5 ปี โดยกำหนดให้มีการประเมินรอบแรกสำหรับพระราชบัญญัติที่มีผลใช้บังคับก่อนปี 2562 ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2568 ซึ่งสำนักงาน คปภ. มีภารกิจที่ต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายและกฎที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลรวม 5 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัยฯ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ พ.ร.บ.คปภ.ฯ และ พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติฯ ดังนั้น การอบรม Workshop ตามหัวข้อนี้จะทำให้พนักงานของสำนักงาน คปภ. มีองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำมาวิเคราะห์ว่ากฎหมายที่ออกไปแล้วนั้น สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แต่แรกเพียงใด เกิดภาระหรือผลกระทบที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ มีอุปสรรคและปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายอย่างไร มีสถิติการดำเนินคดีมากน้อยเพียงใด เพื่อนำมาสู่ขั้นตอนของการประเมินผลสัมฤทธิ์ว่ากฎหมายหรือกฎดังกล่าวยังคงจำเป็นต้องดำรงอยู่ หรือควรปรับปรุง หรือควรให้ยกเลิกไป โดยต้องจัดทำข้อมูลตามแบบฟอร์มรายงานการประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามที่กำหนด
และหัวข้อที่ 3 การแนะนำการใช้งาน “ระบบกลางทางกฎหมาย” (Law Portal) ซึ่งเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ตาม พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมกฎหมายของภาครัฐให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้จากแหล่งเดียว ตามเจตจำนงของมาตรา 77
แห่งรัฐธรรมนูญที่มุ่งหมายให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายได้โดยสะดวก เข้าใจกฎหมายได้ง่าย และสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ ระบบกลางทางกฎหมายยังถูกกำหนดให้เป็นช่องทางสื่อสารหลัก ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐทุกแห่งใช้เป็น Platform ในการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับร่างกฎหมายและกฎของตนเอง คำอธิบายกฎหมาย คำแปลกฎหมาย รายงาน RIA รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ รวมทั้งยังเป็นเวทีเปิดเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสะท้อนและแสดงออกซึ่งความคิดเห็นต่อกฎหมายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น ในการปฏิบัติภารกิจด้านการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายรวมถึงอนุบัญญัติของสำนักงาน คปภ. ต่อจากนี้ จะต้องดำเนินการผ่านระบบกลางทางกฎหมายเป็นหลัก ควบคู่ไปกับวิธีการเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางเว็บไซต์ของสำนักงาน หรือจัดประชุม Focus Group หรือวิธีการอื่นดังเช่นที่ปฏิบัติอยู่เดิมซึ่งเป็นไปตามความเหมาะสม เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ของการได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพอันจะนำไปสู่การตัดสินใจที่มีคุณภาพ และก่อเกิดเป็นกฎหมายที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
“การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis : RIA) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ที่จัดให้กับพนักงานสำนักงาน คปภ. ในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องเร่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และสร้างประสบการณ์การปฏิบัติงานเสมือนจริงเพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานสำนักงาน คปภ. โดยการเรียนรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่เป็น Authority ในเรื่องนี้ ซึ่งหากพนักงานของสำนักงาน คปภ. เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะทำให้การนำเอากฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยเกิดประสิทธิภ