นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการ “สร้างการตระหนักรู้เพื่อรับมื ออุทกภัยในยุคการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน” ณ ห้องประชุมชั้น 2 สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสู ง สำนักงาน คปภ. (รัชดาภิเษก) กรุงเทพมหานคร ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวโดยมีใจความที่สำคั ญตอนหนึ่งว่า จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ประเทศไทยเผชิญกับภัยพิ บัติทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากเหตุการณ์ในช่วงเดื อนกันยายนที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุ ดีเปรสชันและพายุโซนร้อนทำให้พื้ นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือตอนบน มีฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างต่ อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงสภาพความเป็นอยู่ ของประชาชน ตลอดจนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยเมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนที่ ผ่านมา สำนักงาน คปภ. และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ได้ร่วมกันลงพื้นที่เร่งระดมให้ ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้ นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภั ยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือ โดยจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือด้ านการประกันภัยขึ้นในแต่ละจั งหวัด เพื่อเปิดรับแจ้งเหตุและให้ข้ อมูลด้านการประกันภัยในทุก ๆ ช่องทาง พร้อมทั้งประสานงานและติ ดตามการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็ นไปอย่างถูกต้องรวดเร็ว
ทั้งนี้ จากการประเมินความเสี ยหายของรถยนต์และทรัพย์สินที่ เอาประกันภัยในเบื้องต้น พบว่ามูลค่าความเสียหายที่ ทำประกันภัยรวมกว่า 420 ล้านบาท เป็นรถยนต์ที่เสียหายมากกว่า 2,000 คัน ประมาณการสินไหม 408 ล้านบาท อาคารบ้านเรือนและร้านค้าเสี ยหายกว่า 865 หลังคาเรือน ประมาณการสินไหมไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท รวมถึงข้าวนาปี ที่ทำประกันภัยไว้เสียหายมากกว่ า 100,000 ไร่ ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินค่าสิ นไหมทดแทน
นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่ าจะยังคงมีฝนตกหนักต่อเนื่ องไปจนถึงเดือนตุลาคม ประกอบกับช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ภาคใต้ของไทยจะได้รับอิทธิ พลจากพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอุ ทกภัย ในอีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมแผนรองรั บการเกิดเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้ นอย่างต่อเนื่อง สำนักงาน คปภ. ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย จึงได้จัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการด้านการประกันภั ย เพื่อบริหารจัดการและช่วยเหลื อประชาชนในสถานการณ์ภัยพิบัติ หรือศูนย์ ICD เพื่อกำหนดนโยบายมาตรการด้ านการประกันภัยให้ความช่วยเหลือ ผู้เอาประกันภัย ดำเนินมาตรการเชิงสังคมเพื่อช่ วยเหลือประชาชน และมาตรการรองรับการเกิดภัยพิบั ติที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงสร้างความตระหนักเกี่ยวกั บการประกันภัยให้สามารถรับมือกั บภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ
เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า สำนักงาน คปภ. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่ งเสริมและสนับสนุนความรู้ ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว จึงจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “สร้างการตระหนักรู้เพื่อรับมื ออุทกภัยในยุคการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน” โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญคณะทำงานระหว่างรั ฐบาลว่าด้วยการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บรรยายในหัวข้อ “แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้ านสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่ อการเกิดอุทกภัยในประเทศไทย” เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนรั บมือการเกิดอุทกภัย นอกจากนี้ได้จัดเวทีร่วมกั นถอดบทเรียนและแชร์ประสบการณ์ผ่ านการเสวนาในหัวข้อ “อุตสาหกรรมประกันภั ยและบทบาทในการบริหารความเสี่ ยงเพื่อรับมือภัยน้ำท่วม” โดยมี นางสาววสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการ ด้านกำกับคนกลางและประกันภัยภู มิภาค สำนักงาน คปภ. ดร.พงษ์ภาณุ ดำรงศิริ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันวิ นาศภัยไทย นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชี วิตไทย และ นายจำนง สวัสดิ์วงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งถือเป็นการบูรณาการร่วมกั นระหว่างหน่วยงานภาครัฐและอุ ตสาหกรรมประกันภัย อันจะนำไปสู่การพัฒนามาตรการที่ ครอบคลุมและเป็นระบบในการรับมื อกับอุทกภัยที่จะช่วยให้เกิ ดการป้องกัน การฟื้นฟู และการเยียวยาผู้ประสบอุทกภั ยอย่างยั่งยืน
“อุทกภัยที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ งได้สร้างความเสี ยหายมากมายมหาศาล ดังนั้นการทำประกันภัยจึงเป็นอี กหนึ่งทางเลือกของการบริ หารความเสี่ยงภัยจากธรรมชาติ ในขณะเดียวกันวิกฤตก็ถือเป็ นโอกาสให้ประชาชนเกิดความตระหนั กถึงความสำคัญของการประกันภัยที่ สามารถช่วยบรรเทาความสูญเสี ยและลดความเสียหายที่เกิดจากภั ยพิบัติทางธรรมชาติอย่างเป็ นระบบเช่นกัน” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย