“คำสั่งนายทะเบียนฯ ดังกล่าว ซึ่งได้ปรับเพิ่มเติมนั้น เป็นมาตรการระยะสั้นเพื่อช่
คปภ. ประกาศให้บริษัทประกันภัยเริ่มใช้สัญญาประกันภัยสุขภาพมาตรฐานใหม่ สำหรับการขายให้ลูกค้ารายใหม่ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ส่วนกรมธรรม์แบบเดิม ให้ขายได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565
ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน คปภ. ได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 14/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็ นชอบแบบและข้อความสัญญาเพิ่มเติ มการประกันภัยสุขภาพ ประเภทสามัญ แบบมาตรฐาน สำหรับบริษัทประกันชีวิต และคำสั่งนายทะเบียนที่ 15/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็ นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกั นภัยสุขภาพ แบบมาตรฐาน สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วั นที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เพื่อกำหนดแบบและข้อความสั ญญาประกันภัยสุขภาพ ที่เสนอขายโดยบริษัทประกันชีวิ ตและบริษัทประกันวินาศภัย ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และมีเงื่อนไขความคุ้มครองที่ สอดคล้องกับเทคโนโลยี วิธีการรักษาทางการแพทย์และวิวั ฒนาการทางการแพทย์ที่เปลี่ ยนแปลงไป มีความยั่งยืน เป็นธรรม รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของรั ฐบาลในเรื่องการปฏิรู ประบบสาธารณสุข ตลอดจนมีการกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกั บการมีส่วนร่วมจ่าย (Copayment) เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริ หารความเสี่ยงของระบบการประกั นภัยสุขภาพให้เกิดความยั่งยืน
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเกี่ยวกับสาระสำคัญของคำสั่ งนายทะเบียนทั้งสองฉบับ ซึ่งได้ปรับปรุงเพิ่มเติมโดยสรุ ปดังนี้
1. กำหนดคำนิยามให้ครอบคลุมกับวิวั ฒนาการทางการแพทย์ เช่น การผ่าตัดใหญ่ การผ่าตัดเล็ก และการผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้ าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery) เป็นต้น
2. กำหนดผลประโยชน์ เป็นหมวดมาตรฐาน 13 หมวด ได้แก่ ผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน หมวดที่ 1 ค่าห้องและค่าอาหาร หมวดที่ 2 ค่าบริการทางการแพทย์เพื่ อตรวจวินิจฉัย หมวดที่ 3 ค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หมวดที่ 4 ค่ารักษาพยาบาล โดยการผ่าตัดและหัตถการ หมวดที่ 5 การผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพั กรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน และผลประโยชน์กรณีไม่ต้องเข้าพั กรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หมวดที่ 6 ค่าบริการทางการแพทย์เพื่ อตรวจวินิจฉัยที่เกี่ยวข้ องโดยตรงก่อนและหลังการพักรั กษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หมวดที่ 7 ค่ารักษาพยาบาลการบาดเจ็บ กรณีผู้ป่วยนอก ของการเกิดอุบัติเหตุ หมวดที่ 8 ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟู หลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ ป่วยใน หมวดที่ 9 ค่าบริการทางการแพทย์เพื่ อการบำบัดรักษาโรคไตวายเรื้อรัง หมวดที่ 10 ค่าบริการทางการแพทย์เพื่ อการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยรังสีรักษา หมวดที่ 11 ค่าบริการทางการแพทย์เพื่ อการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยเคมีบำบัด หมวดที่ 12 ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน และหมวดที่ 13 ค่ารักษาพยาบาล โดยการผ่าตัดเล็ก
3. กำหนดเงื่อนไขการต่ออายุกรณี ครบรอบปีกรมธรรม์ (Renewal) ขั้นต่ำจนถึงอายุ 69 ปี พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ให้ สามารถนำเงื่อนไขมีค่าใช้จ่ายร่ วม (Copayment) สูงสุด 30% และการให้ส่วนลดเบี้ยประกันภั ยจากการมีค่าใช้จ่ายร่วม
4. กำหนดเงื่อนไขให้บริษัทไม่ สามารถปฏิเสธการต่ออายุกรณี ครบรอบปีกรมธรรม์ได้ ยกเว้น 3 กรณีเท่านั้น ซึ่งได้แก่ กรณีไม่แถลงข้อความจริ งตามใบคำขอเอาประกันภัย กรณีเรียกร้องผลประโยชน์โดยไม่ มีความจำเป็นทางการแพทย์ และกรณีเรียกร้องผลประโยชน์ค่ าชดเชยรายวันรวมกันทุกบริษัทเกิ นกว่ารายได้ที่แท้จริง
5. กำหนดหลักเกณฑ์การปรับเบี้ ยประกันภัย โดยพิจารณาจากอายุ และชั้นอาชีพของแต่ละบุคคล และค่าใช้จ่ายในการรั กษาพยาบาลที่สูงขึ้น หรือจากประสบการณ์การจ่ายค่าสิ นไหมทดแทนโดยรวมของพอร์ตโฟลิโอ
6. กำหนดให้ส่วนลดประวัติดี กรณีไม่เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเล็ กน้อย สูงสุด 30%
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ รวมถึงภาคธุรกิจประกันภัย ทำให้การเตรียมความพร้ อมโดยเฉพาะการดำเนิ นการของระบบภายในของบริษัทประกั นภัย เช่น ระบบการรับประกันภัย การออกกรมธรรม์ประกันภัย และการจัดทำอัตราเบี้ยประกันภัย ไม่สามารถดำเนินการให้รองรับกั บการใช้สัญญาประกันภัยสุ ขภาพมาตรฐานใหม่ได้ทั นตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ งฯ อีกทั้ง ยังมีบางประเด็นได้แก่ 1) การกำหนดหลักเกณฑ์กลาง ในการพิจารณากำหนดรายการกลุ่ มโรคป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple Diseases) เพื่อกำหนดเป็นเงื่อนไขการพิ จารณาต่ออายุสัญญาแบบมีค่าใช้จ่ ายร่วม (Copayment) และ 2) การจัดทำใบเสร็จรายการค่ารั กษาพยาบาล ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชนิดหรือประเภทของการรั กษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์ หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้ องแสดงตามมาตรา 32 (3) พ.ศ. 2561 ซึ่งรายการตามใบเสร็จดังกล่ าวจะต้องสัมพันธ์กับหมวดความคุ้ มครองตามสัญญาประกันภัยสุ ขภาพมาตรฐาน ซึ่งจำเป็นต้องหารือร่วมกับหน่ วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องเพิ่ มเติม เช่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้ านการประกันภัยที่สะดวก และรวดเร็วขึ้น ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงได้กำหนดแนวทางการใช้สั ญญาประกันภัยสุขภาพ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 – 30 มิถุนายน 2565 เป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพ แบบมาตรฐาน และสัญญาเพิ่มเติมการประกันภั ยสุขภาพ แบบมาตรฐาน ให้บริษัทประกันภั ยสามารถเสนอขายกับลูกค้ารายใหม่ ได้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
กรณีที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพ แบบเดิม และสัญญาเพิ่มเติมการประกันภั ยสุขภาพ แบบเดิม ที่ไม่ใช่แบบมาตรฐาน และได้รับความเห็นชอบก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ผ่อนผันให้บริษัทประกันภั ยสามารถเสนอขายให้กับลูกค้ ารายใหม่ได้ แต่ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2565 โดยให้บริษัททำหนังสือแจ้ งความประสงค์ขอผ่อนผันต่ อนายทะเบียน พร้อมเหตุผลความจำเป็น และให้รับรองว่าได้มีกระบวนบริ หารจัดการ เรื่อง การเสนอขายที่ชัดเจน เพื่อป้องกันข้อร้องเรียน กรณีที่ลูกค้าไม่ทราบว่าเป็นสั ญญาประกันภัยสุขภาพที่ใช้เงื่ อนไขแบบเดิม