พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้รับทราบรายงานสถานการณ์สิ่ งแวดล้อมพ.ศ.2566 ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรั พยากรธรรมชาติจัดทำ โดยพบว่าสถานการณ์คุณภาพสิ่ งแวดล้อมมีทิศทางดีขึ้น เช่น ปริมาณการนำเข้าปุ๋ยและวัตถุอั นตรายทางเกษตร ลดลง ปริมาณการผลิตและการใช้แร่ลดลง การใช้พลังงานทดแทนและพลั งงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าไม้ค่อนข้างคงที่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งประเทศเพิ่ มขึ้น ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปีในอ่ างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำบาดาลคงที่และมีคุ ณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานใช้บริ โภคได้ ความอุดมสมบูรณ์ของทรั พยากรประมงเพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น แนวปะการังมีสภาพสมบูรณ์ดี เป็นต้น แต่ยังมีสถานการณ์ที่ควรเฝ้าติ ดตาม เช่น ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน ขยะพลาสติก ของเสียอันตรายทั้งจากชุ มชนและปริมาณกากของเสียอุ ตสาหกรรม และ ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น
พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวอีกว่า สำหรับการคาดการณ์แนวโน้ มในอนาคต ในระยะสั้น 2 ปี พบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ ที่ดินจาก การขยายตัวของพื้นที่เกษตรและชุ มชน การผลิตและการใช้แร่เพิ่มขึ้น การพึ่งพิงพลั งงานจากภายนอกประเทศเพิ่มขึ้น ปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น ความหลากหลายทางชี วภาพบนบกและในทะเลถูกคุกคาม ความแปรปรวนของสภาพอากาศมี ความชัดเจนมากขึ้น และแนวโน้มการเปลี่ ยนแปลงระยะยาว 10 ปีข้างหน้า ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้ างประชากรและการขยายตัวของเมือง การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงด้านการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทิ ศทางนโยบายระดับประเทศและระหว่ างประเทศจากการคาดการณ์ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในอนาคต จึงมีเสนอข้อเสนอแนะเชิ งนโยบายในการบริหารจัดการทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระยะสั้น ในช่วง 2 ปีข้างหน้า คือ การแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ กจากภาคเกษตร เร่งการจัดการมลพิษที่แหล่ งกำเนิด สร้างความร่วมมือในการนำวัสดุ ทางการเกษตรไปใช้ประโยชน์ จัดทำแผนการเผาวัสดุ ทางการเกษตรและวัสดุเชื้อเพลิ งในพื้นที่วิกฤต จัดทำแผนและดำเนินงานป้องกั นหมอกควันข้ามแดนร่วมกั บประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเป็นรูปธรรม การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่ อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรั พยากรแร่ให้มีการใช้ทรัพยากรแร่ อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนการวิจัยการใช้นวั ตกรรมหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่ วยในการผลิตและพัฒนา ทรัพยากรแร่ การแปรรูปวัตถุดิบ เศษแร่ และการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่ องภายในประเทศ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ถอดบทเรียนและขยายผลมาตรการปรั บัตัวโดยอาศัยระบับนิเวศระดับพื้ นที่ สร้างความพร้อมในการปรับตั วของกลุ่มเปราะบางต่อการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ส่วนข้อเสนอแนะระยะยาวในระยะยาว 10 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทิศทาง การพัฒนาประเทศ และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆโดยการจัดระบบสนับสนุนการจั ดการซากแผงโซลาร์เซลล์ และแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าซึ่้ งจะเพิ่มมากขึ้น นำไปกำจัดอย่างถูกต้อง วิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีการจัดการซากที่มี ประสิทธิภาพ การส่งเสริมบทบาทภาคการเงิ นการลงทุนเพื่อการจั ดการความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุน การดำเนินงานตามกรอบงานคุุนหมิ ง-มอนทรีออลว่าด้ วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก การเพิ่มขี ดความสามารถของภาคเกษตรในการปรั บตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ สร้างความตระหนักแก่ภาคเกษตรถึ งผลกระทบจากการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้ น การส่งเสริมการบริโภคและการบริ การที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้ อมอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นไปตามทิศทางการพัฒนา ประเทศและระหว่างประเทศ ลดและคัดแยกขยะ ส่งเสริมความร่วมมือของผู้ ประกอบการท่องเที่ยวในการดำเนิ นกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่ งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกั บมาตรฐานสินค้าและบริการที่ สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวี ยน การเกษตรยังยืน การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่ งยืนการท่องเที่ยวยังยืน ให้ผู้บริโภครับทราบ พร้อมขยายตลาด สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้ อม ทั้งนี้จะมีการขับเคลื่ อนนโยบายอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้สถานการณ์สิ่งแวดล้ อมไทยอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างยั่งยื น