พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์ สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวเนื่องในวันสัปดาห์พะยู นแห่งชาติ ประจำปี 2567 ว่า ทุกวันที่ 17 สิงหาคมของทุกปี กำหนดให้เป็นวันอนุรักษ์พะยู นแห่งชาติ และเป็นการระลึกถึ งการจากไปครบรอบ 5 ปีของลูกพะยูนน้อยมาเรี ยมและยามีล รวมถึงสร้างความตระหนักในการฟื้ นฟูแหล่งหญ้าทะเลและแหล่งที่อยู่ อาศัยของพะยูนให้สมบูรณ์ โดยวันนี้ (17 ส.ค. 67) ตนได้มอบหมายให้นายโกเมนทร์ ทีฆธนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่ าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่จังหวัดตรัง เพื่อเป็นประธานเปิดงานสัปดาห์ วันพะยูนแห่งชาติ ประจำปี 2567 พร้อมร่วมพูดคุยและรับฟังปั ญหาจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ สำหรับ “พะยูน” ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้ มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้ มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2562 ที่ทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันดู แลอย่างจริงจัง ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม (ทส.) ได้ทำงานเพื่อแก้ไขและฟื้นฟูเพิ่ มจำนวนพะยูนในท้ องทะเลไทยมาโดยตลอด ซึ่งภายหลังจากที่เข้ารับตำแหน่ ง ตนพร้อมคณะได้มีโอกาสลงพื้นที่ มายังบ้านเกาะมุกด์ จังหวัดตรัง
เพื่อติดตามสถานการณ์และแก้ไขปั ญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม พร้อมรับฟังปัญหาของชาวบ้าน และมอบหมายให้กรมทรั พยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดตั้งวอร์รูมแก้ไขปัญหาพะยูน 11 จุดเสี่ยง ในพื้นที่ 3 จังหวัดทะเลอันดามัน พร้อมนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้ ในการสำรวจประชากรพะยูนและสัตว์ ทะเลหายาก จากการรายงานของกรมทรั พยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าปัจจุบันพะยูนมีจำนวนเพิ่ มขึ้นจาก 273 ตัว เป็น 280 ตัว ซึ่งการเพิ่มขึ้นของพะยูนนับเป็ นความสำเร็จอย่างยิ่ง และได้มีการสานต่อแผนอนุรักษ์ พะยูนแห่งชาติระยะที่ 2 ด้วยการเพิ่มโครงการศึกษาทางด้ านเศรษฐกิจ สังคม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการอนุรั กษ์พะยูนและหญ้าทะเล อีกทั้งใช้กลไกคณะกรรมการระดั บจังหวัด เพื่อยกระดับการขับเคลื่ อนการดำเนินงานตามแผน การติดตามสถานภาพเฝ้าระวัง ศึกษาพฤติกรรมและถิ่นอาศัยของสั ตว์ทะเลหายากอีกด้วย ทั้งนี้ การอนุรักษ์พะยูนนั้น สิ่งสำคัญที่ควรคำนึง คือ การสร้างการเรียนรู้ ความเข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญของพะยู นรวมไปถึงระบบนิเวศหญ้าทะเล ซึ่งเป็นแนวทาง ที่จะก่อให้เกิดความร่วมมื อในการอนุรักษ์ โดยเริ่มต้นจากประชาชนในพื้นที่ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างรั กและหวงแหนในทรั พยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นอย่ างมาก
สุดท้ายนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้พะยูนสูญพั นธุ์จากท้องทะเลไทย จึงขอความร่วมมือไปยังผู้ ประกอบการนำเที่ยว ประชาชน และนักท่องเที่ยวให้ช่วยกั นประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ในการช่วยกันอนุรักษ์พะยูน รวมถึงประมงชายฝั่งให้งดเดินเรื อในแหล่งหญ้าทะเล และหากจำเป็นต้องเดินเรือผ่ านแนวเขตหญ้าทะเล และพื้นที่เสี่ยงในการอพยพเคลื่ อนย้ายพะยูน ให้ใช้ความเร็วตามที่กำหนด เพื่อความสมบูรณ์ของพะยูนในท้ องทะเลไทย และส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุ มชนชายฝั่งควบคู่ไปกับการอนุรั กษ์ โดยกระทรวง ทส. จะร่วมมือกับทุกฝ่ายดูแลรั กษาพะยูนให้คงอยู่คู่กับท้ องทะเลไทยสืบไป
ด้าน ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรั พยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า ปัจจุบันทรั พยากรทางทะเลและชายฝั่งมีปัจจั ยที่เป็นภัยคุกคามและส่งผลต่ อระบบนิเวศทางทะเล รวมถึงสัตว์ทะเลหายากหลายประการ ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติหรื อกิจกรรมของมนุษย์ ปัญหาทั้งหมดจำเป็นจะต้องได้รั บการแก้ไข
ผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่ จะอนุรักษ์และฟื้นฟูให้กลับคื นมา เช่นเดียวกันกับเรื่ องราวของพะยูนและแหล่งหญ้าทะเล ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคั ญเป็นบ้านของสัตว์ทะเลน้อยใหญ่ และประชาชนในพื้นที่ หากย้อนกลับไปในช่วงเดื อนเมษายนปี 2562 ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับลู กพะยูนน้อยที่ชื่อว่า มาเรียม ได้พัดหลงจากฝูง และได้รับการดูแลเป็นเวลากว่ าสามเดือน โดยเจ้าหน้าที่กรม ทช. กรมอุทยานฯ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้ นที่ รวมถึงจากหลายหน่วยงานทั่ วประเทศ แต่ไม่นานมาเรียมก็ตายในวันที่ 17 สิงหาคม 2562 และต่อมาเดือนกรกฎาคมในปีเดี ยวกัน ได้พบยามีล พะยูนน้อยอีกหนึ่งตัวก็ตายลงเช่ นกัน โดยพะยูนน้อยทั้ งสองตายจากสาเหตุการพลั ดพรากจากพ่อแม่และมีอาการเจ็บป่ วย เนื่องจากมีขยะอยู่ในร่างกาย จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ พะยูนน้อยทั้งสองตัวกลายเป็นขวั ญใจของคนไทย ทุกคนต่างตระหนักและหันมาใส่ ใจให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ พะยูนมากยิ่งขึ้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม (ทส.) โดยความเห็ นชอบของคณะกรรมการนโยบายและแผนก ารบริหารจัดการทรั พยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562
ได้กำหนดให้วันที่ 17 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ที่ผ่านมา กรม ทช. ได้ใช้มาตรการคุ้มครองพื้นที่ ทางทะเลเพื่อการอนุรักษ์พะยู นตรัง พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานในพื้ นที่ประชาสัมพันธ์ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุ รักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเลระดั บชุมชน เสริมสร้างรูปแบบวิถีชุ มชนแบบผสมผสานการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรทางทะเลให้แก่ ประมงชายฝั่งและการท่องเที่ ยวแบบมีส่วนร่วม รวมทั้ งการสำรวจจำนวนประชากรพะยูนที่ แน่นอน เพื่อนำมาคำนวณพื้นที่อาศัยที่ เหมาะสม และจัดทำเขตอนุรักษ์พะยูนต่อไป และล่าสุดในช่วงต้นเดือนสิ งหาคมที่ผ่านมา กรม ทช. ได้พบพะยูนน้อยเกยตื้นมีชีวิต บริเวณเกาะปอดะ ต.อ่าวนาง จ.กระบี่ จึงได้ส่งตัวมารักษาและอนุบาลที่ สถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรี วิชัย วิทยาเขตตรัง โดยมีทีมสัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครให้การดูแลรั กษาพะยูนน้อยอย่างใกล้ชิด คอยป้อนนม สารฟื้นฟูและบำรุงร่างกาย รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เป็นประจำทุกวัน
วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติในปี นี้ กรม ทช. ได้จับมือกับจังหวัดตรัง ร่วมด้วยหน่วยงานพันธมิตร จัดกิจกรรมขึ้นภายใต้ชื่อ “สัปดาห์พะยูนแห่งชาติประจำปี 2567 Thailand Dugong & Seagrass Week 2024” และกิจกรรมท่องเที่ ยวอาสาทำความสะอาดแหล่งพะยู นและแนวปะการัง โดยตนได้มอบหมายให้นายชิดชนก สุขมงคล รองอธิบดีกรมทรั พยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นผู้แทนในการกำกับดูแลการจั ดกิจกรรมในครั้งนี้ ร่วมด้วยนายกุศล โชติรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิโชค จันทร์ย่อง รองอธิการบดีมหาวิทยาลั ยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง คุณปวิตา โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้ านความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ ปุ้มปุ้ย ตลอดจนคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ทส. และทช. รวมถึงผู้แทนจากจังหวัดตรัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรี วิชัย วิทยาเขตตรัง มูลนิธิอันดามัน บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ ปุ้มปุ้ย และบริษัท เลตรัง ไดฟ์วิ่ง จำกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สมาคมชาวประมงพื้นบ้าน อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวั ดตรังและจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมกิจกรรม ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรี วิชัย วิทยาเขตตรัง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวมีกำหนดจัดขึ้ นระหว่างวันที่ 17 – 19 สิงหาคม 2567 โดยภายในงานได้มีการสั มมนาแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้ อต่างๆ เกี่ยวกับพะยูน
การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกั บพะยูน และหญ้าทะเล จากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ทะเลหายาก และสมาคมชาวประมงพื้นบ้าน การนำเสนอผลงานประดิษฐ์ ผลงานจากวัสดุเหลือใช้ การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ในหั วข้อ “การอนุรักษ์พะยูน” การสาธิตการบินสำรวจสัตว์ ทะเลหายากด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) กิจกรรมในรูปแบบ “Green Event” คือ ลดขยะ งดโฟม และลดบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ งจำพวกพลาสติกให้ได้มากที่สุด เพื่อสอดรับกับนโยบาย ตรังยั่งยืน ตลอดจนกิจกรรม Active Learning Event ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างนิ ทรรศการกับผู้เข้าชม ให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่ งขึ้น อีกทั้งการจัดนิทรรศการให้ ความรู้และแรงบัลดาลใจเรื่องหญ้ าทะเลและพะยูนในด้านต่างๆ นิทรรศการที่รวมภาพถ่ายที่ รวมความสวยงามของพะยูน ระบบนิเวศหญ้าทะเลและประโยชน์ ของหญ้าทะเลต่อสรรพสิ่งต่างๆ ทั้งกับสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตอื่นๆ และกับมนุษย์จากทั่วโลก กิจกรรม Work shop และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย “ดร.ปิ่นสักก์ กล่าวทิ้งท้าย”