นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ พร้อมด้วยข้าราชการเจ้าหน้าที่ ร่วมถวายเครื่องสักการะสิ่งศั กดิ์สิทธิประจำกระทรวง พม. และทำบุญเนื่องในวาระครบรอบ 8 ปี กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวง พม. พร้อมกิจกรรมเดินหน้านโยบายสร้ างสังคมสูงวัยพลังบวก
นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เปิดเผยว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สู งอายุตั้งแต่ ปี 2548 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้นทุ กปี รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคั ญของสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ก่อตั้งกรมกิจการผู้สู งอายุ ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริ มและพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้ สูงอายุ โดยการนำเสนอนโยบาย การพัฒนางานวิชาการด้านมาตรการ กลไก องค์ความรู้ และนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน การส่งเสริมและสนับสนุนในเชิงวิ ชาการและการปฏิบัติงานในพื้นที่ เป้าหมายภายใต้การบู รณาการความร่วมมือของทุกภาคส่ วนที่เกี่ยวข้อง จากวันที่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 8 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ เป็นความมุ่งมั่นของผู้บริหาร ข้าราชการเจ้าหน้าที่ที่จะทำให้ ประชาชนผู้สูงอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทุกมิติ
โดยได้มีแนวทางในการทำงานขั บเคลื่อนในระดับนโยบายที่สำคัญ อาทิ การขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่ งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุเป็น Active Ageing (Healthy, Security , Participation) มี 10 ประเด็นเร่งด่วน ได้แก่ 1) การสร้างระบบคุ้มครองและสวัสดิ การผู้สูงอายุ 2) ส่งเสริมการมีงานทำและมีรายได้ ของผู้สูงอายุ 3) ระบบสุขภาพเพื่อรองรับสังคมสู งวัย 4) ปรับสภาพแวดล้อมชุมชนและบ้านให้ ปลอดภัยกับผู้สูงอายุ 5) ธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สู งอายุของประเทศไทย 6) การสร้างความรอบรู้ให้คนรุ่ นใหม่เตรียมความพร้อมในทุกมิติ 7) ยกระดับความร่วมมือ เสริมสร้างพลังสังคมสูงอายุ 8) การปรับเปลี่ยนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อบังคับให้เอื้อต่อการทำงานด้ านผู้สูงอายุ 9) ปฏิรูประบบข้อมูลเพื่อขับเคลื่ อนงานด้านผู้สูงอายุอย่างมี ประสิทธิภาพและ 10) พลิกโฉมนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่ อมล้ำในสังคมสูงอายุ นอกจากนี้ยังมีการขับเคลื่ อนมาตรการสังคมสูงวัยคนไทยอายุ ยืน 4 มิติ ประกอบด้วย สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสนั บสนุนการขับเคลื่อนในแต่ละมิติ และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็ นชอบในหลักการ มาตรการสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน ใน 4 มิติดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ขณะนี้ได้ดำเนินการขับเคลื่ อนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้มีการขับเคลื่ อนแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้ อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ภายใต้ความร่วมมือ 6 กระทรวงหลัก ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิ จและสังคม และกระทรวงการพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีกองทุนการออมแห่งชาติ และกองทุนผู้สูงอายุ เป็นหน่วยงานภารกิจสนับสนุน
นอกจากนี้กรมกิจการผู้สูงอายุ ได้มีแนวทางในการส่งเสริมศั กยภาพผู้สูงอายุ อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์พั ฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชี พผู้สูงอายุ (ศพอส.) ภายใต้แนวคิด “ร่วมแรง ร่วมใจ ผู้สูงวัย กาย ใจ เบิกบาน” 1,900 แห่ง ตอบสนองความต้องการผู้สูงอายุ และชุมชน โดยมีกิจกรรม ที่สำคัญภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วย การถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ส่งเสริมความรู้สุขภาพ ตรวจสุขภาพ ออกกำลังกาย โภชนาการ และการจัดสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมและปลอดภัย เป็นต้น ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีการส่งเสริมให้มีกิ จกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ 2,327 แห่ง เพื่อสื่อสารสิ่งที่ผู้สูงอายุ ต้องรู้ ควรรู้ และอยากรู้อย่างเหมาะสม การส่งเสริมให้ประชากรวัยก่อนผู้ สูงอายุได้มีการเตรียมความพร้ อมประชากรเข้าสู่สังคมผู้สู งอายุ โดยดำเนินการร่วมกับ 4,500 เครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายด้านผู้สู งอายุ เด็กและเยาวชน องค์กรสมาคมต่าง ๆ ในลักษณะพลัง “บวร” ส่งเสริมการมีรายได้ ฝึกทักษะอาชีพ จ้างงานผู้สูงอายุ
โดยมีการพัฒนาและส่งเสริ มการตลาด 3,500 คน ส่งเสริ มแรงงานนอกระบบและการประกอบอาชี พอิสระ โดยการให้กู้ยืมเงินประกอบอาชี พกับผู้สูงอายุ 63,189 คน สนับสนุนการจัดกิจกรรมในชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรชมรม องค์กร และเครือข่ายผู้สูงอายุ ในการจัดกิจกรรมผู้สูงอายุในชุ มชน 1,366 โครงการ เป็นต้น รวมทั้งมีแนวทางในการส่งเสริ มสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้ สูงอายุ อาทิ การผลักดันให้เกิดมาตรฐานการดู แลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย มาตรฐานสถานดูแลผู้สูงอายุ มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สู งอายุ 3 หลักสูตร (หลักสูตร 18 ชั่วโมง หลักสูตร 70 ชั่วโมง หลักสูตร 420 ชั่วโมง) และมาตรฐานผู้ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันส่งเสริมให้อาสาสมั ครพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์เชี่ยวชาญด้านผู้สู งอายุ (อพมส.) มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ สูงอายุและเป็นกลไกที่สำคัญในชุ มชนเพื่อชี้เป้า เฝ้าระวังและป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดกับผู้สูงอายุ รวมถึงการดูแลสิทธิสวัสดิการเพื่ อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยปัจจุบันมีจำนวน 44,807 คน รวมทั้งได้มีการสงเคราะห์ผู้สู งอายุที่อยู่ในภาวะยากลำบาก 103,439 คน การปรับสภาพแวดล้อมและสิ่ งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมและปลอดภัย (ซ่อมบ้าน) 20,580 แห่ง การเสริมสร้างชุมชนที่เป็นมิ ตรกับผู้สูงอายุ 90 แห่ง การสนับสนุนการจัดการศพผู้สู งอายุตามประเพณี 248,983 ราย รวมทั้งมีพัฒนาการบริการ Digital Service ด้านผู้สูงอายุ Mobile Application ชื่อว่า “GOLD Application by DOP” ซึ่งให้การบริการ 7 บริการ ได้แก่ บริการสินค้าผู้สูงอายุออนไลน์ ทั่วประเทศ และมีสินค้ามากกว่า 300 รายการ บริการสถานที่ท่องเที่ยวสำหรั บผู้สูงอายุ ที่พักสำหรับผู้สูงอายุ บริการให้กู้ยืมเงินทุ นประกอบอาชีพออนไลน์สำหรับผู้สู งอายุ บริการให้เงินสนับสนุ นโครงการของกองทุนผู้สูงอายุให้ กับองค์กรเครือข่ายและชมรมผู้สู งอายุ บริการธนาคารเวลา (Time Bank) เป็นระบบบริการฝากถอนเวลาของจิ ตอาสาที่ทำประโยชน์ บริการหลักสูตรการดูแลผู้สู งอายุขั้นเบื้องต้น จำนวน 18 ชั่วโมง ผ่านระบบออนไลน์ บริการยื่นขอรับสิทธิและสวัสดิ การของกรมกิจการผู้สูงอายุ ออนไลน์ 3 บริการ
ได้แก่ การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ในภาวะยากลำบาก การสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สู งอายุตามประเพณี และการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่ งอำนวยความสะดวก (ซ่อมบ้าน) และได้มีการยกระดับศูนย์การเรี ยนรู้และฝึกอบรมด้านผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรีเป็นศูนย์ฝึ กอบรมและส่งเสริมการเรียนรู้เพื่ อการดูแลผู้สูงอายุวิถีใหม่ โดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี และการทำงานเชิงรุกร่วมกับเครื อข่ายเพื่อการพัฒนาความรู้ และการเข้าถึงสิทธิสวัสดิ การของผู้สูงอายุและคนทุกช่วงวั ย
นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ได้กล่าวในช่วงท้ายด้วยว่า พม.โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ ขอขอบพระคุณเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา อาสาสมัครและประชาชนที่ผนึกกำลั งร่วมขับเคลื่อนภารกิจการดำเนิ นงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี จิตอาสา กำลังกาย กำลังปัญญา ฯลฯ ด้วยความเสียสละ ทุ่มเท และมุ่งมั่น โดยมีเป้าหมายสร้างสังคมสูงวัย พลังบวกเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุ ณภาพชีวิตที่ดี ดำรงตน ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และเป็นพลังในการขับเคลื่อนสั งคมให้มีความผาสุกอย่างยั่งยื นต่อไป