ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน จัดการประชุมเชิงปฏิบัติ การงานสมัชชาการพัฒนาเด็ กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2567 ภายใต้หัวข้อ “การเพิ่มคุณภาพและผลิ ตภาพของเด็กและเยาวชน : เด็กน้อย แต่เปี่ยมด้วยคุณภาพ” โดยมีศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะที่ปรึกษาติ ดตามและเร่งรัดการขับเคลื่ อนนโยบายรัฐมนตรีว่ าการกระทรวงการพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานพิธีเปิ ดและการปาฐกถาพิเศษ ภายใต้หัวข้อ “การเพิ่มคุณภาพและผลิ ตภาพของเด็กและเยาวชน : เด็กน้อย แต่เปี่ยมด้วยคุณภาพ” และนางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวรายงาน และนางศิริลักษณ์ มีมาก รองอธิบดีกรมกิจการเด็ กและเยาวชน เป็นผู้แทนกรมกิจการเด็ กและเยาวชนรับมติสมัชชาการพั ฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2567 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่ วมงานประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา วิชาการ ภาคเอกชน ประชาสังคม มูลนิธิ เครือข่ายทำงานด้านเด็ กและเยาวชน สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย และสภาเด็กและเยาวชน รวมทั้งสิ้น 170 คน
ภายในงานมีการแบ่งกลุ่มอภิ ปรายและนำเสนอมติสมัชชาการพั ฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ได้แก่ ประเด็นที่ 1 การพัฒนาทักษะทางด้านสังคม : การพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชี พแห่งอนาคต สำหรับเด็กและเยาวชน ประเด็นที่ 2 การปรับตัวให้เข้ากับยุค Digital disruption : การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุ ค Digital disruption อย่างสร้างสรรค์ ประเด็นที่ 3 การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกั บประเด็นความแตกต่างแต่ไม่ แตกแยก : การดูแลสุขภาพกายและจิตใจของเด็ กและเยาวชน ประเด็นที่ 4 การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภั ยสำหรับเด็กและเยาวชน : บทบาทของสถาบันการศึกษาและสถาบั นครอบครัวกับการพัฒนาเด็ กและเยาวชน ประเด็นที่ 5 การรู้จักสิทธิและหน้าที่ และสวัสดิการที่เกี่ยวข้อง : สวัสดิการสำหรับเด็กปฐมวั ยและแม่ตั้งครรภ์
มติสมัชชาการพัฒนาเด็ กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 16 มีทั้งหมด 9 มติ ดังนี้
มติข้อที่ 1 ให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้ นพื้นฐาน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการภาค บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ร่วมกันดำเนินการ ปรับปรุงหลักสูตรการเรี ยนการสอนที่ทันสมัยพร้อมรับมื อกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ วของโลกศตวรรษ ที่ 21 กำหนดมาตรการ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลากิ จกรรมในการเรียนรู้และพัฒนาทั กษะชีวิตที่เหมาะสมของเด็ กและเยาวชน และจัดกิจกรรมเสริมสร้างพั ฒนาการเด็กด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ให้เหมาะสมกับช่วงวัย และส่งเสริมการค้นหาตัวตนของเด็ กจนสามารถต่อยอดเป็นความถนัดที่ สอดคล้องกับความสนใจหรือจำเป็ นในการเรียนรู้ของเด็ก
แต่ละบุคคล รวมถึงให้มีการยืดหยุ่นในการรั บเด็กเข้าศึกษา และสามารถต่อยอดพัฒนาทั กษะการประกอบอาชีพแก่เด็ กและเยาวชนให้สอดคล้องกั บสถานการณ์ในโลกยุคปัจจุบันที่ เปลี่ยนแปลงด้วยการจัดหลักสู ตรรายวิชา การฝึกอาชีพ และกิจกรรมการศึกษาดูงานที่เกี่ ยวข้องกับการพัฒนาทั กษะประกอบอาชีพ
มติข้อที่ 2 ให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมสถาบันการศึกษา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้ างเสริมสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันจัดให้มีพื้นที่สร้ างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำหรับการจัดกิจกรรมที่เน้ นการเสริมสร้างทักษะชีวิตและเป็ นพื้นที่พักพิงทางจิตใจแก่เด็ กและเยาวชน โดยฝึกประสบการณ์เสริมทักษะพิ เศษและค้นหาความถนัดอย่างเท่ าเทียม และเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน และผู้แทนสภาเด็กและเยาวชนมีส่ วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม และสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ร่ วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มติข้อที่ 3 ให้รัฐบาลประกาศ เรื่อง การขับเคลื่อนเพื่อการปรับตั วเด็กและเยาวชนให้เข้ากับยุค Digital Disruption เป็นวาระสำคัญ โดยให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิ จและสังคม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิ จการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภั ยและสร้างสรรค์ สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม ร่วมกันวางแผนและดำเนินการให้ เป็นรูปธรรม ตามประเด็นดังต่อไปนี้
3.1 กำหนดแนวทาง มาตรการ ปรับปรุงกฎหมายให้มีความเข้ มงวดในการจำกัดการเข้าถึ งและควบคุมสื่อสาธารณะที่เป็นภั ยและความเสี่ยงต่อเด็กและเยาวชน รวมถึงส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่ อเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับเด็ กและเยาวชน
3.2 สร้างความร่วมมือในการฝึกอบรม ให้ความรู้และบู รณาการการทำงานร่วมกับภาคีเครื อข่ายในการสร้างความตระหนักเกี่ ยวกับการรู้เท่าทันภัยออนไลน์ และการรู้เท่าทันการตลาดออนไลน์ สำหรับเด็ก เยาวชน ครอบครัว และบุคคลแวดล้อมเด็ก ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมการป้ องกันเชิงรุก และเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ในการฝึกปฏิบัติจริง ผ่านกลไกครอบครัว ชุมชน สถาบันการศึกษา รวมถึงสภาเด็กและเยาวชนในทุ กระดับ
3.3 พัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับการรู้ เท่าทันสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน หรือจัดให้มีชั่วโมงกิจกรรมที่ สร้างเสริมประสบการณ์รู้เท่าทั นสื่อ ตลอดจนการกำหนดแนวทางในการขั บเคลื่อนการประยุกต์ใช้ทั กษะทางดิจิทัล เพื่อสร้างประโยชน์อย่างสร้ างสรรค์และการดำรงชีพสำหรับเด็ กและเยาวชน
มติข้อที่ 4 ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์กระทรวงดิจิทัลเพื่ อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ งชาติ เพิ่มนักวิชาชีพ และอาสาสมัครที่เชี่ยวชาญให้เพี ยงพอ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนาครอบครัว นักสร้างสุขครอบครัวในชุมชน และกลไกครูแดร์ (D.A.R.E.) มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปั ญหาด้านสุขภาพกายและจิตใจของเด็ กและเยาวชน
มติข้อที่ 5 ให้กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิ จและสังคม ให้ความสำคัญกับนโยบายคุ้ มครองเด็กในชุมชน ในสถานศึกษา เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยสำหรั บเด็กและเยาวชนที่ส่งผลต่อร่ างกายและจิตใจมนุษย์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
มติข้อที่ 6 ให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ร่วมกันกำหนดแนวทางและส่งเสริ มกิจกรรมการสร้างทักษะและเครื่ องมือในการดูแลเด็ก การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็ กและเยาวชนกับคนในครอบครัว บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเด็ กและเยาวชนด้วยกัน
มติข้อที่ 7 ให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิ จและสังคม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ร่วมกันสร้างค่านิยมหลั กในการปกป้อง คุ้มครอง จัดการพื้นที่เสี่ยง และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภั ยในชุมชน สถานประกอบการ และสถาบันการศึกษา เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ กและเยาวชน
มติข้อที่ 8 ให้กระทรวงการพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนให้ เกิดการเข้าถึงข้อมูลในการเตรี ยมความพร้อมการสร้างครอบครัว การตัดสินใจมีบุตร และการยุติการตั้งครรภ์ที่ ปลอดภัย การตั้งครรภ์ ตามมาตรฐานการตั้งครรภ์คุ ณภาพและมาตรฐานเด็กสุขภาพดี (Well Baby) พร้อมทั้งการเลี้ยงดูเด็กให้มี คุณภาพตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี ของทุกกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มเปราะบาง เช่น ระบบฝากครรภ์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดบริการนอกเวลา การจัดสวัสดิการเงินขวัญถุ งสำหรับแม่ตั้งครรภ์ การเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนเด็ กแรกเกิด และการจัดสวัสดิการสำหรับเด็กที่ สูญเสียพ่อแม่หรือพ่อแม่ไม่พร้ อมเลี้ยงดู เป็นต้น เพื่อสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริ มให้มีบุตรอย่างมีคุณภาพ
มติข้อที่ 9 ให้กระทรวงการพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ให้บริการ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญให้สามารถบู รณาการงานและจัดบริการตามสิทธิ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจและร่ วมกันกำหนดแนวทางระหว่างผู้ ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการเลี้ยงดูและดูแลเด็กอย่ างมีคุณภาพ เช่น ส่งเสริมทักษะการเลี้ยงดู ปกป้อง คุ้มครอง และพัฒนาศักยภาพบุตร
กรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับเครือข่ายผู้ทำงานด้ านเด็กและเยาวชน ได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ และหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกัน รวมถึงได้ข้อมติสมัชชาการพั ฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้ มีศักยภาพและทักษะที่พร้อมสำหรั บการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และนำข้อมติสมัชชาฯ เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการพั ฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็ นประธาน เพื่อให้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาฯ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องขับเคลื่อน ผลักดันให้เกิดผลอย่างเป็นรู ปธรรม และร่วมกันพัฒนาเด็ กและเยาวชนให้มีคุณภาพต่อไป