พม.พก. ชี้แจงประเด็นความคืบหน้ากรณี การทุจริตเงินคนพิการ
ณ อาคาร 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์ บ้านราชวิถี กรุงเทพมหานคร นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุ ณภาพชีวิตคนพิการ ชี้แจงประเด็นความคืบหน้ากรณี การทุจริตเงินคนพิการ ตามที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวกรณี ทุจริตค่าแรงคนพิการและผู้ดู แลคนพิการในหลายจังหวัด เช่น จ.สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา นครปฐม นนทบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา และกาฬสินธุ์ โดยเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิ การ ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้ องความเป็นธรรมอย่างต่อเนื่องใน 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ประเด็นที่ 1) เรื่องร้องเรียนผู้ปกครองคนพิ การที่ได้รับสิทธิจ้างเหมาบริ การ ตามมาตรา 35 รวมทั้งร้องเรียนกองทุนคนพิ การต่างๆ ผ่านสำนักงานพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) จำนวน 15 จังหวัด โดยจะดำเนินการส่งฟ้องศาลใน 3 จังหวัดแรก คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรสาคร โดยข้อเท็จจริง กรณีต่างจังหวัด กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิ ตคนพิการ (พก.) ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจั งหวัดทุกจังหวัด พร้อมขอความร่วมมือตรวจสอบการรั บสิทธิตามมาตรา 35 โดย พก. ได้ติดตามรายงานอย่างใกล้ชิด และรับรายงานกลับมาแล้วใน 2 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ และกาฬสินธุ์ ส่วนกรณีในเขตกรุงเทพฯ พก. ได้ดำเนินการย้ายเจ้าหน้าที่ ที่อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องตามข้ อร้องเรียนไปปฏิบัติหน้าที่ในส่ วนอื่นก่อน พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการสอบวินั ยร้ายแรงแล้ว
นางธนาภรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นที่ 2) เครือข่ายพิทักษ์สิทธิคนพิการ ได้ส่งหนังสือร้องเรียนไปยั งสำนักงานป้องกั นและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกั นและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกั นและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ งชาติ ร่วมตรวจสอบและพิจารณากรณีเจ้ าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้ องกับการละเมิดสิทธิและปฏิบัติ อย่างไม่เป็นธรรม ในกรณีดังกล่าว พก. ได้ให้ความร่วมมือโดยเร่ งรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องส่ งให้ ป.ป.ท. และ สตง. ตรวจสอบต่อไป ประเด็นที่ 3) ปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้ นในหลายจังหวัดในระยะ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา อ้างว่าทำให้เกิดความเสียหายปี ละ 1,500 ล้านบาท และคาดว่ามีการทำเป็นขบวนการ ทั้งนี้ พก. ได้เร่งดำเนินการตรวจสอบข้อมู ลความเสียหายดังกล่าวด้ วยความรอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกั บคนพิการ และประเด็นที่ 4) เครือข่ายพิทักษ์สิทธิจะเข้าพบ เพื่อหารือกับผู้บริหารระดับสู งในระดับกระทรวงฯ เพื่อติดตามการดำเนินการต่อข้ อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ในสังกั ดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และหากไม่มีคำตอบชัดเจนจะยกระดั บการเคลื่อนไหว โดยคาดว่าจะมีคนพิการและเครือข่ าย ออกมาเรียกร้องสิทธิและความเป็ นธรรมถึงสำนักนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ กระทรวง พม. โดย พก. ร่วมกับ กรมการจัดหางาน สำนักงานประกันสังคม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้มีการประชุมหารือวานนี้ (12 พ.ย. 61) โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. กำหนดแนวทางปฏิบัติและบู รณาการการดำเนินงาน ระหว่างกระทรวงแรงงาน (มาตรา 33 และ 35) และกระทรวงการพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ (มาตรา 34) พร้อมตั้งคณะทำงานเพื่ อกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนยิ่ งขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่ อการจ้างงานคนพิการ และประชาสัมพันธ์ให้คนพิการ องค์กรคนพิการ สถานประกอบการได้ทราบอย่างทั่ วถึง 2. กำหนดแนวทางดำเนินการเกี่ยวกั บการร้องทุกข์ ร้องเรียน การจ้างงานคนพิการ ตามมาตรา 33 34 และ 35 ให้มีความชัดเจน เพื่อดำเนินการได้อย่างโปร่งใส เป็นธรรม ถูกต้อง และรวดเร็ว หากเป็นกรณีเจ้าหน้าที่ กระทำความผิด จะดำเนินการทางวินัยอย่างเคร่ งครัด 3. ให้มีการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมู ลกลางการจ้างงานคนพิการเพื่ อการบูรณาการข้อมูลระหว่ างกระทรวง พม. และกระทรวงแรงงาน ที่มีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความโปร่ งใสในการปฏิบัติ งานและตรวจสอบได้