การประชุมระดับสูงสำหรั บการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่ าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ ๑๖ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ ณ เมืองซานเตียโก เด กาลิ สาธารณรัฐโคลอมเบีย ดร. อรนุชหล่อเพ็ญศรี รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุ มระดับสูงของการประชุมสมั ชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้ วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ ๑๖ (CBD COP 16)และการประชุมทวิภาคี เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่ งมั่นของประเทศไทยที่จะขับเคลื่ อนการดำเนินงานร่วมกับภาคีอนุสั ญญาฯ พร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือกั บหน่วยงานระหว่ างประเทศและภาคเอกชนเพื่อดำเนิ นงานหยุดยั้งการสูญเสียและฟื้ นฟูความหลากหลายทางชีวภาพให้ได้ ภายใน ปี ค.ศ. ๒๐๓๐ รวมถึงเพื่อให้มนุษยชาติมีคุ ณภาพชีวิตที่ดีควบคู่กั บธรรมชาติที่สมบูรณ์ภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐
เมื่อวันที่ ๒๙ – ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ หัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมระดับสู งของการประชุม CBD COP 16 ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้ นำประเทศ รัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโส ที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมความหลากหลายทางชีวภาพ การเงินและการคลัง มากกว่า ๑๔๐ ประเทศทั่วโลก ซึ่งหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้กล่าวถ้อยแถลงถึงการดำเนิ นงานตามเป้าหมายระดับชาติ และแผนปฏิบัติการด้ านความหลากหลายทางชีวภาพระดั บชาติ เพื่อแสดงความมุ่งมั่นของไทยที่ จะสนับสนุนการทำงานร่วมกั บประชาคมโลกในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่การขยายพื้นที่อนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้ นที่คุ้มครอง (OECMs) เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย 30×30 ภายในปี ค.ศ. 2030การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการดำเนินงานกับภาคีอนุสั ญญาฯ เกี่ยวกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model)การจัดตั้งกลไกที่เหมาะสมต่ อการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ ทรัพยากรพันธุกรรม ข้อมูลดิจิทัลของลำดับพันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรมอย่ างเท่าเทียมและเป็นธรรมการริเริ่มกลไกเพื่อเพิ่มการสนั บสนุนทางการเงินในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้เพียงพอต่อการดำเนิ นงานด้านการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์ ความหากหลายทางชีวภาพอย่างยั่ งยืน
ในห้วงการประชุมระดับสูง คณะผู้แทนไทยได้ใช้โอกาสนี้ แสวงหาความร่วมมือระหว่ างประเทศเพื่อดำเนินงานตามเป้ าหมายชาติและแผนปฏิบัติการด้ านความหลากหลายทางชีวภาพระดั บประเทศ อาทิการหารือทวิภาคีกับ Ms. Rita el Zaghlou ผู้อำนวยการกลุ่ม High Ambition Coalition for Nature and People (HAC for N & P) ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา Matchmaking Platform ซึ่งเป็นเครื่องมือให้สมาชิก ๑๒๐ ประเทศ จับคู่ความต้องการกับองค์ กรความร่วมมือต่าง ๆ กว่า ๖๐ องค์กรทั่วโลก เพื่อดำเนินงานเพิ่มพื้นที่ที่ มีความสำคัญทางระบบนิเวศทั้ งทางบก แหล่งน้ำในแผ่นดิน และทางทะเลให้ได้อย่างน้อยร้ อยละ ๓๐ ภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ โดยประเทศไทยได้เสนอความก้าวหน้ าการดำเนินงานเรื่องพื้นที่อนุ รักษ์ความหลากหลายทางชี วภาพนอกพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) การเตรียมดำเนินงานในพื้นที่ นำร่อง การจัดทำแนวทางการสร้างแรงจูงใจ กลไกทางการเงิน การติดตามและประเมินผลการจัดตั้ งพื้นที่ OECMs ในระยะยาว ทั้งนี้ ผู้อำนวยการกลุ่ม HAC for N & P จะได้นำข้อเสนอของไทยเข้าสู่ Matchmaking Platform ต่อไป
การหารือร่วมกับเลขาธิ การและประธานเจ้าหน้าที่บริ หารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการอนุรั กษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชี วภาพร่วมกับชุมชน โดยเน้นย้ำถึง ความสำคัญของนำเครื่องมื อทางการเงินเพื่ อความหลากหลายทางชีวภาพในการสร้ างรายได้ให้กับประชาชน การดำเนินงานพื้นที่อนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้ นที่คุ้มครอง (OECMs) และแนวคิดในการดำเนินงานด้าน biodiversity credit ทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้นจะได้มี การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) และจัดเวทีร่วมกันเพื่อเผยแพร่ แนวคิด องค์ความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกั บการเงินเพื่อความหลากหลายทางชี วภาพระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่ได้รับจาก COP16 ให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
การหารือทวิภาคีกับ Ms. Elke Steinmetz Head of Division for International Cooperation on Biodiversity กระทรวงสิ่งแวดล้อมคุ้ มครองธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณูและคุ้ มครองผู้บริโภค (BMUV) และ Mr. Mathias Bertram องค์กรความร่วมมือระหว่ างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยมีความเห็นร่วมกันที่จะมุ่ งสานต่อการเชื่อมโยงนโยบายด้ านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศกับการอนุรักษ์ทรั พยากรความหลากหลายทางชี วภาพของประเทศไทย การดำเนินงานด้านการถึ งและการแบ่งปันผลประโยชน์ จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม และการเสริมสร้ างสมรรถนะและความตระหนักด้ านความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับการดำเนินงานอนาคตไทยได้ หยิบยกประเด็นที่ต้องการสนับสนุ น เช่น การถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการด้ านความหลากหลายทางชีวภาพแห่ งชาติ (NBSAP) ไปสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น การวิเคราะห์ช่องว่างเพื่อเพิ่ มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงของคลั งข้อมูลทรัพยากรทางชี วภาพของประเทศไทย (TH-BIF) ทั้งนี้ เยอรมัน เสนอให้ไทยจะเข้าร่วมความริเริ่ มต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การหารือถึงการสนั บสนับสนุนในอนาคต อาทิ การเข้าร่วมกลุ่มการดำเนิ นงานเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโดยใช้ ธรรมชาติเป็นฐาน กลุ่มหุ้นส่วนเร่งรัดการดำเนิ นงานตามแผนปฏิบัติการด้ านความหลากหลายทางชีวภาพระดั บชาติ