ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เผยผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 2565 ปล่อยสินเชื่อใหม่สร้างโอกาสให้ คนไทยมีบ้านตามนโยบายรัฐบาลได้ ถึง 62,408 ล้านบาท 50,024 บัญชี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อน 33.21% ทำให้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/2565 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2564 ธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้ งสิ้น 1.489 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.10% สินทรัพย์รวม 1.54 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.25% เงินฝากรวม 1.31 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.79% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน 57,510 ล้านบาท คิดเป็น 3.86% ของยอดสินเชื่อรวม ลดลง 0.14% ด้วยปัจจัยบวกจากนโยบายกระตุ้ นเศรษฐกิจของรัฐบาลการผ่ อนคลายมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย กำลังซื้อของประชาชนที่เริ่มฟื้ นกลับมา และอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ จูงใจให้ลูกค้าขอสินเชื่อเพื่ อซื้อที่อยู่อาศัย คาดถึงสิ้นปี 2565 ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ไม่ต่ำ กว่า 270,000 ล้านบาท
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงผลการดำเนิ นงานไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ว่า หลังจากเศรษฐกิ จไทยในไตรมาสแรกของปี 2565 เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น แต่ ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิ จของรัฐที่มีพันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุ นนโยบายรัฐบาล ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชน ให้ได้มีที่อยู่อาศัยเป็ นของตนเอง และเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่ อนเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรั พย์ โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 ธอส. สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่จำนวน 62,408 ล้านบาท 50,024 บัญชี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนถึง 33.21% เป็นสินเชื่อปล่อยใหม่วงเงินกู้ ไม่เกิน 2.5 ล้านบาท สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้ อยและปานกลาง คิดเป็นสัดส่วน 74.47% ของจำนวนลูกค้าใหม่ทั้งหมด ทำให้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/2565 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2564 ธนาคารมีสินเชื่อคงค้างรวมทั้ งสิ้น 1.489 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.10% สินทรัพย์รวม 1.54 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.25% เงินฝากรวม 1.31 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.79% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน 57,510 ล้านบาท คิดเป็น 3.86% ของยอดสินเชื่อรวม ลดลงจากสิ้นปี 2564 ที่มี NPL อยู่ที่ 4.00% มีการตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสั ยจะสูญเพื่อเตรียมพร้อมรองรั บผลกระทบจาก COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตที่ 115,659 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อ NPL 201.17% และยังคงมีกำไรสุทธิ 3,492 ล้านบาท ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสิ นทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ยังอยู่ที่ระดับแข็งแกร่ง โดย ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 อยู่ที่ 15.28% สูงกว่าที่ธนาคารแห่ งประเทศไทยกำหนดที่ 8.5%
“นับเป็นครั้งแรกของธนาคารที่ สามารถปล่อยสินเชื่อในไตรมาสที่ 1 ได้สูงถึง 62,408 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้ นเศรษฐกิจด้านที่อยู่อาศัยของรั ฐบาล ทั้งการลดค่าจดทะเบี ยนการโอนและจดจำนอง การผ่อนคลายมาตรการสินเชื่อเพื่ อที่อยู่อาศัย (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ความต้องการของประชาชนที่ต้ องการขอสินเชื่อก่อนที่อั ตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะปรับสู งขึ้นในอนาคต รวมถึงการจัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่ ออัตราดอกเบี้ยต่ำของ ธอส. ขณะที่โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 1.99% ต่อปี นาน 4 ปีแรก ล่าสุด ณ วันที่ 10 เมษายน 2565 มียอดอนุมัติสินเชื่อ 10,837 ล้านบาท และคาดว่า ณ สิ้นปี 2565 ธนาคารจะสามารถปล่อยสินเชื่ อใหม่ได้ไม่ต่ำกว่า 270,000 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกำหนด” นายฉัตรชัย กล่าว
ขณะเดียวกันธนาคารยังติ ดตามและให้ความช่วยเหลือลูกค้ าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 อย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าส่วนใหญ่มีความแข็ งแรงทางรายได้และกลับมาชำระได้ ตามปกติ เห็นได้จากจำนวนลูกค้าที่ ครบกำหนดความช่วยเหลื อตามมาตรการของธนาคารเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 122,764 บัญชีเงินต้นคงเหลือ 127,494 ล้านบาท แบ่งเป็นลูกค้าที่ลงทะเบียนแจ้ งความประสงค์เข้ามาตรการปรับปรุ งโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยื นตามนโยบายของธนาคารแห่ งประเทศไทย เพื่อขยายการให้ความช่วยเหลือต่ ออีกอย่างน้อยถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 85,175 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 87,074 ล้านบาทนั้น พบว่ามีลูกค้าที่ชำระเงินงวดได้ ตามเงื่อนไขของมาตรการหรื อชำระบางส่วนคิดเป็นสัดส่วน 94.40% ส่วนลูกค้าที่ออกจากมาตรการอี กจำนวน 37,589 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 40,420 ล้านบาท กลับมาชำระเงินงวดตามปกติ หรือ ชำระบางส่วนคิดเป็นสัดส่วน 93.98%
ด้านการปรับกระบวนการให้บริ การลูกค้าด้วย Digital Services ตามแผนยุทธศาสตร์ของธนาคารในปี 2565 ล่าสุด ธอส. เตรียมเปิดให้ลูกค้าแจ้ งความประสงค์ขอยื่นกู้จากที่ ไหนก็ได้ผ่าน Mobile Application : GHB ALL (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพั ฒนาเป็น Mobile Application : GHB ALL GEN)ด้วยเมนู “สินเชื่อ Express Loan” เพียงกรอกข้อมูลที่ธนาคารใช้ ประกอบการพิจารณาวงเงินสินเชื่ อไม่กี่ขั้นตอน และเดินทางมาที่ธนาคารเพื่ อลงนามสัญญาเงินกู้เพียงครั้ งเดียว โดยจะเริ่มให้บริการลูกค้าอย่ างเป็นทางการภายในเดือนเมษายน 2565 นอกจากนี้ในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2565 ลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถเลือกลงนามสัญญาเงินกู้ นอกสถานที่ทำการของธนาคารด้ วยโครงการใหม่ คือ “GHB Smart Rider” การลงนามสัญญาเงินกู้ที่บ้าน ที่ทำงาน ร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือที่สำนักงานที่ดินโดยไม่ต้ องเดินทางมาที่ธนาคาร ขณะที่ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 ลูกค้ากลุ่มสวัสดิการที่ทำนิติ กรรม ณ สำนักงานที่ดิน และจดทะเบียนจำนองกับธนาคารเรี ยบร้อยแล้ว สามารถนำโฉนดที่ดินตัวจริงกลั บบ้านได้ทันที จากเดิมที่ลูกค้าจะได้รับเป็ นสำเนาโฉนดที่ดินจนกว่าจะปิดบั ญชีเงินกู้แล้วเท่านั้น ทั้งนี้ ด้วยบริการที่ตรงกับความต้ องการของลูกค้า ทำให้ ณ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ธนาคารมีจำนวนการทำธุรกรรมผ่าน Mobile Application : GHB ALL คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 70.02% ของจำนวนธุรกรรมทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นไม่ต่ำ กว่า 80% ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ภายในสิ้นปี 2565