นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 2567 ยังคงเผชิญข้อจำกัดในการฟื้นตัว เพราะแม้จะมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงจากผลกระทบของปัญหาภัยแล้ง ขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอลงทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน สำหรับแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี 2567 มองว่า เศรษฐกิจไทยอาจประคองเส้นทางการฟื้นตัวได้ดีขึ้น หากภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัว และมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากการกลับมาเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และมาตรการอื่น ๆ ของภาครัฐ  ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยต่าง ๆ ในปีนี้ธนาคารกสิกรไทยได้วางยุทธศาสตร์ 3+1 โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเติบโตด้านสินเชื่ออย่างมีคุณภาพภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม การขยายธุรกิจรายได้ค่าธรรมเนียม การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของช่องทางการให้บริการ การแสวงหารายได้ใหม่ในระยะกลางและระยะยาว รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ทั้งลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน หน่วยงานกำกับดูแล และสังคม ภายใต้บริบทของเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน
ในไตรมาส 1 ปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 29,439 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.93% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลัก ๆ จากการเติบโตของรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า และการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ในไตรมาสนี้ธนาคารพิจารณาตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) จำนวน 11,684 ล้านบาท โดยธนาคารยังคงยึดหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สำรองฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพียงพอ สะท้อนสถานการณ์ในปัจจุบัน และรองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ส่งผลให้กำไรสุทธิในไตรมาสนี้มีจำนวน 13,486 ล้านบาท
รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 38,528 ล้านบาท โดยมีอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) อยู่ที่ระดับ 3.76% เป็นไปตามภาวะตลาด นอกจากนี้ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิมีจำนวน 8,299 ล้านบาท หลัก ๆ จากการเติบโตของค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน ค่าธรรมเนียมรับจากการรับรองตั๋ว อาวัล และค้ำประกัน และค่าธรรมเนียมรับจากธุรกิจบัตร รวมรายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 50,152 ล้านบาท เติบโต 7.68% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานมีจำนวน 20,713 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.65% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลัก ๆ เป็นการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 41.30% ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 42.50%
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2566 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 29,439 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.57% โดยหลัก ๆ เกิดจากค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่ลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่เป็นปกติตามฤดูกาล รวมทั้ง ธนาคารและบริษัทย่อยได้บริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง แม้รายได้จากการดำเนินงานสุทธิลดลงเล็กน้อยจากกำไรจากการลงทุนในตราสารทางการเงินต่าง ๆ ที่ลดลงตามภาวะตลาด นอกจากนี้ มีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 11,684 ล้านบาท ซึ่งยังคงสอดคล้องกับหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,318,809 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2566 จำนวน 35,253 ล้านบาท หรือ 0.82% ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากเงินลงทุนในตราสารทางการเงินเพิ่มตามการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เงินให้สินเชื่อสุทธิลดลงตามภาวะตลาด ทั้งนี้ เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.19% และค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) อยู่ที่ระดับ 150.35% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 19.37%
———————————————————————————————————————————————-
KASIKORNBANK announces the first quarter of 2024 net profit of Baht 13,486 Million
Ms. Kattiya Indaravijaya, Chief Executive Officer of KASIKORNBANK, said in the first quarter of 2024, the Thai economy continued to face limitations in recovery. Although it was supported by the rebound in tourism and merchandise exports, industrial production continued to shrink, as did agricultural production that declined due to the impacts of drought. Meanwhile, domestic spending in both the public and private sectors expanded, albeit at a slower rate. Looking into the remainder of 2024, it is projected that Thailand’s economic recovery momentum will be stronger if tourism continues to thrive and there is an additional support from accelerated budgetary disbursements and other measures implemented by the government.
Amidst the challenges of various factors, KBank deploys strategy 3+1 in this year by reinvigorate credit performance under appropriate risk management, scale capital-lite fee income businesses, strengthen and pioneer sales and service models, new revenue creation in medium and long term, and efficient resource management to deliver sustainable value to all stakeholders, including customers, shareholders, employees, regulators and society at large in unpredictable economic environment.
In the first quarter of 2024, KBank and its subsidiaries reported operating profit before expected credit loss and income tax expense of Baht 29,439 million, an increase of 9.93% compared with the same period of last year, mainly due to net operating income growth, effective expense management and productivity improvement. KBank set aside expected credit loss (ECL) in this quarter of Baht 11,684 million in alignment with the consistently prudent approach that ECL was suitable level, reflecting the current situation and support uncertainties of various factors that may affect the domestic economic recovery. As a result, consolidated net profit in this quarter was amounting to Baht 13,486 million.
Net interest income was Baht 38,528 million which net interest margin ratio stood at 3.76% according to market conditions. In addition, net fees and service income was Baht 8,299 million mainly from an increase in fees from fund management, fees from acceptance, aval and guarantee and fees from card business. Total net operating income was Baht 50,152 million, increased 7.68% from the same period last year. Operating expenses was Baht 20,713 million, increased 4.65% from the same quarter last year, mainly due to an increase in various operating expenses in line with an increase in revenue. As a result, cost to income ratio stood at 41.30%, decreased from the same quarter last year, which was at 42.50%.
Operating performance for the first quarter of 2024 compared with the fourth quarter of 2023, KBank and its subsidiaries reported operating profit before expected credit loss and income tax expense was Baht 29,439 million, an increase of 11.57% mainly due to a decrease in operating expenses partly from marketing expenses due to seasonality. In addition, KBank and its subsidiaries continue to manage expenses effectively, although net operating income slightly decreased from gains on investment in financial instruments according to market conditions. Moreover, ECL was Baht 11,684 million with the consistently prudent approach.
As of 31 March 2024, KBank and its subsidiaries’ total assets were Baht 4,318,809 million, an increase of Baht 35,253 million or 0.82% over the end of 2023. Most of an increase came from investments in financial instruments based on expectation of interest rate trend. However, net loans decreased according to market conditions. NPL gross to total loans was 3.19% and coverage ratio was 150.35%. In addition, as of 31 March 2024, KASIKORNBANK FINANCIAL CONGLOMERATE’s Capital Adequacy Ratio (CAR) according to the Basel III Accord remained strong at 19.37%.