กสิกรไทยขับเคลื่อนด้วย ESG วางยุทธศาสตร์ นำพาลูกค้าและธุรกิจไทยเดินหน้ าสู่ระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน มุ่งมั่นเป็นธนาคารชั้นนำด้าน ESG ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินหน้าปรับการดำเนิ นงานของธนาคารและเสริมศักยภาพลู กค้าเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero อัดฉีดสินเชื่อและการลงทุนเพื่ อความยั่งยืนไปแล้วกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท และตั้งเป้าไปสู่ 2 แสนล้านบาท ภายในปี 2573 พร้อมขับเคลื่อนสังคมช่วยลูกค้ ารายเล็กให้เข้าถึงสินเชื่อ โดยในปี 2565 (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน) ปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้ารายเล็ กกว่า 5 แสนราย มูลค่ากว่า 2.3 หมื่นล้านบาท เล็งขยายสินเชื่อรายเล็กให้ได้ 1.9 ล้านราย ภายในปี 2568 ขณะเดียวกันทุกสินเชื่ อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ ของลูกค้าขนาดกลางขึ้นไป เข้าสู่กระบวนการประเมินความเสี่ ยง ESG ครบ 100% แล้ว และพร้อมเดินหน้าสร้างความร่ วมมือทั้ง Ecosystem เพื่อให้ลูกค้า สังคม และประเทศ เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
นายกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากบริบทการดำเนินธุรกิจทั่ วโลกได้เปลี่ยนแปลงมุ่งสู่วิถี แห่งความยั่งยืนมากขึ้นอย่างต่ อเนื่อง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการจับจ่ ายใช้สอยที่ผู้บริโภคนำประเด็ นความยั่งยืนมาประกอบการตัดสิ นใจ นักลงทุนใช้เกณฑ์ ESG ประกอบการพิจารณาลงทุนมากขึ้น นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลทั้งในและต่ างประเทศออกมาตรการด้าน ESG ที่ภาคธุรกิจต้องปฏิบัติตามอย่ างต่อเนื่อง ดังนั้น หากธุรกิจปรับตัวไม่ทันจะทําให้ ต้นทุนในอนาคตสูงขึ้น ต้องใช้เงินลงทุนมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสินค้ าและบริการสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่ อความสามารถในการแข่งขัน แต่หากปรับตัวได้ทันก็ จะสามารถคว้าโอกาสไว้ได้ ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารที่ ดำเนินธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่ งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) มาอย่างต่อเนื่อง จึงเล็งเห็นความสำคัญจำเป็นเร่ งด่วนและโอกาสต่อเศรษฐกิจไทย ได้ประกาศ KBank ESG Strategy 2566 วางยุทธศาสตร์เรื่องการขับเคลื่ อนธุรกิจบนหลักการ ESG โดยกำหนดกลยุทธ์การทำงานที่เป็ นระบบ เน้นการวัดผล และพัฒนาการดำเนินงานตามหลั กการและมาตรฐานสากล พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวั นออกเฉียงใต้ นำพาลูกค้าและธุรกิจไทยเดินหน้ าสู่ระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่ างยั่งยืนไปด้วยกัน โดยมีแผนงานและเป้าหมายในมิติต่ าง ๆ ดังนี้
มิติสิ่งแวดล้อม ธนาคารกสิกรไทยประกาศความมุ่งมั่ นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) ทั้งในการดำเนินงานของธนาคาร (Scope 1 และ 2) และในพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร (ขอบเขตที่ 3) โดยในปี 2565 มีการดำเนินงาน แล้ว ได้แก่
- ปรับกระบวนการทำงานของธนาคาร (Scope 1 และ 2) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรื
อนกระจก เช่น ทยอยเปลี่ยนรถยนต์เป็น EV ติดตั้ง Solar Roof บนอาคารสำนักงาน และสาขาที่ธนาคารเป็นเจ้าของพื้ นที่ โดยในครึ่งปีแรกของปี 2565 สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 13.52% (เทียบปีฐาน 2563) และตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรื อนกระจกจากการดำเนิ นงานของธนาคารอย่างต่อเนื่อง สู่เป้าหมาย Net Zero ใน Scope 1 และ 2 ภายในปี 2573 - ดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การปล่
อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร (Scope 3) เริ่มจากการประเมินก๊าซเรื อนกระจกในพอร์ตโฟลิโอสินเชื่ อของธนาคาร ศึกษาความเป็นไปได้และความซับซ้ อนในการปรับเปลี่ยนโดยพิ จารณาบริบทของประเทศ และนำมาจัดลำดับกลุ่มอุ ตสาหกรรมที่มีความเร่งด่วน ซึ่งในปี 2565 ธนาคารประเมินและจัดทำแผนกลยุ ทธการลดก๊าซเรือนกระจกรายอุ ตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) จำนวน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และกลุ่มเหมืองถ่านหิน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 27% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกทั้งหมดในพอร์ตโฟลิ โอของธนาคาร (Portfolio Emission) และเตรียมขยายการทำงานร่วมกับลู กค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญอื่น ๆ ตามลำดับ เพื่อมุ่งสู่ Net Zero ตามเป้าหมายของประเทศไทย - สนับสนุนสินเชื่อและการลงทุนเพื่
อความยั่งยืน (Sustainable Financing (Loan) and Investment) ธนาคารให้สินเชื่ อและการลงทุนเพื่อความยั่งยื นในปี 2565 ไปแล้วกว่า 16,000 ล้านบาท และเตรียมจัดสรรเงินทุนด้ านความยั่งยืนรองรับการขับเคลื่ อนเศรษฐกิจสีเขียวอย่างต่อเนื่ องรวม 200,000 ล้านบาท ภายในปี 2573 - พัฒนาบริการ Beyond Financial Solutions ผสานเทคโนโลยี
และความร่วมมือกับพันธมิตร เชื่อมต่อความร่วมมือตลอดซั พพลายเชน ออกโครงการที่เป็นมากกว่าบริ การทางการเงินเพื่อช่วยให้ลูกค้ าเข้าถึงไลฟ์สไตล์กรีนได้ง่ายยิ่ งขึ้น และกระจายสู่วงกว้างได้มากขึ้น อาทิ โครงการ SolarPlus ติดตั้งโซลาร์รูฟให้ ประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และโครงการส่งเสริมการเช่าใช้ งาน EV Bike ที่ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ าให้แพร่หลายและช่วยให้ไรเดอร์ กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเข้าถึ งโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยธนาคารจะเดินหน้าขยายโซลูชั่ นเหล่านี้ไปสู่ลูกค้าในวงกว้ างต่อเนื่อง
มิติสังคม ธนาคารกำหนดยุทธศาสตร์สร้ างการเข้าถึงบริการทางการเงิ นและการให้ความรู้ทางการเงิ นและไซเบอร์ (Financial Inclusion and Financial/Cyber Literacy) ด้วยการปรับปรุงกระบวนการพิ จารณาการให้สินเชื่อ โดยใช้ข้อมูลประกอบการพิ จารณาจากความเสี่ยง การประเมิ นความสามารถในการชำระเงิน การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิ ทธิภาพ รวมทั้งความรวดเร็วในการติ ดตามการชำระคืนหนี้และการฟื้นฟู การทำงานด้วยการสร้างความร่วมมื อกับพันธมิตร และประสานความก้าวหน้ าทางเทคโนโลยีส่งมอบบริการสิ นเชื่อควบคู่การให้ความรู้ ที่จะช่วยเพิ่มขี ดความสามารถของลูกค้าสู่การเติ บโตอย่างยั่งยืน เกิดเป็นผลการดำเนินงานและเป้ าหมาย ดังนี้
- สร้างการเข้าถึงบริการทางการเงิ
น (Financial inclusion) แก่ลูกค้ารายเล็ก (Small-pocket Customers) ได้แก่ ลูกค้าบุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน ซึ่งอาจไม่มีบัญชีเงินเดือน ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มี เอกสารยืนยันรายได้ โดยธนาคารจะพิจารณาอนุมัติจากข้ อมูลอื่น ๆ ประกอบ รวมถึงลูกค้าธุรกิจที่มีรายได้ ไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อปี โดยในปี 2565 (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน) ธนาคารให้สินเชื่อลูกค้ารายเล็ กเป็นจำนวนกว่า 500,000 ราย มูลค่าสินเชื่อกว่า 23,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายปี 2568 จะให้ลูกค้ารายเล็กจำนวน 1,900,000 ราย เข้าถึงสินเชื่อได้ - ให้ความรู้ทางการเงิ
นและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Financial and Cyber Literacy) ด้วยการออกแคมเปญสื่ อสารที่จะสร้างความเข้ าใจและตระหนักรู้ เข้าถึงลูกค้าได้ 10 ล้านราย ในปี 2566 - ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตั
วของข้อมูลลูกค้า ปกป้องทรัพย์สินของลูกค้า การให้บริการที่ปลอดภัย และดูแลอย่างทันท่วงที ด้ วยการส่งมอบบริการที่มีประสิทธิ ภาพ การบริหารจัดการความเสี่ยง และการกำกับดูแลมาตรฐานการให้ บริการอย่างครอบคลุม
มิติธรรมาภิบาล ธนาคารให้ ความสำคัญเรื่องเกณฑ์การพิ จารณาตามหลัก ESG เพื่อดูแลให้สินเชื่อที่ปล่ อยไปจะไม่สร้างผลกระทบเชิงลบแก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้ทุกสินเชื่ อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ ของลูกค้าผู้ ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป ต้องเข้าสู่กระบวนการประเมิ นความเสี่ยงด้าน ESG ทั้ง 100% โดยในปี 2565 (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน) มีสินเชื่อที่ผ่านกระบวนนี้ กว่า 340,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ ธนาคารทำงานโดยนำหลักการ ESG เข้าไปอยู่ในทุกกระบวนการ พบว่ามีความท้าทายสำคัญในประเด็ นการจัดการที่ต้องพิจารณาจากมิ ติที่หลากหลาย ดังนั้น หัวใจของการขับเคลื่อนธุรกิ จบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยื น คือ ต้องรักษาสมดุลการบริหารจั ดการอย่างต่อเนื่อง และต้องมีแผนสำรองอยู่เสมอ เพื่อพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง
นายกฤษณ์ กล่าวตอนท้ายว่า ธนาคารเป็นต้นน้ำของระบบเศรษฐกิ จ จึงถือเป็นภารกิจที่จะต้องทำเรื่ องนี้ต่อไปให้มากขึ้น ด้วยมาตรฐานที่สูงขึ้น และขอชวนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่ วนร่วม เพราะความยั่งยืนเป็นงานที่ไม่ สิ้นสุดและทำคนเดียวไม่ได้ โดยธนาคารพร้อมจะเป็นผู้สร้ างความร่วมมือให้เกิดขึ้น ผ่านการประสานศักยภาพทั้งด้ านเทคโนโลยี พันธมิตร และความร่วมมือกับภาคส่วนสำคั ญต่าง ๆ ใน Ecosystem เพื่อช่วยให้ลูกค้า สังคม และประเทศ เดินหน้าสู่การเติบโตอย่างยั่ งยืนไปด้วยกัน