กรุงเทพมหานคร และธนาคารกสิกรไทย ร่วมเปิดตัวแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” ภายใต้โครงการ “Smart OPD” ดาวน์โหลดแค่แอปเดียว (Single App) ใช้ได้กับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ครอบคลุมครบทั้ง 11 แห่ง เพิ่มศักยภาพบริการการแพทย์วิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างทั่วถึงและแจ้งเหตุฉุกเฉินได้เร็ว แบ่งเบาภาระบุคลากรทางแพทย์ในการให้บริการคนไข้นอกกว่า ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปฯ “หมอ กทม.” ได้แล้ววันนี้ โดยจะใช้บริการได้ครบ 11 โรงพยาบาลภายในปลายเดือนมีนาคม 2565 

พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนระบบบริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ หรือ New Normal โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” ภายใต้โครงการ Smart OPD เป็นการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์วิถีใหม่ที่ต้องเว้นระยะห่าง ลดการสัมผัส เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้าง ซึ่งผู้ใช้สามารถรับบริการได้ด้วยตนเองผ่านสมาร์ทโฟน เป็นนวัตกรรมที่จะช่วยเชื่อมโยงชีวิตประชาชนให้เข้าถึงบริการการรักษาทางการแพทย์ทั้งแบบฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉินได้ง่ายยิ่งขึ้น ครอบคลุมบริการจากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครทั้งหมด 11 แห่ง ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยนอกรวมกว่า ล้านราย และศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) รวมทั้งรวบรวมความรู้ด้านสุขภาพจากแพทย์และบุคลากรจากสหสาขาวิชาชีพ 

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความสมดุลทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคมมิติต่าง ๆ รวมทั้งการส่งเสริมบริการด้านสาธารณสุข ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน ความต้องการใช้บริการทางการแพทย์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดโควิด-1การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและสังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ธนาคารกสิกรไทย จึงตั้งใจนำเทคโนโลยีซึ่งธนาคารมีความเชี่ยวชาญ มาช่วยสนับสนุนในการพัฒนาระบบบริการทางแพทย์ของกรุงเทพมหานคร สร้างแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการในช่วงที่สังคมยังต้องใช้ชีวิตแบบเว้นระยะห่าง ลดข้อจำกัดในระบบการดูแลสุขภาพในช่วงที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงการเตรียมความพร้อมหากวิกฤติเกิดขึ้นอีก นอกจากนี้ยังเป็นเทคโนโลยีที่เอื้อให้เกิดการต่อยอดด้วยบริการใหม่ ๆ ได้อีกในอนาคต เพื่อนำการแพทย์วิถีใหม่มาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในระยะยาว สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของธนาคารกสิกรไทยในการร่วมสร้างสังคมที่ยั่งยืน

กทม.–กสิกรไทย ร่วมเปิดตัวแอปฯ “หมอ กทม.”  ใช้แอปเดียวเข้าถึงบริการได้สะดวกใน 11 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ฯ   พร้อมรองรับผู้ป่วยนอกกว่า 4 ล้านคนต่อปี 

 

แอปฯ “หมอ กทม.” มุ่งพัฒนาใน แกนหลัก คือ 1การเชื่อมต่อข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางของโรงพยาบาล (Hospital Information System: HIS) มาแสดงที่แอปพลิเคชัน ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงประวัติสุขภาพและการรักษาได้ด้วยตนเอง  ช่วยให้การรักษาและการรับบริการทางการแพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น   2การสร้างประสบการณ์ใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว ผู้ใช้บริการสามารถทำได้ด้วยตนเอง ทั้งในและนอกสถานที่ของโรงพยาบาล  3การเชื่อมโยงระบบชำระเงินและบริการทางเงินต่างๆ ที่เลี่ยงสัมผัสเงินสด  

บริการสำคัญในแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” อาทิ

  • นัดหมายพบแพทย์ ตรวจสอบรายการนัดหมาย แจ้งเตือนการนัดหมาย และกดรับบัตรคิวในแอปฯ 
  • ตรวจสอบสิทธิการักษาพยาบาล อาทิ สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ
  • ตรวจสอบสถานะคิวตรวจ แจ้งลำดับคิว และขั้นตอนการใช้บริการในโรงพยาบาล
  • ลงทะเบียนตรวจรักษา บริการลงทะเบียนตรวจรักษาโรค จองวันเข้ารับการตรวจรักษาได้ง่าย  ผ่านแอปฯ 
  • ประวัติการรักษา ตรวจสอบผลวินัจฉัยโรค ประวัติการแพ้ยา/วัคซีน ประวัติรับยา ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถรับบริการจากสถานพยาบาลอื่นได้สะดวก โดยเรียกดูข้อมูลการรักษาได้เองโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล 
  • แจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน ด้วยฟีเจอร์แจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน พร้อมแชร์โลเคชันเพื่อขอรับการช่วยเหลือจากศูนย์เอราวัณ
  • ตรวจรักษาออนไลน์ บริการตรวจรักษาด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) โดยสามารถตรวจรักษา ติดตามอาการ ตลอดจนได้รับคำแนะนำในการใช้ยาจากแพทย์ผ่านระบบวีดีโอคอล (VDO Call) โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล ผู้ใช้บริการสามารถรับยาผ่านไปรษณีย์ หรือรับด้วยตนเองที่ร้านยาใกล้บ้าน

    ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” ได้แล้ววันนี้ โดยแต่ละโรงพยาบาลจะเริ่มทยอยขึ้นจนครบ 11 โรงพยาบาล ได้แก่ 1. โรงพยาบาลกลาง  2. โรงพยาบาลตากสิน 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 4. โรงพยาบาลสิรินธร 5. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ 6. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ 7. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร 8. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน 10. โรงพยาบาลคลองสามวา 11. โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร รวมถึงศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ภายในปลายเดือนมีนาคม 2565