26 มีนาคม 2565 ประกาศจุดยืน ต้องเป็นสื่อมวลชนดิจิทัลแท้จริง ที่เน้นย้ำ “ต้องแตกต่าง อย่างมีคุณค่า” มุ่งนำเสนอหลากหลายกิจกรรม ดูแลสวัสดิการสมาชิกร่วมองค์กร และสนองคืนกลับสังคมรูปแบบใหม่ในยุค NEW NORMAL
นายกิตติพันธ์ ขันติศีลชัย นายกสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนดิจิทัล ได้กล่าวถึงความเป็นมาของสมาคมฯ และปณิธานความตั้งใจในการรังสรรค์สมาคมฯนี้ขึ้นมาว่า หลังจากที่ทุกฝ่ายร่วมผลักดันให้ องค์กรอิสระ เพื่อสมานสามัคคี สร้างสรรค์ผลงานคืนกลับสู่สังคม และดูแลเหล่าสมาชิกร่วมองค์กร ทั้งสื่อกระแสหลัก และสื่อออนไลน์ อย่างพอมีพอกินและพอเพียงได้บังเกิดขึ้น การขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่ทุกฝ่ายวางไว้ ก็เดินหน้าไปตามกำหนด
จากวันที่ได้ประกาศตัวด้วยการเป็น “ชมรมช่างภาพสื่อมวลชนดิจิทัล” เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา นั่นคือขั้นต้นของการการก้าวมาถึง วันที่ 26 มีนาคม 2565 อันเป็นวาระสำคัญของวงการสื่อสารมวลชนของไทย ที่ “สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนดิจิทัล” ได้ก่อเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีปณิธานอันแรงกล้าและมุ่งมั่นที่จะทำให้ ปรากฏการณ์“ความแตกต่างอย่างมีคุณค่า” ได้เกิดขึ้นกับวงการสื่อสารมวลชนของไทยดังนี้
1.”แตกต่างอย่างมีคุณค่า” ในแง่ของความหลากหลายของกิจกรรม ที่จะนำเสนอ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับมวลเหล่าสมาชิกสมาคมทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่จะสนองตอบความเป็น “สื่อมวลชนดิจิทัล” อย่างแท้จริง อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
2.”แตกต่างอย่างมีคุณค่า” ในการนำเสนอผลงาน “คืนสู่สังคม” รูปแบบใหม่ ที่มุ่งสร้างสรรค์ทิศทางใหม่ สำหรับการคืนสู่สังคมในยุค New Normal
ในวาระเริ่มต้นของสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนดิจิทัลนี้ ฯพณฯ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้มอบหมายให้ ฯพณฯ นายทศพล เพ็งส้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาเป็นประธานเปิดงาน โดยได้กล่าวสุนทรพจน์ และให้กำลังใจกับสมาคมว่า
สังคมประชาธิปไตยในอุดมคติ ซึ่งพร้อมเปิดโอกาสให้ ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ทุกแนวความคิด มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น แสดงการเรียกร้องเพื่อสิทธิ เสรีภาพ “อย่างมีขอบเขตที่ควรจะเป็น” นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย รัฐบาลที่มี “คุณธรรม” กลุ่มคน หรือประชาชนที่มี “วุฒิภาวะ” รู้จักตัวตน รู้จักรับผิดชอบ ต่อปฏิกิริยาที่ได้เรียกร้องไปนั้นแล้ว
ยังจะต้องประกอบด้วย องค์ประกอบประการสำคัญหนึ่งที่จะเป็นเหมือน “คนกลาง” ที่จะสื่อข้อมูล ข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน ไปสู่สาธารณะอย่าง “ไม่เอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” นั่นคือ “สื่อสารมวลชน” ที่มีคุณภาพ และคุณธรรมนั่นเอง อย่าไรก็ตาม สังคมไทยที่กำลังเผชิญกับการแปรเปลี่ยน และปฏิรูปทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม อยู่ตลอดเวลานี้ บทบาทสื่อมวลชน รวมถึง “ช่างภาพ” ที่สามารถสื่อภาพ ความเคลื่อนไหวไปสู่สาธารณะ ได้อย่างรวดเร็ว อย่างมีคุณภาพ และมีความรับผิดชอบนั้น ถือว่าเเป็นความจำเป็นประการหนึ่งของสังคมไทย ที่จะสร้างความสมดุลย์ระหว่างภาครัฐ และองคาพยพ ฝ่ายต่างๆ ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข