บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งส่งเสริมพนักงานสร้างภูมิคุ้ มกันทางการเงิน หนุนการอยู่ดีกินดี ดันโครงการ “ฟาร์มพอเพียง” สร้างรายได้จากอาชีพเสริมควบคู่ อาชีพหลัก เน้นทำบัญชีครัวเรือน สร้างวินัยการเงิน พร้อมตั้งสหกรณ์ให้พนั กงานในฟาร์มหมู มีเงินปันผลทุกปี ช่วยสร้างความสุขจากการไม่มีหนี้ สินและมีเงินออม
นายสมพร เจิมพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสร้ างความสุขในการทำงานแก่พนักงาน โดยต้องดูแลพนักงานให้ดีที่สุด สายธุรกิจสุกร จึงริเริ่มดำเนิน โครงการ “ปลดหนี้ สร้างสุข และส่งเสริมการออม” มาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน พร้อมต่อยอดสู่โครงการ “ฟาร์มพอเพียง” ในฟาร์มสุกรของบริษัทรวม 100 ฟาร์ม ที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็ นต้นแบบสู่การปฏิบัติอย่างเป็ นรูปธรรม ด้วยการทำฟาร์มเกษตรผสมผสานไม่ ใช้สารเคมี สร้างรายได้เสริมและส่งเสริ มการออมเงินแก่พนักงาน ช่วยปลดภาระหนี้สินและยังมีเงิ นปันผลจากการร่วมหุ้นสหกรณ์ ของพนักงาน ขณะเดียวกัน ยังส่งเสริมการมีสุขภาพดี จากการรับประทานอาหารที่มีคุ ณภาพและปลอดภัย จากฝีมือของพนักงานเอง พร้อมรณรงค์ฟาร์มสุกรสีขาวเพื่ อให้พนักงานทุกคนห่างไกลบุหรี่ และยาเสพติด
“โครงการฟาร์มพอเพียง เป็นการสนับสนุนการสร้างรายได้ เสริมและเพิ่มเงินออมให้พนักงาน โดยนำขีดความสามารถของฟาร์มที่ มีพื้นที่สามารถทำการเกษตรได้ ทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ฟาร์มมีมูลสุกรและน้ำปุ๋ยสำหรั บใช้ในการเพาะปลูกได้ โดยนำแนวคิดฟาร์ มเกษตรผสมผสานไม่ใช้สารเคมี เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ พร้อมจัดตั้งสหกรณ์ของพนั กงานฟาร์ม เพื่อจำหน่ายสินค้าเกษตร ก่อเกิดรายได้เสริมและมีเงินปั นผล และยังมีความรู้ด้านการออมเงิ นและทำบัญชีครัวเรือน นำไปสู่การวางแผนทางการเงินที่ เหมาะสม ทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิ ภาพการทำงานของพนักงาน เนื่องจากไม่ต้องกังวลกั บภาระหนี้และมีรากฐานทางการเงิ นที่ดีให้กับตนเองและครอบครัว” นายสมพร กล่าว
ตัวอย่างความสำเร็จของฟาร์มสั งกัดธุรกิจสุกรภาคอีสาน ที่ดำเนินโครงการต่างๆเพื่อพนั กงาน ภายใต้แนวคิด “ฟาร์มสุกรภาคอีสานกับการสร้ างชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับพนักงาน” ที่ไม่เพียงช่วยยกระดับคุณภาพชี วิตของพนักงาน ยังเป็นการสร้างความยั่งยืนให้ กับองค์กร อาทิ “โรงครัวอิ่มสุข” ที่มีการเลี้ยงไก่ไข่และปลา ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อให้พนักงานได้รับอาหารที่ สดใหม่และมีคุณภาพในทุกมื้ ออาหาร ส่วนโครงการ “ร้านค้าอิ่มสุข” ที่ช่วยให้พนักงานได้ซื้อสินค้ าคุณภาพในราคาย่อมเยา โดยในปีนี้เกิดยอดขายสะสมแล้ วกว่า 12 ล้านบาท ใน 23 ฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการ ผลกำไรที่ได้จากการขายจะถู กนำมาปันผลคืนให้กับพนักงานที่ เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 100% เกิดเป็นเงินออม เฉลี่ย 3,600 บาท/คน/ปี ความรู้สึกนี้ช่วยเพิ่มขวั ญและกำลังใจในการทำงาน และเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิ ตประจำวัน และอีกหนึ่งโครงการที่มี ความสำคัญ คือ โครงการ “ปลดหนี้สร้างสุข บัญชีครัวเรือน และออมเงิน” ซึ่งมุ่งช่วยพนักงานที่ประสบปั ญหาหนี้นอกระบบ ที่ทั้งช่วยปลดหนี้ และยังให้ความรู้ในการบริ หารการเงิน สนับสนุนพนักงานเก็บออมเงิ นสำหรับเอาไว้ใช้ในอนาคตอีกด้วย ตลอดระยะเวลา 8 เดือน ในปี 2567 มีพนักงานเข้าร่วมโครงการแล้ วกว่า 1,500 คน
นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างความสำเร็จของฟาร์ มสังกัดธุรกิจสุกรภาคตะวันออก ในปี 2566 มีพนักงานจำนวน 616 คน จาก 14 ฟาร์ม เข้าร่วมโครงการฯ คิดเป็น 100% ของทั้งหมด ที่สามารถแก้ปัญหาหนี้ นอกระบบได้และปลอดจากปั ญหายาเสพติด 100% ทุกคนมีรายได้เสริมจากผลผลิตด้ านเกษตรที่ช่วยกันดูแล เพื่อจำหน่ายให้กับโรงครั วของฟาร์ม ส่งผลให้มีเงินออมและมีเงินปั นผลจากสหกรณ์ฟาร์มทุกไตรมาส ที่สำคัญเงินลงทุนในโครงการยั งเป็นเงินหมุนเวียนที่เกิ ดจากการดำเนินโครงการเองทั้งหมด สะท้อนความยั่งยืนของโครงการอย่ างแท้จริง