คุณตั้งปรัชญาในการข้ามปัญหาต่างๆ ไว้อย่างไร? และในฐานะผู้นำ คุณใช้ปรัชญาเหล่านั้นมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของคุณได้อย่างไร? โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องเจอการเปลี่ยนแปลงในยุคของ digital disruption ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างปัจจุบันนี้ รายการ open talk เดินทางมาถึงตอนที่ 12 โดยตอนใหม่ล่าสุดนี้ เราจะพาทุกท่านไปร่วมฟังมุมมองของผู้นำสุดฮอต ที่โดดเด่นด้าน Digital Transformation และเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจมายาวนานกว่า 20 ปี “บี๋” อริยะ พนมยงค์ CEO และ founder ของ TRANSFORMATIONAL โดยไฮไลท์ของ episode นี้ ครอบคลุมประเด็นของ การรับมือและปรับตัวให้เข้ากับการทำงานในวัฒนธรรมของแต่ละสังคม และ การ transform ธุรกิจในยุคของ disruption ในรายการ open talk ตอน: CULTURE CHANGE & KEY TO DIGITAL TRANSFORMATION JOURNEY รับชมบทสัมภาษณ์ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=xatuwTpJe9g
คุณบี๋เล่าถึงประสบการณ์การกลับมาทำงานในประเทศไทยครั้งแรก พร้อมกับการรับมือและปรับตัวให้เข้ากับการทำงานในแบบฉบับวัฒนธรรมของสังคมไทยในฐานะผู้ให้บริการของบริษัทชั้นนำ และสิ่งที่สำคัญที่ทำให้คุณบี๋ได้ก้าวผ่านมาได้คือการเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบที่ชื่นชม โดยคุณบี๋ อริยะ ได้กล่าวว่า การเรียนรู้จากบุคคลเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ต่อชีวิตการทำงานแบบมืออาชีพและชีวิตส่วนตัว หากเราเปิดรับฟังผู้อื่น คุณจะได้รับความรู้จากพวกเขามากขึ้น นั้นคือปรัชญาของผมในการก้าวผ่านปัญหาต่างๆ มาได้ จากการทำงานในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่ได้ชื่อว่าเป็น disruptor ไม่ว่าจะเป็น Google, LINE เขาได้มองเห็นถึงบริษัทของคนไทยที่กำลังเจอปัญหาของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการทำธุรกิจ อย่างที่เราเรียกว่า disruption และต้องการนำความรู้และความสามารถไปช่วยบริษัทเหล่านี้ให้พวกเขา Transform
ได้เหมาะกับสถานการณ์ และนั้นคือจุดเริ่มต้นแนวคิดในการจัดตั้งบริษัทTRANSFORMATIONAL และนอกจากนี้ยังได้มีการ ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพอย่าง ScoutOut โดย ScoutOut เป็นบริษัทสำหรับคนหางาน ที่มีจุดเด่นในการนำ technology มาช่วย matching skills ให้ตรงกับความต้องการของตำแหน่งงานและด้วยเหตการณ์โควิด-19 ณ ปัจจุบัน ทำให้ตลาดการรับพนักงานลดน้อยลง ScoutOut จึงได้ปรับตัวให้เป็นทั้ง HR tech และ ED tech เพื่อรองรับความต้องการของบริษัทต่างๆ ที่ประสงค์จะ รักษาคนในองค์กรที่มีอยู่ โดยการเพิ่มทักษะที่จำเป็นให้พนักงานเหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานแบบใหม่ อาทิ ให้พวกเขาเข้าใจถึงดิจิทัล, e-commerce, digital marketing และเข้าใจถึงการใช้ data มากขึ้น สิ่งที่พวกเราทำคือการเชื่อมโยง (connecting) ระหว่างอุปสงค์และอุปทานในปัจจุบัน