บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เผยหลังเดินหน้าร่วมมือกั บกรมประมงและโรงงานปลาป่นดำเนิน 3 ใน 5 โครงการจัดการปลาหมอคางดำ กิจกรรมจับปลา ปล่อยปลาผู้ล่า และการรับซื้อปลาทำปลาป่น เริ่มปรากฏผลลัพธ์อย่างเป็นรู ปธรรมตามแผน ผู้ประกอบการโรงงานปลาป่น และชาวประมงช่วยยืนยันว่าตอนนี้ ปลาหมอคางดำในจังหวัดสมุ ทรสาครลดลง 80% แล้ว จับปลามาขายให้โรงงานได้น้อยลง บริษัทพร้อมดำเนินงานเชิงรุ กประสานงานกับประมงในหลายจังหวั ดเพื่อหารือทำกิจกรรมตั ดวงจรการระบาดอย่างจริงจัง
นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ ผู้บริหารสูงสุดงานรัฐกิ จและเอกชนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทได้ลงพื้นที่ร่วมมือกั บกรมประมงและโรงงานผลิตปลาป่ นเร่งนำปลาหมอคางดำออกจากพื้นที่ เดินหน้า 3 ใน 5 โครงการเชิงรุก ประกอบด้วย การสนับสนุนโรงงานปลาป่นรับซื้ อปลาจากชาวประมง สนับสนุนกิจกรรมจั บปลาของกรมประมงในหลายจังหวัด และส่งมอบปลาผู้ล่าแก่ประมงจั งหวัด โดยเฉพาะ บริษัท ศิริแสงอารำพี จำกัด ผู้ผลิตปลาป่นได้มาตรฐานสากล เปิดรับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสาครอย่างต่อเนื่ องตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่ านมาแล้ว 600,000 กิโลกรัม และส่งมอบปลากะพงแล้ว 49,000 ตัวแก่ประมงจังหวัดสมุ ทรสงครามและจันทบุรี จากการดำเนินการเชิงรุกอย่ างรวดเร็วส่งผลให้ ปลาหมอคางดำลดลง บริษัทร่วมมือกับประมงจังหวั ดและหน่วยงานในจังหวัดที่มี การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา สนับสนุนสำนักงานประมงสมุ ทรสงครามจัดกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” ไปแล้ว 5 ครั้ง สนับสนุนอุปกรณ์จับปลาและกำลั งคนจับปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำพร้ อมกับมอบปลากะพงขาวรวม 49,000 ตัวให้ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม และจันทบุรีนำไปปล่อยเป็นปลาผู้ ล่าต่อไป รวมทั้งยังได้เร่ งประสานงานและหารือกับสำนั กงานประมงในพื้นที่เพื่อจั ดการสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่ างจริงจังต่อไป
“บริษัทได้รับความร่วมมืออย่ างดีจากทุกภาคส่วน ช่วยให้แผนปฏิบัติการเชิงรุกจั ดการปัญหาปลาหมอคางดำ 3 โครงการมีความคืบหน้าตามแผน และเกิ ดผลจำนวนปลาหมอคางดำลดลงอย่ างเป็นรูปธรรม และขณะนี้มีผู้เชี่ ยวชาญและมหาวิทยาลัยเพิ่มเติ มหลายแห่งติดต่อเข้ ามาแสดงความสนใจร่วมมือศึ กษาหาแนวทางการใช้ประโยชน์ และการควบคุมประชากรปลา เชื่อมั่นว่าการดำเนิ นโครงการจะมีส่วนช่วยเร่งกำจั ดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ” นายอดิศร์กล่าว
ด้านนายปรีชา ศิริแสงอารำพี เจ้าของบริษัท ศิริแสงอารำพี จำกัด และประธานบริหารตลาดทะเลไทย กล่าวว่า โรงงานประกาศรับซื้ อปลาหมอคางดำจากชาวประมงในราคาที่ สูงกว่าท้องตลาดตั้งแต่เดื อนเมษายนที่ผ่านมาโดยได้รั บการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากซีพี เอฟ ช่วยรับซื้อปลาหมอคางดำแล้ว 600,000 กิโลกรัม (600 ตัน) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป รับซื้อปลาหมอคางดำต่อเนื่ องในราคา 15 บาทต่อกิโลกรัมสนองนโยบายรัฐบาล มั่นใจว่าหากมีตลาดรองรับปลาให้ ชาวประมง จะช่วยตัดวงจรการแพร่ระบาดในจั งหวัดสมุทรสาครได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ “การมีตลาดรองรับปลาหมอคางดำทุ กขนาดในราคาที่ดี เป็นกลไกที่ช่วยสนับสนุนให้ ชาวประมงเร่งจับปลาออกจากแหล่ งน้ำได้รวดเร็ว และจากการรับซื้อตั้งแต่เดื อนเมษายนที่ผ่านมาเห็นผลชั ดเจนมาก ชาวประมงบอกว่าปริ มาณปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำพื้นที่ สมุทรสาครลดลง 80% เริ่มจับปลามาขายให้โรงงานได้น้ อยลง” นายปรีชากล่าว
ซีพีเอฟประกาศนำศักยภาพขององค์ กรมาช่วยสนับสนุนและบรู ณาการการดำเนินงานของทุกภาคส่วน เพื่อเร่งจัดการการแพร่ ระบาดปลาหมอคางดำในพื้นที่ต่างๆ ผ่าน 5 โครงการเชิงรุก ประกอบด้วย 1) ทำงานร่วมกับกรมประมงสนับสนุ นการรับซื้อปลาหมอคางดำจากทุกจั งหวัดทั่วประเทศราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 2,000,000 กิโลกรัมนำมาผลิตปลาป่น ปัจจุบันรับซื้อไปแล้ว 600,000 กิโลกรัม 2) ร่วมสนับสนุนภาครัฐและชุมชนปล่ อยปลาผู้ล่าลงสู่แหล่งน้ำจำนวน 200,000 ตัว โดยดำเนินการภายใต้แนวทางการปล่ อยปลาผู้ล่าของกรมประมง โดยสนับสนุนปลากะพงแล้ว 49,000 ตัว 3)ร่วมสนับสนุนภาครัฐ ชุมชนและภาคประชาสังคมจัดกิ จกรรมจับปลา สนับสนุนอุปกรณ์จับปลาและกำลั งคนในทุกพื้นที่ 4) การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหารจากปลาหมอคางดำ โดยมีสถาบันการศึกษาได้ร่ วมดำเนินการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้ าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ 5) ร่วมวิจัยกับผู้เชี่ ยวชาญในการหานวัตกรรมหรื อแนวทางควบคุ มประชากรปลาหมอคางดำ ซึ่งขณะนี้มี ม.เกษตรศาสตร์ และ สจล. ร่วมพัฒนาหาทางหยุดการแพร่ ระบาดอย่างรวดเร็ วของปลาหมอคางดำอย่างยั่งยืนต่ อไป